เล่าเรื่องการอนุรักษ์ของโบราณที่บ้านสมเด็จฯ
Item
ชื่อเรื่อง
เล่าเรื่องการอนุรักษ์ของโบราณที่บ้านสมเด็จฯ
ลิขสิทธิ์
มหาวิทยาลัยราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา
ประเภท
บทความ
ผู้แต่ง
สุดารัตน์ ชาญเลขา
วันที่
2565-9-14
รายละเอียด
คำว่า "โบราณ" ไม่จำเป็นต้องเปิดพจนานุกรมเพื่อหาความหมาย เชื่อว่าทุกคนตอบได้ โดยเฉพาะคนที่อยู่ในสถาบันการศึกษา แต่ความหมายจะเป็นเชิงบวกหรือเชิงลบนั้น มักขึ้นอยู่กับการผสมคำและความรู้สึก เช่น ของโบราณ หัวโบราณ คนโบราณ คำว่า "ของ" ยังสามารถแยกออกได้อีก ว่า "สถานที่" และ "วัตถุ" เป็นสถานที่โบราณ วัตถุโบราณ ส่วนคำว่า "หัวโบราณ" มักจะเป็นความคิดเชิงลบ ของคนหัวสมัยใหม่บางทีมีการต่อคำคล้องจองเป็น "หัวโบราณบานทะโลก" หรือ "พวกหัวโบราณ พวกเต่าล้านปี" ฟังแล้วทำให้ "คนโบราณ" แสบเข้าไปในหัวใจ คนโบราณที่ว่านั้น มักเป็นคนรุ่นเก่า หรือถ้าเป็นคนรุ่นใหม่ก็จะเป็นคนที่มีความคิด แบบเก่า ๆ เป็นพวกอนุรักษ์นิยม (Conservative) ก็อาจจะถูกเรียกว่า เป็นพวกคนโบราณ เวลาที่พูดถึงคนโบราณ มักหมายถึง คนในอดีตกาล ซึ่งหมายถึงบรรพบุรุษของ พวกเรา เพราะฉะนั้นอะไรที่โบราณ อันนั้นคือไม่ทันสมัยแล้ว คุณค่าของคำว่า "โบราณ" อยู่ที่ไหน ความรู้สึกใช่หรือไม่ ของโบราณบางอย่างไม่มีค่าเลยสำหรับ คนคนหนึ่ง แต่กลับมีค่าหาที่เปรียบมิได้กับคนอีกคนหนึ่ง คน ๒ คนนี้ถูกบ่มเพาะความรู้สึกนึกคิดที่ต่างกัน การเห็นคุณค่าของ "ของโบราณ" จึงต่างกัน
ที่มา : สุดารัตน์ ชาญเลขา. (2556). เล่าเรื่องการอนุรักษ์ของโบราณที่บ้านสมเด็จฯ. ทีทัศน์วัฒนธรรม, 12, 23-30.
ที่มา : สุดารัตน์ ชาญเลขา. (2556). เล่าเรื่องการอนุรักษ์ของโบราณที่บ้านสมเด็จฯ. ทีทัศน์วัฒนธรรม, 12, 23-30.
รูปแบบ
application/pdf
ภาษา
tha
สำนักพิมพ์
มหาวิทยาลัยราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา. สำนักวิทยบริการและเทคโนโลยีสารสนเทศ
หัวเรื่อง
บ้านเอกะนาค
ของโบราณ
มหาวิทยาลัยราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา
สถาปัตยกรรมพื้นถิ่น
คอลเลกชั่น
สุดารัตน์ ชาญเลขา, “เล่าเรื่องการอนุรักษ์ของโบราณที่บ้านสมเด็จฯ”, มหาวิทยาลัยราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา. สำนักวิทยบริการและเทคโนโลยีสารสนเทศ, 2565-9-14, คลังข้อมูลวิจัย มหาวิทยาลัยราชภัฎบ้านสมเด็จเจ้าพระยา, accessed December 27, 2024, http://dlib.bsru.ac.th/s/research/item/2404