ชุมชนตรอกข้าวเม่า

Item

ชื่อเรื่อง

ชุมชนตรอกข้าวเม่า

วันที่

2566-11-13

รายละเอียด

บ้านข้าวเม่าเป็นชุมชนเก่าแก่ที่ผู้คนอพยพมาจากกรุงศรีอยุธยาภายหลังเสียกรุงศรีอยุธยาใน พ.ศ. 2310 ส่วนใหญ่เป็นชาวไทย มีวิถีชีวิตทำสวน เดิมเรียกบ้านสวน ต่อมามีการทำข้าวเม่ากันมากและทำสืบกันมา จึงเรียกกันว่า บ้านข้าวเม่า เมื่อมีการตัดถนนซอยเล็กเข้ามาในพื้นที่บ้านข้าวเม่า จึงเรียก ตรอกข้าวเม่า ในสมัยกรุงธนบุรีและสมัยต้นรัตนโกสินทร์ บริเวณบ้านข้าวเม่าเป็นพื้นที่บ้าน สวน มีคลองลัดวัดทองโอบทางทิศเหนือและทิศตะวันตก โดยมีลำปะโดงแยกจากคลองลัดวัดทองด้านตะวันตกไหลผ่านกลางชุมชน ทำให้พื้นที่บ้านข้าวเม่าเป็นที่ลุ่มเหมาะแก่การทำสวนแบบยกร่อง ส่วนใหญ่เป็นสวนผลไม้ ได้แก่ สวนทุเรียน มังคุด มะปราง ขนุน มะม่วง มะไฟ ละมุด ชมพู่ กระท้อน ส้มโอ มะพร้าว กล้วย และอ้อย
ชาวบ้านเล่าว่ารุ่นพ่อแม่ปู่ย่าตายายเมื่อราว 100 ปีที่ผ่านมา (พ.ศ.2450) ย่านบ้านข้าวเม่าเคยปลูกทุเรียนหลากหลายชนิด โดย ส่วนมากพันธุ์ราชินีจะเป็นที่นิยม เพราะเนื้อเยอะนุ่มนวล เม็ดลีบ รสชาติจะหวานแหลม ชาวบ้านจะเรียกทุเรียนย่านบ้านข้าวเม่า หรือ ทุเรียนสวน ในสมัยก่อนชาวบ้านจะปลูกผลไม้ต่างๆ ไว้รับประทานและบางส่วนจะนำไปขายโดยวิธีการล่องเรือไปตามลำคลองวัดทองไปขายที่ตลาดวัดทองที่บ้านบุริมคลองบางกอกน้อยฝั่งใต้ แต่ในบางครั้งจะใช้วิธีหาบจะเดินจากบ้านข้าวเม่าข้ามทางรถไฟเข้าตลาดวัดทอง บางครั้งจะต่อเรือที่ท่าน้ำตลาดวัดทองล่องออกปากคลองบางกอกน้อย แล้วข้ามฟากไปท่าช้างวังหลวง แล้วหาบเดินไปขายยังตลาดท่าเตียน เมื่อขายเสร็จขากลับจะซื้อวัตถุดิบสำหรับทำอาหารกลับบ้าน

ที่มา : Thanyarat Subboonmee.(2022).ประวัติความเป็นมาชุมชนตรอกข้าวเม่า.
http://anyflip.com/sxhnn/icqo/

รูปแบบ

application/pdf

ภาษา

tha

สำนักพิมพ์

มหาวิทยาลัยราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา. สำนักวิทยบริการและเทคโนโลยีสารสนเทศ

หัวเรื่อง

ชุมชนตรอกข้าวเม่า
บ้านข้าวเม่า
ข้าวเม่า
อาหารและขนม

คอลเลกชั่น

khawmao.pdf

“ชุมชนตรอกข้าวเม่า”, มหาวิทยาลัยราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา. สำนักวิทยบริการและเทคโนโลยีสารสนเทศ, 2566-11-13, คลังข้อมูลวิจัย มหาวิทยาลัยราชภัฎบ้านสมเด็จเจ้าพระยา, accessed December 23, 2024, http://dlib.bsru.ac.th/s/research/item/2774