มัสยิดเซพี (มัสยิดตึกขาว)
Item
ชื่อเรื่อง
มัสยิดเซพี (มัสยิดตึกขาว)
ผู้แต่ง
สิทธิโชค มุกเตียร์
วันที่
2566-02-03
รายละเอียด
มัสยิดเซพี (มัสยิดตึกขาว) ตั้งอยู่ในซอยสมเด็จเจ้าพระยา ฝั่งแม่น้ำเจ้าพระยาเขตคลองสาน (ตรงข้ามกับท่าน้ำราชวงศ์) เป็นสุเหร่าที่ตั้งโดยพ่อค้าขาวเมือง สุหรัตจากประเทศอินเดีย ใช้ชื่อกลุ่มว่าดาวุดีโบราห์ ซึ่งเป็นนิกายชีอะห์อีกสาขาหนึ่งประกอบพิธีกรรมเจ้าเซ็นเช่นเดียวกับสายเปอร์เชีย หากแต่ไม่มีการควั่นศีรษะ พ่อค้ากลุ่มนี้เป็นคนในบังคับอังกฤษที่เดินทางเข้ามาค้าขายช่วงต้นกรุงรัตนโกสินทร์ คนไทยมักเรียกว่านักกุด่าหรือนาขุด่า ที่มาจากภาษาเปอร์เชียแปล ว่าเจ้าของเรือสินค้า เช่น นักกุด่าสระวะสี (หลวงสนิทภูบาล) นักกุด่ามอหามัดฝอเรศ (หลวงประเทศไมตรี) เป็นต้น กลุ่มคนเหล่านี้ ล้วนเคยทำมาค้าขายอยู่บริเวณตึกขาว-ตึกแดงย่านอุทยานเฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนนีในปัจจุบัน ก่อนที่จะขยายการค้าข้ามฝั่งมายังบริเวณท่าน้ำราชวงศ์และเชิงสะพานข้างโรงสีถนนเฟื่องนคร สุเหร่าตึกขาวสร้างขึ้นก่อนสุเหร่าตึกแดงของนิกายสุหนี่ที่อยู่ใกล้กัน โดย กลุ่มนายห้างชาวอินเดียหลายคน มี อับดุล กราเดอร์เซนอารีวาสี เจ้าของห้างวาสี ไชยาอูดิบมูอำหมัดอาลี พ่อค้าเร่ขายเพชร พลอยตามบ้าน อับดุลราฮิม เจ้าของห้างอับดุลราฮิม นายห้างมัสกาตี เป็นอาทิ ได้ช่วยกันซื้อที่ดินและสร้างสุเหร่าขึ้น ปัจจุบัน สุเหร่าแห่งนี้ยังเป็นที่ประกอบพิธีกรรมเช่นที่เคยเป็นมา ทว่าไม่มีสัตบุรุษอาศัยอยู่รอบเหมือนอดีต เนื่องจากพ่อค้ากลุ่มนี้ส่วนใหญ่ได้เดินทางกลับประเทศอินเดีย คงเหลือเพียงชั้นลูกหลานอันเกิดจากภรรยาคนไทย ซึ่งต่อมาได้ขายที่ดินและโยกย้ายไปตั้งรกรากที่อื่นกันหมด
ว่ากันว่าที่มาของชื่อตึกขาวมาจากสี ของตึกรามส่วนใหญ่ในละแวกนี้ซึ่งทาสีขาว แต่บ้างก็ว่ามาจากสีคฤหาสน์ของพระยารัตนบดินทร์ (รอด กัลยาณมิตร) สมุหนายกในสมัยรัชกาลที่ ๕
ต้นกรุงรัตนโกสินทร์ ก่อนการตัดถนนเจริญกรุง ย่านตึกขาวเป็นแหล่งธุรกิจการค้าและที่อยู่อาศัยแหล่งใหญ่ของชาวมุสลิมอินเดีย ซึ่งติดต่อยาวไปจนถึงย่าน ตึกแดง มีโกดังข้าว โรงเก็บสินค้า และร้านค้าขายผ้า แพรพรรณ เพชรพลอย เครื่องนุ่งห่มและเครื่องใช้ที่นำเข้าจากอินเดียตั้งอยู่อย่างหนาแน่น
ที่มา : สำนักงานเขตคลองสาน. (๒๕๕๔).มัสยิดเซพี . ใน สมโภช ๑๐๐ ปี เขตคลองสาน. (น. ๙๐- ๙๑). ม.ป.พ.
ว่ากันว่าที่มาของชื่อตึกขาวมาจากสี ของตึกรามส่วนใหญ่ในละแวกนี้ซึ่งทาสีขาว แต่บ้างก็ว่ามาจากสีคฤหาสน์ของพระยารัตนบดินทร์ (รอด กัลยาณมิตร) สมุหนายกในสมัยรัชกาลที่ ๕
ต้นกรุงรัตนโกสินทร์ ก่อนการตัดถนนเจริญกรุง ย่านตึกขาวเป็นแหล่งธุรกิจการค้าและที่อยู่อาศัยแหล่งใหญ่ของชาวมุสลิมอินเดีย ซึ่งติดต่อยาวไปจนถึงย่าน ตึกแดง มีโกดังข้าว โรงเก็บสินค้า และร้านค้าขายผ้า แพรพรรณ เพชรพลอย เครื่องนุ่งห่มและเครื่องใช้ที่นำเข้าจากอินเดียตั้งอยู่อย่างหนาแน่น
ที่มา : สำนักงานเขตคลองสาน. (๒๕๕๔).มัสยิดเซพี . ใน สมโภช ๑๐๐ ปี เขตคลองสาน. (น. ๙๐- ๙๑). ม.ป.พ.
รูปแบบ
application/pdf
ภาษา
tha
สำนักพิมพ์
มหาวิทยาลัยราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา สำนักวิทยบริการและเทคโนโลยีสารสนเทศ
หัวเรื่อง
มัสยิดเซพี
มัสยิดตึกขาว
ศาสนสถาน
คอลเลกชั่น
สิทธิโชค มุกเตียร์, “มัสยิดเซพี (มัสยิดตึกขาว)”, มหาวิทยาลัยราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา สำนักวิทยบริการและเทคโนโลยีสารสนเทศ, 2566-02-03, คลังข้อมูลวิจัย มหาวิทยาลัยราชภัฎบ้านสมเด็จเจ้าพระยา, accessed December 24, 2024, http://dlib.bsru.ac.th/s/research/item/2614