"ปฐมบทบาท" ของผู้สำเร็จราชการแผ่นดินในรัชกาลที่ ๕ : แนวทางสู่การสืบราชสันตติวงศ์ของสยามอย่างมีเอกภาพ
Item
ชื่อเรื่อง
"ปฐมบทบาท" ของผู้สำเร็จราชการแผ่นดินในรัชกาลที่ ๕ : แนวทางสู่การสืบราชสันตติวงศ์ของสยามอย่างมีเอกภาพ
ลิขสิทธิ์
มหาวิทยาลัยราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา
ประเภท
บทความ
ผู้แต่ง
ปิยนาถ บุนนาค
วันที่
2565-12-6
รายละเอียด
ในช่วงแรกที่สมเด็จเจ้าพระยาบรมมหาศรีสุริยวงศ์ (ช่วง บุนนาค) (ขณะเป็นเจ้าพระยาศรีสุริยวงศ์) เป็นผู้สำเร็จราชการแผ่นดินในรัชกาลที่ ๕ ระหว่าง พ.ศ. ๒๔๑๑ - ๒๔๑๖ ท่านได้มีบทบาทแรกที่สำคัญอันเป็น "ปฐมบทบาท" คือ การจัดการเรื่อง การสืบราชสมบัติ กล่าวคือ หลังจากพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้า เจ้าอยู่หัวรัชกาลที่ ๔ สวรรคตแล้ว ที่ประชุมพระบรมวงศานุวงศ์และเสนาบดีอันมี สมเด็จเจ้าพระยาฯ เป็นประธานได้พร้อมใจกันอัญเชิญเจ้าฟ้าจุฬาลงกรณ์ กรมขุนพินิตประชานาถขึ้นเป็นพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่ ๕ แต่เนื่องจากยังทรงพระเยาว์ (มีพระชนมายุ ๑๕ พรรษา ที่ประชุมจึงเห็นควรให้สมเด็จเจ้าพระยา เป็นผู้สำเร็จราชการแผ่นดินไปจนกว่าพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวจะทรงผนวช ซึ่ง หมายความว่าทรงเจริญวัยเป็น "ผู้ใหญ่" ที่จะปกครองบ้านเมืองด้วยพระองค์เองได้ หลังจากนั้นสมเด็จเจ้าพระยาฯ ได้ขอให้สมเด็จเจ้าฟ้า กรมขุนบำราบปรปักษ์ (มีศักดิ์เป็น "อา" ของรัชกาลที่ ๕) ช่วยในงานด้านที่ท่านไม่ชำนาญคือเป็นผู้สำเร็จราชการ พระคลังมหาสมบัติและสำเร็จราชการในราชกิจ ทั้งนี้ด้วยเหตุผลที่ว่าสมเด็จเจ้าฟ้ากรมขุนบำราบฯ ทรงเคยทำราชการมีประสบการณ์ในงานด้านนี้มาถึงสองรัชกาลแล้ว แต่เหตุผลที่แท้จริงคงเป็นเพราะสมเด็จเจ้าฟ้า กรมขุนบำราบฯ ทรงเป็นบุคคลที่ไม่เป็นอันตรายต่อสมเด็จเจ้าพระยาฯ ท่านต้องการให้พระองค์มาเป็น "กันชน" ระหว่างท่านกับรัชกาลที่ ๕ เพื่อป้องกันไม่ให้เกิดความขัดแย้งกันขึ้นอย่างรุนแรงก็เป็นได้ พร้อมกันนั้นที่ประชุมได้ยกกรมหมื่นบวรวิชัยชาญขึ้นเป็นกรมพระราชวัง บวรสถานมงคล แต่เรื่องนี้ไม่เป็นมติเอกฉันท์ของที่ประชุม มีเสียงคัดค้านจากกรมขุนวรจักรขรานุภาพพระเจ้าน้องยาเธอในรัชกาลที่ ๔ ว่า การตั้งผู้จะดำรงตำแหน่ง กรมพระราชวังบวรฯ พระมหาอุปราชควรเป็นตามพระบรมราชโองการ ไม่ใช่เป็นกิจของที่ประชุม ซึ่งคงสร้างความไม่พอใจให้แก่สมเด็จเจ้าพระยาฯ ท่านจึงได้ย้อน ถามว่า "ที่ไม่ยอมนั้นอยากจะเป็นเองหรือ " ในที่สุดด้วยอำนาจและอิทธิพลของสมเด็จเจ้าพระยาฯ จึงทำให้ที่ประชุมจำเป็นต้องยอมรับการตั้งวังหน้า โดยเฉพาะ เมื่อรัชกาลที่ ๔ สวรรคตแล้วท่านมีอำนาจเป็นล้นพ้นถึงขนาดที่ในการปฏิสังขรณ์ วัดพระศรีรัตนศาสดารามซึ่งเป็นวัดสำคัญสำหรับพระนคร บางท่านได้กล่าวว่า
"หากสมเด็จเจ้าพระยาบรมมหาศรีสุริยวงศ์ท่านไม่เข้าช่วยแล้วจะไม่สำเร็จ"" ส่วนเจ้านายพระบรมวงศานุวงศ์ในขณะนั้นทรงอยู่ในภาวะ "ใกล้ขั้นเสื่อมลาภเสื่อมยศ"
ที่มา : ปิยนาถ บุนนาค. (๒๕๖๑). "ปฐมบทบาท" ของผู้สำเร็จราชการแผ่นดินในรัชกาลที่ ๕ : แนวทางสู่การสืบราชสันตติวงศ์ของสยามอย่างมีเอกภาพ. ใน ศรีสมเด็จ ๖๑ (๖๔-๖๙). สมาคมศิษย์เก่าบ้านสมเด็จเจ้าพระยาในพระบรมชูปถัมภ์.
"หากสมเด็จเจ้าพระยาบรมมหาศรีสุริยวงศ์ท่านไม่เข้าช่วยแล้วจะไม่สำเร็จ"" ส่วนเจ้านายพระบรมวงศานุวงศ์ในขณะนั้นทรงอยู่ในภาวะ "ใกล้ขั้นเสื่อมลาภเสื่อมยศ"
ที่มา : ปิยนาถ บุนนาค. (๒๕๖๑). "ปฐมบทบาท" ของผู้สำเร็จราชการแผ่นดินในรัชกาลที่ ๕ : แนวทางสู่การสืบราชสันตติวงศ์ของสยามอย่างมีเอกภาพ. ใน ศรีสมเด็จ ๖๑ (๖๔-๖๙). สมาคมศิษย์เก่าบ้านสมเด็จเจ้าพระยาในพระบรมชูปถัมภ์.
รูปแบบ
application/pdf
แหล่งที่มา
อ 378.593 ม246ศ 2561
ภาษา
tha
สำนักพิมพ์
มหาวิทยาลัยราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา สำนักวิทยบริการและเทคโนโลยีสารสนเทศ
หัวเรื่อง
สมเด็จเจ้าพระยาบรมมหาศรีสุริยวงศ์
มหาวิทยาลัยราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา
บคคลสำคัญ
คอลเลกชั่น
ปิยนาถ บุนนาค, “"ปฐมบทบาท" ของผู้สำเร็จราชการแผ่นดินในรัชกาลที่ ๕ : แนวทางสู่การสืบราชสันตติวงศ์ของสยามอย่างมีเอกภาพ”, มหาวิทยาลัยราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา สำนักวิทยบริการและเทคโนโลยีสารสนเทศ, 2565-12-6, คลังข้อมูลวิจัย มหาวิทยาลัยราชภัฎบ้านสมเด็จเจ้าพระยา, accessed December 24, 2024, http://dlib.bsru.ac.th/s/research/item/2533