“บางพลัด” ชื่อย่านในกรุงเทพฯ มาจากภาษามลายู แหล่งต้นกะพ้อ?
Item
ชื่อเรื่อง
“บางพลัด” ชื่อย่านในกรุงเทพฯ มาจากภาษามลายู แหล่งต้นกะพ้อ?
ประเภท
บทความ
ผู้แต่ง
กองบรรณาธิการศิลปวัฒนธรรม
วันที่
21 กุมภาพันธ์ 2567
รายละเอียด
“บางพลัด” เป็นหนึ่งในเขตของกรุงเทพมหานคร กินพื้นที่ฝั่งธนบุรี ที่มาของชื่อมีหลายข้อสันนิษฐาน บ้างก็ว่าอาจเพี้ยนมาจาก “Palas” (ปาลัส) ซึ่งเป็นภาษามลายู หมายถึงต้นกะพ้อ ชอบขึ้นในที่ลุ่ม ใบใช้ห่อขนมที่เรียกว่าข้าวต้มลูกโยน
บ้างก็ว่า มีที่มาจากตำนานเรื่องหนึ่งที่เล่าว่า ในสมัยอยุธยา ชาวบ้านส่วนหนึ่งได้อพยพหนีภัยสงครามล่องเรือมาตามแม่น้ำเจ้าพระยา ย่านคุ้งน้ำนี้ส่วนใหญ่เป็นที่สวน มีการขุดคลองและลำประโดงมากมายเพื่อชักน้ำเข้าสวน ผู้ที่ล่องเรือเข้ามาในละแวกนี้ จึงมักพลัดหลง หาทางเข้าออกไม่ถูกอยู่บ่อยครั้ง ชาวบ้านจึงเรียกย่านนี้ว่า “บางพลัด” ซึ่งหมายถึงการพลัดหลง
หรือบ้างก็ว่า บางพลัดอาจหมายถึงการพลัดถิ่นของข้าราชการและไพร่พลจากกรุงศรีอยุธยา ที่อพยพหนีภัยสงครามคราวเสียกรุง ล่องลงมาตามแม่น้ำเจ้าพระยา และมาตั้งถิ่นฐานใหม่บริเวณนี้ เนื่องจากไกลจากที่ตั้งทัพของทหารพม่า
บางพลัดปรากฏใน “นิราศภูเขาทอง” ของสุนทรภู่ ที่แต่งไว้เมื่อราว พ.ศ. 2371 ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว เมื่อคราวสุนทรภู่เดินทางไปนมัสการเจดีย์ภูเขาทองที่อยุธยา ผ่านทางแม่น้ำเจ้าพระยาว่า
ถึงบางจากจากวัดพลัดพี่น้อง มามัวหมองม้วนหน้าไม่ฝ่าฝืน
เพราะรักใครใจจืดไม่ยืดยืน จึงต้องขืนใจพรากมาจากเมือง
ถึงบางพลูคิดถึงคู่เมื่ออยู่ครอง เคยใส่ซองส่งให้ล้วนใบเหลือง
ถึงบางพลัดเหมือนพี่พลัดมาขัดเคือง ทั้งพลัดเมืองพลัดสมรมาร้อนรน
แต่ไม่ว่าจะเป็นแหล่งต้นกะพ้อ พลัดหลง หรือพลัดถิ่น ก็ยังไม่พบเอกสารระบุที่มาของชื่อบางพลัดอย่างแน่ชัด ทว่าเรื่องหนึ่งที่รู้แน่ๆ ก็คือ บางพลัดปรากฏหลักฐานมาตั้งแต่ต้นกรุงรัตนโกสินทร์ ดังนั้นจึงถือเป็นย่านเก่าแก่ย่านหนึ่งของกรุงเทพฯ
บ้างก็ว่า มีที่มาจากตำนานเรื่องหนึ่งที่เล่าว่า ในสมัยอยุธยา ชาวบ้านส่วนหนึ่งได้อพยพหนีภัยสงครามล่องเรือมาตามแม่น้ำเจ้าพระยา ย่านคุ้งน้ำนี้ส่วนใหญ่เป็นที่สวน มีการขุดคลองและลำประโดงมากมายเพื่อชักน้ำเข้าสวน ผู้ที่ล่องเรือเข้ามาในละแวกนี้ จึงมักพลัดหลง หาทางเข้าออกไม่ถูกอยู่บ่อยครั้ง ชาวบ้านจึงเรียกย่านนี้ว่า “บางพลัด” ซึ่งหมายถึงการพลัดหลง
หรือบ้างก็ว่า บางพลัดอาจหมายถึงการพลัดถิ่นของข้าราชการและไพร่พลจากกรุงศรีอยุธยา ที่อพยพหนีภัยสงครามคราวเสียกรุง ล่องลงมาตามแม่น้ำเจ้าพระยา และมาตั้งถิ่นฐานใหม่บริเวณนี้ เนื่องจากไกลจากที่ตั้งทัพของทหารพม่า
บางพลัดปรากฏใน “นิราศภูเขาทอง” ของสุนทรภู่ ที่แต่งไว้เมื่อราว พ.ศ. 2371 ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว เมื่อคราวสุนทรภู่เดินทางไปนมัสการเจดีย์ภูเขาทองที่อยุธยา ผ่านทางแม่น้ำเจ้าพระยาว่า
ถึงบางจากจากวัดพลัดพี่น้อง มามัวหมองม้วนหน้าไม่ฝ่าฝืน
เพราะรักใครใจจืดไม่ยืดยืน จึงต้องขืนใจพรากมาจากเมือง
ถึงบางพลูคิดถึงคู่เมื่ออยู่ครอง เคยใส่ซองส่งให้ล้วนใบเหลือง
ถึงบางพลัดเหมือนพี่พลัดมาขัดเคือง ทั้งพลัดเมืองพลัดสมรมาร้อนรน
แต่ไม่ว่าจะเป็นแหล่งต้นกะพ้อ พลัดหลง หรือพลัดถิ่น ก็ยังไม่พบเอกสารระบุที่มาของชื่อบางพลัดอย่างแน่ชัด ทว่าเรื่องหนึ่งที่รู้แน่ๆ ก็คือ บางพลัดปรากฏหลักฐานมาตั้งแต่ต้นกรุงรัตนโกสินทร์ ดังนั้นจึงถือเป็นย่านเก่าแก่ย่านหนึ่งของกรุงเทพฯ
ภาษา
tha
สำนักพิมพ์
มหาวิทยาลัยราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา. สำนักวิทยบริการและเทคโนโลยีสารสนเทศ
หัวเรื่อง
บางพลัด
นิราศภูเขาทอง
ต้นกะพ้อ
ชื่อบ้านนามเมือง
คอลเลกชั่น
กองบรรณาธิการศิลปวัฒนธรรม . (2567). “บางพลัด” ชื่อย่านในกรุงเทพฯ มาจากภาษามลายู แหล่งต้นกะพ้อ?. มหาวิทยาลัยราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา. สำนักวิทยบริการและเทคโนโลยีสารสนเทศ, คลังข้อมูลดิจิทัล สำนักวิทยบริการและเทคโนโลยีสารสนเทศ, accessed February 11, 2025, http://dlib.bsru.ac.th/s/library/item/3226