การควบคุมปริมาณคอนกรีตผสมเสร็จในงานก่อสร้างเสาเข็มเจาะระบบเปียกขนาดใหญ่ในเขตกรุงเทพมหานคร

Item

ชื่อเรือง

การควบคุมปริมาณคอนกรีตผสมเสร็จในงานก่อสร้างเสาเข็มเจาะระบบเปียกขนาดใหญ่ในเขตกรุงเทพมหานคร

ชื่อเรื่องรอง

Ready Mixed Concrete Quantity Control For Construction of Wet Process Bored Piles in Bangkok

ผู้แต่ง

กฤษฎา ภูมี

หัวเรื่อง

การควบคุมการผลิต
คอนกรีตผสมเหล็ก
อุตสาหกรรมก่อสร้าง

รายละเอียดอื่นๆ

งานศึกษานี้มีจุดประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาแนวทางการควบคุมปริมาณคอนกรีตผสมเสร็จในงานก่อสร้างเสาเข็มเจาะขนาดใหญ่ในเขตกรุงเทพมหานคร โดยศึกษาปัญหาของปริมาณการใช้คอนกรีตที่เทลงในหลุมเจาะในการก่อสร้างเสาเข็มเจาะ จากการรวบรวมเก็บข้อมูลการเทคอนกรีตผสมเสร็จรวมรวมข้อมูลการเทคอนกรีตเสาเข็มเจาะจากหน่วยงานก่อสร้างเสาเข็มเจาะโครงการในเขตกรุงเทพมหานคร งานวิจัยนี้จะทำการเปรียบเทียบปริมาณคอนกรีตจากการคำนวณกับปริมาณคอนกรีตที่ใช้จริง และ 2) ศึกษาหาค่าความเหมาะสมของปริมาณคอนกรีตจำเป็นต้องใช้ในการดำเนินการ ในทุกกระบวนการของการควบคุมปริมาณคอนกรีตผสมเสร็จในก่อสร้างเสาเข็มเจาะขนาดใหญ่ เพื่อเป็นแนวทางให้ผู้รับเหมาก่อสร้างสามารถนำไปปรับปรุงระบบที่ใช้อยู่เดิมให้ดียิ่งขึ้น นอกจากนี้งานวิจัยนี้จะทำการวิเคราะห์ข้อมูลเพื่อหาความคุ้มค่าเชิงเศรษฐศาสตร์ โดยการนำข้อมูลปริมาณคอนกรีตที่จะต้องเทลงไปในหลุมเจาะมาสรุปและเปรียบเทียบผล ผลการศึกษาพบว่า 1. ปริมาณคอนกรีตผสมเสร็จในงานก่อสร้างเสาเข็มเจาะระบบเปียกขนาดใหญ่ที่ใช้จริงมากกว่าที่ออกแบบไว้อยู่ที่ 4.4 % ปริมาณคอนกรีตผสมเสร็จที่สั่งเกินจากการใช้ เฉลี่ยอยู่ที่ 5.6 จะประหยัดเงินสูญเสียเปล่าในการสั่งเผื่อคอนกรีต 10 %ได้ถึง 6,216,952 บาท (ผลต่างราคา 10% - ผลต่างราคา 5%) 2. ในรูปของการพล๊อตกราฟจะได้ข้อมูลการใช้คอนกรีตที่ปริมาณการสั่งมากกว่าที่ได้คำนวณออกแบบอยู่ที่ 10 % 3. ในรูปของการพล๊อตกราฟจะได้ข้อมูลค่าเฉลี่ยของคอนกรีตที่สั่งน้อยกว่าที่ใช้จริง 17.2% (หลุมที่เกิดอุบัติเหตุหลุมพัง)ในส่วนนี้สามารถแก้ปัญหาและป้องกันได้โดยควบคุมสารละลายเบนโทไนท์และสารละลายโพลิเมอร์ซึ่งมีคุณสมบัติแบบดินเหนียวแต่มีความละเอียดอ่อนกว่ามากโดยใช้เคลือบ ขอบหลุมเจาะเพื่อป้องกันการพังทะลายของขอบหลุมเสาเข็มเจาะในกรณีที่ไม่นับรวมหลุมพังซึ่งเป็นกรณีที่เกิดขึ้นได้น้อยมากเกิดขึ้นได้ไม่บ่อยนักมูลค่าเฉลี่ยที่สั่งมากกว่าใช้งานจริงสูงสุด 5.5% ต่ำสุด -7.4% ค่าเฉลี่ย 0.7 %

