ป้อมป้องปัจจามิตร
Item
ชื่อเรื่อง
ป้อมป้องปัจจามิตร
วันที่
2566-02-10
รายละเอียด
ป้อมป้องปัจจามิตร เป็นป้อมสำคัญที่ใช้ป้องกันข้าศึกตามริมแม่น้ำเจ้าพระยา ตั้งอยู่บนฝั่งแม่น้ำ
เจ้าพระยาด้านตะวันตก ริมปากคลองสาน ตรงข้ามกับป้อมปิดปัจจานึก บริเวณปากคลองผดุงกรุงเกษม ปัจจุบันอยู่บริเวณบ้านพักข้าราชการกรมเจ้าท่า ใกล้กับสำนักงานเขตคลองสาน
พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๔ ทรงโปรดเกล้าฯ ให้ขยายพื้นที่พระนครให้
กว้างขวางขึ้น ด้วยการขุดคลองผดุงกรุงเกษม เป็นคูพระนครรอบนอก เมื่อปี พ.ศ. ๒๓๙๕ ทั้งยังทรงโปรดให้ สร้างป้อมปืนรักษาพระนครจำนวน ๘ ป้อม เรียงรายตามริมคลอง เพื่อป้องกันผู้รุกรานทางลำน้ำเจ้าพระยา ในปี พ.ศ. ๒๓๙๗ โดยให้สมเด็จเจ้าพระยาบรมมหาศรีสุริยวงศ์ สมุหกลาโหมเป็นแม่กอง และบุตรชายคือ เจ้าพระยาสุรวงศ์ไวยวัฒน์ เป็นนายงาน ขุดคลองและสร้างป้อมรักษาพระนครทั้ง ๘ แห่ง โดยสร้างตามรูปแบบป้อมยุโรป รูปทรงจึงต่างจากป้อมอื่น ๆ ที่เคยสร้างไว้
พร้อมทั้งพระราชทานนามป้อมปีนทั้งแปดอย่างคล้องจองกันว่า
๑. ป้อมป้องปัจจามิตร ตั้งอยู่ ปากคลองสาน ตรงข้ามกับคลองผดุงกรุงเกษม
๒. ป้อมปิดปัจจานึก ตั้งอยู่บริเวณ ปากคลองผดุงกรุงเกษม
๓. ป้อมฮีกเหี้ยมหาญ
๔. ป้อมผลาญไพรีราบ
๕. ป้อมปราบศัตรูพ่าย
๖. ป้อมทำลายปรปักษ์
๗. ป้อมหักกำลังด้สกร (ป้อมที่๓-๗ เป็นป้อมขนาดเล็กสำหรับยิงสลุต เรียงรายตามคลองผดุงกรุงเกษม) และ
๘.ป้อมมหานครรักษา ตั้งอยู่ปากคลองผดุงกรุงเกษมฝั่งเหนือ ป้อมป้องปัจจามิตรเป็นป้อมปืนใหญ่ที่สุดในทั้งหมด และเป็นเพียงป้อม
เดียวที่ตั้งอยู่ฝั่งธนบุรี ตัวป้อมมีลักษณะแบบดาวห้าแฉกขนาดใหญ่ มีกำแพงใบปัง เพื่อป้องกันปืนใหญ่จากข้าศึกและมีช่องระหว่างกำแพงเพื่อวางปืนใหญ่ไว้สำหรับป้องกันพระนครด้วย ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๕ ทรง ขยายอาณาเขตพระนครออกไปอีก จึงรื้อป้อมฝั่งพระนครออก คงเหลือป้อมป้อง ปัจจามิตรเพียงแห่งเดียวเท่านั้น จากนั้นกรมเจ้าท่าได้ใช้ป้อมป้องปัจจามิตรเป็นสถานที่ตั้งเสาธงสัญญาณ สำหรับชักธงแจ้งข่าวเรือสินค้าเข้าออก ว่าเป็นเรือของ บริษัทใด และมีบ้านพักของข้าราชการกรมเจ้าท่ผู้ดูแลเสาธงอยู่ในบริเวณป้อมด้วย ต่อมาในสมัยรัชกาลที่ ๖ ได้ย้ายเสาธงสัญญาณบนป้อมลงมาอยู่บริเวณ ใกล้ตัวป้อม ในปี พ.ศ. ๒๔๙๒ ป้อมป้องปัจจามิตรมีสภาพทรุดโทรมมาก เทศบาลนครธนบุรีในสมัยนั้นจึงรื้อทิ้ง เพื่อปรับสถานที่และนำเศษอิฐเศษปูนไปถมถนนจนเหลืออยู่เพียง ๑ ใน ๔ ของขนาดเดิม
ที่มา : สำนักงานเขตคลองสาน. (๒๕๕๔).ป้อมป้องปัจจามิตร . ใน สมโภช ๑๐๐ ปี เขตคลองสาน. (น. ๑๐๐- ๑๐๒). ม.ป.พ.
