สมเด็จเจ้าพระยาบรมมหาศรีสุริยวงศ์ (ช่วง บุนนาค) กับเสภาขุนช้างขุนแผน
Item
ชื่อเรื่อง
สมเด็จเจ้าพระยาบรมมหาศรีสุริยวงศ์ (ช่วง บุนนาค) กับเสภาขุนช้างขุนแผน
ลิขสิทธิ์
มหาวิทยาลัยราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา
ประเภท
บทความ
ผู้แต่ง
วรวรรธน์ ศรียาภัย
วันที่
2567-03-26
รายละเอียด
Uทความนี้มุ่งหมายกล่าวถึงสิ่งทรงคุณค่าของไทยสองสิ่งสัมพันธ์กันจนก่อเกิดเป็นเกร็ดความรู้น่าสนใจอีกประการหนึ่ง นั่นคือความสัมพันธ์ระหว่างสมเด็จเจ้าพระยาบรมมหาศรีสุริยวงศ์ (ช่วง บุนนาค) มหาบุรุษรัตโนดมแห่งกรุงรัตนโกสินทร์ กับเสภาขุนช้างขุนแผน ตอนขุนแผนขึ้นเรือนขุนช้างได้นางแก้วกิริยา เสภาขุนช้างขุนแผนนั้น ถือว่าเป็นวรรณคดีเอกและวรรณคดีมรดกเรื่องหนึ่งของไทย ผู้เขียนนำเสนอเนื้อหาของบทความนี้ ๓ ประการ ตามลำดับ คือ
๑) การเดินทางข้ามบรรพกาลของเสภาขุนช้างขุนแผนและสมเด็จเจ้าพระยาฯ
๒) สมเด็จเจ้าพระยาฯ กับเสภาขุนช้างขุนแผน และ
๓) นัยแห่งเสภาขุนช้างขุนแผนต่อความพึงใจของสมเด็จเจ้าพระยาฯ
การเดินทางข้ามบรรพกาลของเสภาขุนช้างขุนแผนและสมเด็จเจ้าพระยาฯ เสภาขุนช้างขุนแผนกับสมเด็จเจ้าพระยาฯ ดังรับรู้และเข้าใจในปัจจุบัน นี้นั้น ต่างเป็นสิ่งมีมาตั้งแต่โบราณ ได้อุบัติขึ้น ดำรงอยู่ แล้วเดินทางข้ามบรรพกาล มาหลายร้อยปี กระทั่งถึงกาลสมัยปัจจุบัน เมื่อสืบสาวถึงต้นตอแท้จริงของสองสิ่งข้างต้น ก็ให้มโนภาพผุดพรายขึ้นในห้วงคิดอย่างน่าสนใจทีเดียว
สันนิษฐานกันว่าขุนช้างขุนแผน เป็นเรื่องราวเกิดขึ้นจริงในสมัยกรุงศรีอยุธยาตอนต้น สมัยสมเด็จพระรามาธิบดีที่ ๒ พระมหากษัตริย์ลำดับที่ ๑๐ ทรงครองสิริราชสมบัติในระหว่าง พ.ศ. ๒๐๓๔ - ๒๐๗๒ ช่วงแรกเป็นเรื่องปากต่อปาก เรียกว่าวรรณกรรมมุขปาฐะ ต่อมามีการแต่งและบันทึกเป็นลายลักษณ์อักษร เรียกว่าวรรณกรรมลายลักษณ์
ที่มา : วรวรรรน์ ศรียาภัย. (๒๕๖๗). สมเด็จเจ้าพระยาบรมมหาศรีสุริยวงศ์ (ช่วง บุนนาค) กับเสภาขุนช้างขุนแผน. ใน ศรีสมเด็จ ๖๗ (๖๙-๗๖). สมาคมศิษย์เก่าบ้านสมเด็จเจ้าพระยาในพระบรมชูปถัมภ์.
๑) การเดินทางข้ามบรรพกาลของเสภาขุนช้างขุนแผนและสมเด็จเจ้าพระยาฯ
๒) สมเด็จเจ้าพระยาฯ กับเสภาขุนช้างขุนแผน และ
๓) นัยแห่งเสภาขุนช้างขุนแผนต่อความพึงใจของสมเด็จเจ้าพระยาฯ
การเดินทางข้ามบรรพกาลของเสภาขุนช้างขุนแผนและสมเด็จเจ้าพระยาฯ เสภาขุนช้างขุนแผนกับสมเด็จเจ้าพระยาฯ ดังรับรู้และเข้าใจในปัจจุบัน นี้นั้น ต่างเป็นสิ่งมีมาตั้งแต่โบราณ ได้อุบัติขึ้น ดำรงอยู่ แล้วเดินทางข้ามบรรพกาล มาหลายร้อยปี กระทั่งถึงกาลสมัยปัจจุบัน เมื่อสืบสาวถึงต้นตอแท้จริงของสองสิ่งข้างต้น ก็ให้มโนภาพผุดพรายขึ้นในห้วงคิดอย่างน่าสนใจทีเดียว
สันนิษฐานกันว่าขุนช้างขุนแผน เป็นเรื่องราวเกิดขึ้นจริงในสมัยกรุงศรีอยุธยาตอนต้น สมัยสมเด็จพระรามาธิบดีที่ ๒ พระมหากษัตริย์ลำดับที่ ๑๐ ทรงครองสิริราชสมบัติในระหว่าง พ.ศ. ๒๐๓๔ - ๒๐๗๒ ช่วงแรกเป็นเรื่องปากต่อปาก เรียกว่าวรรณกรรมมุขปาฐะ ต่อมามีการแต่งและบันทึกเป็นลายลักษณ์อักษร เรียกว่าวรรณกรรมลายลักษณ์
ที่มา : วรวรรรน์ ศรียาภัย. (๒๕๖๗). สมเด็จเจ้าพระยาบรมมหาศรีสุริยวงศ์ (ช่วง บุนนาค) กับเสภาขุนช้างขุนแผน. ใน ศรีสมเด็จ ๖๗ (๖๙-๗๖). สมาคมศิษย์เก่าบ้านสมเด็จเจ้าพระยาในพระบรมชูปถัมภ์.
รูปแบบ
application/pdf
แหล่งที่มา
อ 378.593 ม246ศ 2567
ภาษา
tha
สำนักพิมพ์
มหาวิทยาลัยราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา. สำนักวิทยบริการและเทคโนโลยีสารสนเทศ
หัวเรื่อง
สมเด็จเจ้าพระยาบรมมหาศรีสุริยวงศ์ (ช่วง บุนนาค)
เสภาขุนช้างขุนแผน
บุคคลสำคัญ
คอลเลกชั่น
วรวรรธน์ ศรียาภัย .สมเด็จเจ้าพระยาบรมมหาศรีสุริยวงศ์ (ช่วง บุนนาค) กับเสภาขุนช้างขุนแผน. มหาวิทยาลัยราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา. สำนักวิทยบริการและเทคโนโลยีสารสนเทศ, คลังข้อมูลดิจิทัล สำนักวิทยบริการและเทคโนโลยีสารสนเทศ, accessed December 23, 2024, http://dlib.bsru.ac.th/s/library/item/2898