ตามรอยสมเด็จเจ้าพระยาบรมมหาศรีสุริยวงศ์ จากคลองดำเนินสะดวก-ราชบุรีวัดศรีสุริยวงศ์
Item
ชื่อเรื่อง
ตามรอยสมเด็จเจ้าพระยาบรมมหาศรีสุริยวงศ์ จากคลองดำเนินสะดวก-ราชบุรีวัดศรีสุริยวงศ์
ประเภท
บทความ
ผู้แต่ง
ลำพู ครูศิลป์
วันที่
2566-07-25
รายละเอียด
พระราชพงศาวดารกรุงรัตนโกสินทร์ รัชกาลที่ 4 ฉบับเจ้าพระยาทิพากรวงศ์ (ขำ บุนนาค) บันทึกเหตุการณ์ในวันเปิดคลองดำเนินสะดวกไว้ความว่า "ครั้นมาถึงวันจันทเดือนเจ็ดขึ้นสี่ค่ำ พณหัวเจ้าท่าน สมุหพระกลาโหม ไปเปิดคลองขุดใหม่ที่บางนกแขวก คลองนั้นได้ลงมือขุดเมื่อ ปลายปีขานอัฐศก ขุดตั้งแต่บางยางเมืองนครไชยศรีฝั่งตะวันออกไปตกคลองบางนกแขวก แขวงเมืองราชบุรี ยาวแปดร้อยยี่สิบเส้นกว้าง หกวาฤกหกศอกรวมค่าจ้างขุดค่าตอไม้ เงินในพณหัวเจ้าท่านสมุหพระกระลาโหมพันชั่ง ในหลวงพระราชทานธาระณะด้วยสี่ร้อยชั่ง รวมเป็นเงินพันสี่ร้อยชั่ง ให้ชื่อคลองดำเนินสะดวก"
ผู้ช่วยศาสตราจารย์พิษณุ บางเขียว รองอธิการบดีมหาวิทยาลัยราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยากล่าวว่า "นับย้อนอดีตไป 148 ปี เมื่อวันที่ 25 พฤษภาคม ปีพุทธศักราช 2411 เป็นวันที่ เปิดคลองดำเนินสะดวก โดยสมเด็จเจ้าพระยาบรมมหาศรีสุริยวงศ์ (ช่วง บุนนาค) ครั้งท่านยังดำรงตำแหน่งสมุหพระกลาโหม ในสมัยรัชกาลที่ 4 ด้วยเหตุที่เป็นวันสำคัญในประวัติศาสตร์ วันเปิดคลองดำเนินสะดวก มหาวิทยาลัยราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา จึงจัดกิจกรรมรำลึกถึงท่านด้วยการตามรอยสมเด็จเจ้าพระยาบรมมหาศรีสุริยวงศ์ จากคลองดำเนินสะดวกไปถึงตัวเมืองราชบุรี ที่วัดศรีสุริยวงศ์ เพื่อเรียนรู้ ศึกษาผลงานและสิ่งเกี่ยวเนื่องกับท่าน"
สมปอง ดวงไสว คนดำเนินสะดวก เล่าให้ฟังว่า "คลองดำเนินสะดวก เป็นคลองขุด ขึ้นใหม่ เชื่อมแม่น้ำแม่กลองกับแม่น้ำท่าจีน ผ่านสามจังหวัดคือ ปากคลองดำเนินสะดวก อยู่ ที่บางยาง อยู่อำเภอบ้านแพ้ว สมุทรสาคร ยาวจนมาถึงกลางคลองวัดปราสาทสิทธิ์หลักห้าอยู่ในเขตอำเภอดำเนินสะดวก ราชบุรี และปลายคลองออกแม่น้ำแม่กลองอยู่บางนกแขวก อำเภอบางคนที สมุทรสงคราม ตลอดคลองทุกช่วง 4 กิโลเมตรจะมีหลักคลองปรากฏอยู่ และแต่ละหลัก จะเกิดชุมชนจนเรียกบ้านย่านที่อยู่อาศัยริมคลอง ตามหลักตั้งแต่หลักหนึ่งถึงหลักแปด"