เจ้าพระยาด้านตะวันตก ริมปากคลองสาน ตรงข้ามกับป้อมปิดปัจจานึก บริเวณปากคลองผดุงกรุงเกษม ปัจจุบันอยู่บริเวณบ้านพักข้าราชการกรมเจ้าท่า ใกล้กับสำนักงานเขตคลองสาน
พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๔ ทรงโปรดเกล้าฯ ให้ขยายพื้นที่พระนครให้
กว้างขวางขึ้น ด้วยการขุดคลองผดุงกรุงเกษม เป็นคูพระนครรอบนอก เมื่อปี พ.ศ. ๒๓๙๕ ทั้งยังทรงโปรดให้ สร้างป้อมปืนรักษาพระนครจำนวน ๘ ป้อม เรียงรายตามริมคลอง เพื่อป้องกันผู้รุกรานทางลำน้ำเจ้าพระยา ในปี พ.ศ. ๒๓๙๗ โดยให้สมเด็จเจ้าพระยาบรมมหาศรีสุริยวงศ์ สมุหกลาโหมเป็นแม่กอง และบุตรชายคือ เจ้าพระยาสุรวงศ์ไวยวัฒน์ เป็นนายงาน ขุดคลองและสร้างป้อมรักษาพระนครทั้ง ๘ แห่ง โดยสร้างตามรูปแบบป้อมยุโรป รูปทรงจึงต่างจากป้อมอื่น ๆ ที่เคยสร้างไว้
พร้อมทั้งพระราชทานนามป้อมปีนทั้งแปดอย่างคล้องจองกันว่า
๑. ป้อมป้องปัจจามิตร ตั้งอยู่ ปากคลองสาน ตรงข้ามกับคลองผดุงกรุงเกษม
๒. ป้อมปิดปัจจานึก ตั้งอยู่บริเวณ ปากคลองผดุงกรุงเกษม
๓. ป้อมฮีกเหี้ยมหาญ
๔. ป้อมผลาญไพรีราบ
๕. ป้อมปราบศัตรูพ่าย
๖. ป้อมทำลายปรปักษ์
๗. ป้อมหักกำลังด้สกร (ป้อมที่๓-๗ เป็นป้อมขนาดเล็กสำหรับยิงสลุต เรียงรายตามคลองผดุงกรุงเกษม) และ
๘.ป้อมมหานครรักษา ตั้งอยู่ปากคลองผดุงกรุงเกษมฝั่งเหนือ ป้อมป้องปัจจามิตรเป็นป้อมปืนใหญ่ที่สุดในทั้งหมด และเป็นเพียงป้อม
เดียวที่ตั้งอยู่ฝั่งธนบุรี ตัวป้อมมีลักษณะแบบดาวห้าแฉกขนาดใหญ่ มีกำแพงใบปัง เพื่อป้องกันปืนใหญ่จากข้าศึกและมีช่องระหว่างกำแพงเพื่อวางปืนใหญ่ไว้สำหรับป้องกันพระนครด้วย ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๕ ทรง ขยายอาณาเขตพระนครออกไปอีก จึงรื้อป้อมฝั่งพระนครออก คงเหลือป้อมป้อง ปัจจามิตรเพียงแห่งเดียวเท่านั้น จากนั้นกรมเจ้าท่าได้ใช้ป้อมป้องปัจจามิตรเป็นสถานที่ตั้งเสาธงสัญญาณ สำหรับชักธงแจ้งข่าวเรือสินค้าเข้าออก ว่าเป็นเรือของ บริษัทใด และมีบ้านพักของข้าราชการกรมเจ้าท่ผู้ดูแลเสาธงอยู่ในบริเวณป้อมด้วย ต่อมาในสมัยรัชกาลที่ ๖ ได้ย้ายเสาธงสัญญาณบนป้อมลงมาอยู่บริเวณ ใกล้ตัวป้อม ในปี พ.ศ. ๒๔๙๒ ป้อมป้องปัจจามิตรมีสภาพทรุดโทรมมาก เทศบาลนครธนบุรีในสมัยนั้นจึงรื้อทิ้ง เพื่อปรับสถานที่และนำเศษอิฐเศษปูนไปถมถนนจนเหลืออยู่เพียง ๑ ใน ๔ ของขนาดเดิม
ที่มา : สำนักงานเขตคลองสาน. (๒๕๕๔).ป้อมป้องปัจจามิตร . ใน สมโภช ๑๐๐ ปี เขตคลองสาน. (น. ๑๐๐- ๑๐๒). ม.ป.พ.
รูปแบบ
application/pdf
ภาษา
tha
สำนักพิมพ์
มหาวิทยาลัยราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา สำนักวิทยบริการและเทคโนโลยีสารสนเทศ
หัวเรื่อง
ป้อมป้องปัจจามิตร
สถานที่สำคัญ
คอลเลกชั่น
“ป้อมป้องปัจจามิตร”, มหาวิทยาลัยราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา สำนักวิทยบริการและเทคโนโลยีสารสนเทศ, 2566-02-10, คลังข้อมูลวิจัย มหาวิทยาลัยราชภัฎบ้านสมเด็จเจ้าพระยา, accessed December 24, 2024, http://dlib.bsru.ac.th/s/research/item/2620