ตามรอยประภาคารแห่งแรกของไทยรีเจ้นท์ไลท์เฮ้าส์ ของสมเด็จเจ้าพระยาบรมมหาศรีสุริยวงศ์

Item

ชื่อเรื่อง

ตามรอยประภาคารแห่งแรกของไทยรีเจ้นท์ไลท์เฮ้าส์ ของสมเด็จเจ้าพระยาบรมมหาศรีสุริยวงศ์

ประเภท

บทความ

ผู้แต่ง

สมปอง ดวงไสว

วันที่

2565-09-16

รายละเอียด

ประภาคาร คือ ประทีปแห่งท้องทะเล ชาวเรือคนเดินเรืออุ่นใจเสมอเมื่อเห็นแสงไฟจากประภาคาร เพราะนั่นคือสัญญาณว่า อีกไม่นานจะถึงฝั่งแล้ว ประภาคารจึงเป็นที่หมายแห่งความหวัง ที่คนเรือปรารถนา
ประภาคาร (Light house) เป็นสิ่งก่อสร้างรูป หอคอย หรือโครงเหล็ก มีตะเกียงส่องไฟอยู่ข้างบน ที่สำคัญคือมีคนเฝ้า ส่วนใหญ่จะสร้างไว้ในตำแหน่งที่มีความสำคัญมากต่อการเดินเรือ เช่น แสดงที่อันตราย แสดงจุดเริ่มเข้าใกล้ฝั่ง หลังจากรอนแรมอยู่ในทะเลมาหลายวัน หรือจุดที่เรือจะใช้เปลี่ยนเข็มเดินทาง คือ เปลี่ยนทิศทางที่จะเดินเรือต่อไป
ประภาคารแห่งแรกของโลก
การเดินเรือในยุคแรกๆ ชาวเรือใช้ธรรมชาติโดยอาศัยภูเขาไฟที่ยังลุกอยู่เป็นตัวบ่งบอก ต่อมาเมื่อภูเขาไฟดับแล้วจึงได้จัดหาไฟขึ้นมาใช้แทนที่ภูเขาไฟธรรมชาติที่หายไป จนเกิดเป็นประภาคารขึ้น ประภาคารแห่งแรกของโลกคือประภาคารที่ตั้งอยู่บนเกาะฟารอส (Pharos) หน้าเมืองอเล็กซานเดรีย (Alexandria) ในอียิปต์ มีชื่อว่าฟารอสแห่งอะเล็กซานเดรีย ประภาคารนี้สร้างโดยชาวกรีก ชื่อ ซอสตราตุส ชาวเมืองไนดัส ในสมัยกษัตริย์ปโตเลมี ประมาณ พ.ศ. 260 มีการสร้างตัวประภาคารสูง 85 เมตร (280 ฟุต) ใช้แสงสว่างจากไฟเผาไม้มีแผ่นโลหะช่วยสะท้อนแสงทำให้เห็นได้ไกล 56 กม.(35 ไมล์) ประภาคารแห่งแรกในโลกนั้นไม่ธรรมดา หากแต่เป็นสิ่งมหัศจรรย์ของโลก แต่เป็นที่น่าเสียดายที่วันนี้ไม่เหลือร่องรอยหลักฐานใดๆ ให้เห็น

ที่มา : สมปอง ดวงไสว. (24 เมษายน 2560). ตามรอยประภาคารแห่งแรกของไทยรีเจ้นท์ไลท์เฮ้าส์ ของสมเด็จเจ้าพระยาบรมมหาศรีสุริยวงศ์. กรุงเทพธุรกิจ, 8.

รูปแบบ

application/pdf

ภาษา

tha

สำนักพิมพ์

มหาวิทยาลัยราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา. สำนักวิทยบริการและเทคโนโลยีสารสนเทศ

หัวเรื่อง

สมเด็จเจ้าพระยาบรมมหาศรีสุริยวงศ์.
ประภาคาร
เรือนตะเกียง
สมเด็จเจ้าพระยาบรมมหาศรีสุริยวงศ์ (ช่วง บุนนาค) -- ประวัติและผลงาน
การเดินเรือ -- ประวัติศาสตร์ -- ไทย
สถานที่สำคัญ

คอลเลกชั่น

LIGHTHOUSE somdej.pdf

สมปอง ดวงไสว, “ตามรอยประภาคารแห่งแรกของไทยรีเจ้นท์ไลท์เฮ้าส์ ของสมเด็จเจ้าพระยาบรมมหาศรีสุริยวงศ์”, มหาวิทยาลัยราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา. สำนักวิทยบริการและเทคโนโลยีสารสนเทศ, 2565-09-16, คลังข้อมูลวิจัย มหาวิทยาลัยราชภัฎบ้านสมเด็จเจ้าพระยา, accessed December 27, 2024, http://dlib.bsru.ac.th/s/research/item/2414