สาเหตุที่ท่านขุดคลองดำเนินสะดวก สมเด็จเจ้าพระยาบรมมหาศรีสุริยวงศ์ท่านได้ ความคิดร่วมสมัยในเวลาเดียวกันที่ "เจ้าสัวยิ้ม" พระภาษีสมบัติบริบูรณ์ (ยิ้ม พิศัลยบุตร) คิด ขุดคลองภาษีเจริญ ซึ่งทั้งสองคลองได้รับพระบรมราชานุญาตจากรัชกาลที่ 4 ให้ขุดได้ ทำแผนการขุดคลองในเวลาเดียวกันในปีพ.ศ.2409 แต่ปรากฏว่าคลองดำเนินสะดวกลงมือขุดและสำเร็จเปิดใช้ก่อน ผลของการขุดคลองดำเนินสะดวกทำให้การคมนาคมระหว่างกรุงเทพกับราชบุรีสะดวกขึ้น เกิดเศรษฐกิจที่ดีขึ้น มีการใช้พื้นที่ในทางเกษตรกรรมและมีบ้านเรือน อยู่อาศัยสองฟากฝั่งคลอง จากประชุมพงศาวดาร ภาค 25 ความว่า "เมื่อปีขาร พศ.2409 โปรดฯ ให้เจ้าพระยาศรีสุริยวงศ์ ที่สมุหพระกลาโหม เปนแม่กองขุดคลองกว้าง 6 วาลึก 6 ศอก แต่แม่น้ำเมืองนครไชยศรีที่ตำบลบางยางไปออกแม่น้ำเมืองราชบุรีที่ตำบลบางนกแขวกเปนระยะทาง 840 เส้น เจ้าพระยาศรีสุริยวงศ์ (ได้จับที่ว่างทำนาในคลอง นั้นจึง) ออกค่าขุดคลอง 80,000 บาท เงินหลวง คงออก 32,000 บาท รวมเปนเงินค่าขุดคลองสิ้น 112,000 บาท การขุดคลองนี้สำเร็จได้เปิดคลองเมื่อวันจันทร์เดือน 7 ขึ้น 4 ค่ำปีมะโรง พ.ศ.2411 พระราชทานนามว่า คลองดำเนิรสดวก"
ที่มา : ลำพู ครูศิลป์. (2559, 8 มิถุนายน). ตามรอยสมเด็จเจ้าพระยาบรมมหาศรีสุริยวงศ์
จากคลองดำเนินสะดวก-ราชบุรีวัดศรีสุริยวงศ์. กรุงเทพธุรกิจ, 8.
ผู้ช่วยศาสตราจารย์พิษณุ บางเขียว รองอธิการบดีมหาวิทยาลัยราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยากล่าวว่า "นับย้อนอดีตไป 148 ปี เมื่อวันที่ 25 พฤษภาคม ปีพุทธศักราช 2411 เป็นวันที่ เปิดคลองดำเนินสะดวก โดยสมเด็จเจ้าพระยาบรมมหาศรีสุริยวงศ์ (ช่วง บุนนาค) ครั้งท่านยังดำรงตำแหน่งสมุหพระกลาโหม ในสมัยรัชกาลที่ 4 ด้วยเหตุที่เป็นวันสำคัญในประวัติศาสตร์ วันเปิดคลองดำเนินสะดวก มหาวิทยาลัยราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา จึงจัดกิจกรรมรำลึกถึงท่านด้วยการตามรอยสมเด็จเจ้าพระยาบรมมหาศรีสุริยวงศ์ จากคลองดำเนินสะดวกไปถึงตัวเมืองราชบุรี ที่วัดศรีสุริยวงศ์ เพื่อเรียนรู้ ศึกษาผลงานและสิ่งเกี่ยวเนื่องกับท่าน"
สมปอง ดวงไสว คนดำเนินสะดวก เล่าให้ฟังว่า "คลองดำเนินสะดวก เป็นคลองขุด ขึ้นใหม่ เชื่อมแม่น้ำแม่กลองกับแม่น้ำท่าจีน ผ่านสามจังหวัดคือ ปากคลองดำเนินสะดวก อยู่ ที่บางยาง อยู่อำเภอบ้านแพ้ว สมุทรสาคร ยาวจนมาถึงกลางคลองวัดปราสาทสิทธิ์หลักห้าอยู่ในเขตอำเภอดำเนินสะดวก ราชบุรี และปลายคลองออกแม่น้ำแม่กลองอยู่บางนกแขวก อำเภอบางคนที สมุทรสงคราม ตลอดคลองทุกช่วง 4 กิโลเมตรจะมีหลักคลองปรากฏอยู่ และแต่ละหลัก จะเกิดชุมชนจนเรียกบ้านย่านที่อยู่อาศัยริมคลอง ตามหลักตั้งแต่หลักหนึ่งถึงหลักแปด"
