ภาษาสามเด็จเจ้าพระยา
Item
ชื่อเรื่อง
ภาษาสามเด็จเจ้าพระยา
ลิขสิทธิ์
มหาวิทยาลัยราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา
ประเภท
บทความ
ผู้แต่ง
วรวรรธน์ ศรียาภัย
วันที่
2023-03-28
รายละเอียด
ในปัจจุบันตามระบบระเบียบการบริหารราชการแผ่นดิน จะไม่มีบุคคลผู้ดำรงตำแหน่งสมเด็จเจ้าพระยาแล้ว แต่สมเด็จเจ้าพระยามิได้สูญหายไปจากสังคมไทย หรือเป็นเพียงข้อมูลที่บันทึกอยู่ในประวัติศาสตร์เท่านั้น หากยังมีบทบาทและพลังขับเคลื่อนสังคมไทยให้เคลื่อนไหวอย่างมีนัยแห่งพลวัตการพัฒนา ด้วยว่าบุคคลผู้ได้รับการยกย่องหรือแต่งตั้งให้เป็นสมเด็จเจ้าพระยานั้น จะต้องเป็นคนดีโดยเนื้อแท้ แม้กาลเวลาก็มิอาจกลืนกินหรือลบเลือนคุณงามความดีนั้นได้ สมเด็จเจ้าพระยา ท่านหนึ่งของไทย คือสมเด็จเจ้าพระยาบรมมหาศรีสุริยวงศ์ (ช่วง บุนนาค) เป็นปฐมคุรุแห่งมหาวิทยาลัยราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา แม้นท่านจะถึงแก่พิราลัย
ไปแล้ว แต่ยังมีบทบาทและพลังสำคัญในการขับเคลื่อนภารกิจของมหาวิทยาลัยราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา ในฐานะเป็นสถาบันการศึกษาระดับอุดมศึกษาแห่งหนึ่งของไทย
ด้วยความเป็นจริงที่ว่าสมเด็จเจ้าพระยานั้นยังคงดำรงอยู่เสมอ จึงเป็นที่มาของบทความเชิงวิชาการเรื่อง ภาษาสมเด็จเจ้าพระยา เพื่อให้ผู้อ่านได้รู้จักสมเด็จเจ้าพระยาในอีกมิติหนึ่ง โดยมีเนื้อหา ๒ ประเด็น คือ สมเด็จเจ้าพระยาในสังคมไทย และถ้อยคำที่ใช้เฉพาะกับสมเด็จเจ้าพระยา
สมเด็จเจ้าพระยาในสังคมไทย
คำว่า "สมเด็จ" ใช้เป็นคำนำหน้านามของชื่อบุคคลผู้มีฐานันดรศักดิ์ โดยกำเนิดหรือได้รับแต่งตั้ง อันแสดงถึงยศหรือบรรดาศักดิ์อย่างสูงของเจ้านาย พระสงฆ์ และขุนนาง เจ้านายที่มีพระนามเรียกขานขึ้นต้นว่า "สมเด็จ..." น่าจะมีจำนวน มากกว่าพระสงฆ์กับขุนนาง และพระสงฆ์ที่ขึ้นต้นนามว่า "สมเด็จ..." มีจำนวน มากกว่าขุนนาง อย่างไรก็ตาม ทั้งเจ้านายและพระสงฆ์ที่มีพระนามและนามขึ้นต้นว่า " สมเด็จ..." อาจถือเป็นเรื่องปกติธรรมดา แต่ขุนนางที่มีนามขึ้นต้นว่า "สมเด็จ. นั้น ชวนให้น่าสนใจศึกษาค้นคว้าว่า ขุนนางผู้นั้นทำความชอบสิ่งใดมา จึงมีคำว่า "สมเด็จ" เป็นคำนำหน้านาม และมีมาตั้งแต่สมัยใด มีนัยใดอยู่ในถ้อยคำ นัยที่ว่านั้น คงเป็นนัยทางการเมืองการปกครองยุคระบบศักดินาบรรดาศักดิ์น่าจะเริ่มมีมาตั้งแต่ ครั้งสมัยสุโขทัย แล้วร่างเป็นตัวบทกฎหมายในสมัยสมเด็จพระรามาธิบดีที่ ๑ แห่ง กรุงศรีอยุธยา ครั้นถึงสมัยสมเด็จพระบรมไตรโลกนาถ ได้ทรงวางระเบียบกฏเกณฑ์ ให้ระบบศักดินามั่นคงขึ้น ใน พ.ศ. ๑๙๙๘ มีการตรากฎหมายเกี่ยวกับศักดินาเรียกว่า "พระอัยการตำแหน่งนาพลเรือน - นาทหารหัวเมือง" ทรงพระราชทานชื่อขุนนาง
ตำแหน่งนา โดยให้ทหารเป็นสมุหพระกลาโหม พลเรือนเป็นสมุหนายก ขุนเมือง
เป็นพระนครบาล ขุนวังเป็นพระธรรมาธิกรณ์ ขุนนาเป็นพระเกษตร และขุนคลัง เป็นพระโกษาธิบดี ให้ถือศักดิ์นาหมื่น ในสมัยโบราณมียศขุนนาง ๙ ชั้น เรียงลำดับจากยศสูงสุดไปยังยศต่ำสุด
ดังนี้...