คำสำคัญ : คอนกรีตผสมเสร็จ, เสาเข็มเจาะระบบเปียก ,คอนกรีตส่วนเกิน ,คอนกรีตเผื่อ

บทคัดย่อ

The purpose of this research is to study 1) the guidelines for controlling the quantity of ready mixed concrete in the construction of large diameter bored piles in Bangkok. To study the problem of using concrete in the construction area, the collecting of ready-mixed concreting data, including pouring concrete data from bored pile construction site in Bangkok. This research will compare the concrete quantity calculated from the actual concrete quantity to find the suitable value of the ready mixed concrete. and 2) The analysis results can be used as a guideline to process the method statement and some documents that need to be taken. In every process of controlling the quantity of ready-mixed concrete in the construction of large diameter bored piles to provide a way for the contractor to be able to improve the existing procedure. In addition, this research will analyze data to find economic value by taking the data of concrete quantity that must be poured into the drill hole as well to summarize and compare the results. The findings were found as follows: 1. The quantity of ready-mixed concrete in the construction of bored pile piles in the actual size that is used more than designed about 4.4%. The quantity of ready-mixed concrete ordered more exceeds than the use is 5.6% save money, wasting money on orders for 10% concrete up to 6,216,952 baht (10% price difference - 5% price difference) 2. In the form of plot graph, you will get concrete usage data with the order quantity greater than the calculated design 10% 3. In the form of plotting graphs, the average data of the ordered concrete is less than the actual use of 17.2% (the hole in which the hole is broken). In this part, the problem can be solved and prevented by controlling the solution. tonite and polymer solutions, which have clay properties, but are much more delicate, by using the bore edge coating to prevent the erosion of the bored pile edges.

Keywords: Read ymixed concrete,Wet bored pile Excess concrete, Reinforced concrete

ผู้จัดพิมพ์/สำนักพิมพ์

มหาวิทยาลัยราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา สำนักวิทยบริการและเทคโนโลยีสารสนเทศ

ผู้ร่วมสร้างรรค์ ผู้ร่วมงาน

นุกูล สาระวงศ์
ชาญชัย ทรัพย์มณีวงศ์
อัจฉรา ผ่องพิทยา

วันที่ ปีที่จัดพิมพ์

2562

วันที่ผลิต วันที่จัดทำ

2021-08-09 06:57:07

วันที่ปรับปรุงข้อมูล

2021-08-09 06:57:07

ประเภท

thesis

รูปแบบ

application/pdf

แหล่งที่มา

วน 629.276 ก279ก 2562

ภาษา

tha

ลิขสิทธิ์

มหาวิทยาลัยราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา

Degree (name, level, descipline, grantor)

วิศวกรรมศาสตรมหาบัณฑิต
ปริญญาโท
การจัดการอุตสาหกรรม
มหาวิทยาลัยราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา

วันที่ใช้งาน

2562

คอลเลกชั่น

กฤษฎา ภูมี . (2562). การควบคุมปริมาณคอนกรีตผสมเสร็จในงานก่อสร้างเสาเข็มเจาะระบบเปียกขนาดใหญ่ในเขตกรุงเทพมหานคร. มหาวิทยาลัยราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา สำนักวิทยบริการและเทคโนโลยีสารสนเทศ, คลังข้อมูลดิจิทัล สำนักวิทยบริการและเทคโนโลยีสารสนเทศ, accessed December 24, 2024, http://dlib.bsru.ac.th/s/library/item/1585

นำออกข้อมูล :