สาเหตุที่ท่านขุดคลองดำเนินสะดวก สมเด็จเจ้าพระยาบรมมหาศรีสุริยวงศ์ท่านได้ ความคิดร่วมสมัยในเวลาเดียวกันที่ "เจ้าสัวยิ้ม" พระภาษีสมบัติบริบูรณ์ (ยิ้ม พิศัลยบุตร) คิด ขุดคลองภาษีเจริญ ซึ่งทั้งสองคลองได้รับพระบรมราชานุญาตจากรัชกาลที่ 4 ให้ขุดได้ ทำแผนการขุดคลองในเวลาเดียวกันในปีพ.ศ.2409 แต่ปรากฏว่าคลองดำเนินสะดวกลงมือขุดและสำเร็จเปิดใช้ก่อน ผลของการขุดคลองดำเนินสะดวกทำให้การคมนาคมระหว่างกรุงเทพกับราชบุรีสะดวกขึ้น เกิดเศรษฐกิจที่ดีขึ้น มีการใช้พื้นที่ในทางเกษตรกรรมและมีบ้านเรือน อยู่อาศัยสองฟากฝั่งคลอง จากประชุมพงศาวดาร ภาค 25 ความว่า "เมื่อปีขาร พศ.2409 โปรดฯ ให้เจ้าพระยาศรีสุริยวงศ์ ที่สมุหพระกลาโหม เปนแม่กองขุดคลองกว้าง 6 วาลึก 6 ศอก แต่แม่น้ำเมืองนครไชยศรีที่ตำบลบางยางไปออกแม่น้ำเมืองราชบุรีที่ตำบลบางนกแขวกเปนระยะทาง 840 เส้น เจ้าพระยาศรีสุริยวงศ์ (ได้จับที่ว่างทำนาในคลอง นั้นจึง) ออกค่าขุดคลอง 80,000 บาท เงินหลวง คงออก 32,000 บาท รวมเปนเงินค่าขุดคลองสิ้น 112,000 บาท การขุดคลองนี้สำเร็จได้เปิดคลองเมื่อวันจันทร์เดือน 7 ขึ้น 4 ค่ำปีมะโรง พ.ศ.2411 พระราชทานนามว่า คลองดำเนิรสดวก"
ที่มา : ลำพู ครูศิลป์. (2559, 8 มิถุนายน). ตามรอยสมเด็จเจ้าพระยาบรมมหาศรีสุริยวงศ์
จากคลองดำเนินสะดวก-ราชบุรีวัดศรีสุริยวงศ์. กรุงเทพธุรกิจ, 8.
รูปแบบ
application/pdf
ภาษา
tha
สำนักพิมพ์
มหาวิทยาลัยราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา. สำนักวิทยบริการและเทคโนโลยีสารสนเทศ
หัวเรื่อง
คลองดำเนินสะดวก
สมเด็จเจ้าพระยาบรมมหาศรีสุริยวงศ์
บางนกแขวก
พิพิธภัณฑ์สถานแห่งชาติ ราชบุรี
วัดศรีสุริยวงศ์
คลองประวัติศาสตร์
คอลเลกชั่น
ลำพู ครูศิลป์, “ตามรอยสมเด็จเจ้าพระยาบรมมหาศรีสุริยวงศ์ จากคลองดำเนินสะดวก-ราชบุรีวัดศรีสุริยวงศ์”, มหาวิทยาลัยราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา. สำนักวิทยบริการและเทคโนโลยีสารสนเทศ, 2566-07-25, คลังข้อมูลวิจัย มหาวิทยาลัยราชภัฎบ้านสมเด็จเจ้าพระยา, accessed December 23, 2024, http://dlib.bsru.ac.th/s/research/item/2682