ที่มา : วรวรรธน์ ศรียาภัย. (๒๕๖๓). ภาษาสามเด็จเจ้าพระยา.ใน ศรีสมเด็จ ๖๓ (๘๐-๘๔). สมาคมศิษย์เก่าบ้านสมเด็จเจ้าพระยาในพระบรมชูปถัมภ์.
ไปแล้ว แต่ยังมีบทบาทและพลังสำคัญในการขับเคลื่อนภารกิจของมหาวิทยาลัยราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา ในฐานะเป็นสถาบันการศึกษาระดับอุดมศึกษาแห่งหนึ่งของไทย
ด้วยความเป็นจริงที่ว่าสมเด็จเจ้าพระยานั้นยังคงดำรงอยู่เสมอ จึงเป็นที่มาของบทความเชิงวิชาการเรื่อง ภาษาสมเด็จเจ้าพระยา เพื่อให้ผู้อ่านได้รู้จักสมเด็จเจ้าพระยาในอีกมิติหนึ่ง โดยมีเนื้อหา ๒ ประเด็น คือ สมเด็จเจ้าพระยาในสังคมไทย และถ้อยคำที่ใช้เฉพาะกับสมเด็จเจ้าพระยา
สมเด็จเจ้าพระยาในสังคมไทย
คำว่า "สมเด็จ" ใช้เป็นคำนำหน้านามของชื่อบุคคลผู้มีฐานันดรศักดิ์ โดยกำเนิดหรือได้รับแต่งตั้ง อันแสดงถึงยศหรือบรรดาศักดิ์อย่างสูงของเจ้านาย พระสงฆ์ และขุนนาง เจ้านายที่มีพระนามเรียกขานขึ้นต้นว่า "สมเด็จ..." น่าจะมีจำนวน มากกว่าพระสงฆ์กับขุนนาง และพระสงฆ์ที่ขึ้นต้นนามว่า "สมเด็จ..." มีจำนวน มากกว่าขุนนาง อย่างไรก็ตาม ทั้งเจ้านายและพระสงฆ์ที่มีพระนามและนามขึ้นต้นว่า " สมเด็จ..." อาจถือเป็นเรื่องปกติธรรมดา แต่ขุนนางที่มีนามขึ้นต้นว่า "สมเด็จ. นั้น ชวนให้น่าสนใจศึกษาค้นคว้าว่า ขุนนางผู้นั้นทำความชอบสิ่งใดมา จึงมีคำว่า "สมเด็จ" เป็นคำนำหน้านาม และมีมาตั้งแต่สมัยใด มีนัยใดอยู่ในถ้อยคำ นัยที่ว่านั้น คงเป็นนัยทางการเมืองการปกครองยุคระบบศักดินาบรรดาศักดิ์น่าจะเริ่มมีมาตั้งแต่ ครั้งสมัยสุโขทัย แล้วร่างเป็นตัวบทกฎหมายในสมัยสมเด็จพระรามาธิบดีที่ ๑ แห่ง กรุงศรีอยุธยา ครั้นถึงสมัยสมเด็จพระบรมไตรโลกนาถ ได้ทรงวางระเบียบกฏเกณฑ์ ให้ระบบศักดินามั่นคงขึ้น ใน พ.ศ. ๑๙๙๘ มีการตรากฎหมายเกี่ยวกับศักดินาเรียกว่า "พระอัยการตำแหน่งนาพลเรือน - นาทหารหัวเมือง" ทรงพระราชทานชื่อขุนนาง
ตำแหน่งนา โดยให้ทหารเป็นสมุหพระกลาโหม พลเรือนเป็นสมุหนายก ขุนเมือง
เป็นพระนครบาล ขุนวังเป็นพระธรรมาธิกรณ์ ขุนนาเป็นพระเกษตร และขุนคลัง เป็นพระโกษาธิบดี ให้ถือศักดิ์นาหมื่น ในสมัยโบราณมียศขุนนาง ๙ ชั้น เรียงลำดับจากยศสูงสุดไปยังยศต่ำสุด
ดังนี้...
ที่มา : วรวรรธน์ ศรียาภัย. (๒๕๖๓). ภาษาสามเด็จเจ้าพระยา.ใน ศรีสมเด็จ ๖๓ (๘๐-๘๔). สมาคมศิษย์เก่าบ้านสมเด็จเจ้าพระยาในพระบรมชูปถัมภ์.
รูปแบบ
application/pdf
แหล่งที่มา
อ 378.593 ม246ศ 2563
ภาษา
tha
สำนักพิมพ์
มหาวิทยาลัยราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา สำนักวิทยบริการและเทคโนโลยีสารสนเทศ
หัวเรื่อง
บรมมหาศรีสุริยวงศ์, สมเด็จเจ้าพระยา, 2351-2425
บุคคลสำคัญ
คอลเลกชั่น
วรวรรธน์ ศรียาภัย .ภาษาสามเด็จเจ้าพระยา. มหาวิทยาลัยราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา สำนักวิทยบริการและเทคโนโลยีสารสนเทศ, คลังข้อมูลดิจิทัล สำนักวิทยบริการและเทคโนโลยีสารสนเทศ, accessed December 23, 2024, http://dlib.bsru.ac.th/s/library/item/2646