ศาลเจ้าซำไนเก็ง
Item
ชื่อเรื่อง
ศาลเจ้าซำไนเก็ง
วันที่
2566-02-09
รายละเอียด
ศาลเจ้าซำไนเก็ง เป็นศาสนสถานของชาวจีนฮากกา (จีนแคะ) ที่เก่าแก่แห่งหนึ่ง ตั้งอยู่ริมถนนท่าดินแดงย่านคลองสาน ประวัติการก่อสร้างศาลเจ้าแห่งนี้สันนิษฐาน ว่าสร้างขึ้นโดยกลุ่มชาวฮากกาที่เดินทาง เข้ามาตั้งหลักแหล่งทำการค้าตั้งแต่สมัยต้น รัตนโกสินทร์ บริเวณริม แม่น้ำเจ้าพระยา แถบท่าดินแดงในปัจจุบัน ตัวอาคารศาลเจ้าหลังแรก สร้างขึ้นในสมัยรัชกาลที่ ๓ ดังมีจารึกอยู่ ที่ระฆังโบราณที่แขวนอยู่จนถึงปัจจุบันว่า ตรงกับศักราชที่ ๒๗ ของจักรพรรดิเต้ากวงฮ่องเต้ แห่งราชวงศ์ชิง หรือตรงกับ เชื่อว่า ช่วงพุทธศักราช ๒๓๙- ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว แต่เดิมนั้นตัวศาลแห่งแรกเข้าใจว่าคงยังไม่มีขนาดใหญ่โตมากนัก
ตั้งอยู่ริมแม่น้ำเจ้าพระยาใกล้เคียง กับบริเวณท่าเรือท่าดินแดงในปัจจุบัน ดังมีบันทึกในอดีตกว่า ๑๐๑ ปีมาแล้ว เคยมีชุมชนชาวจีนแคะขนาดใหญ่ ตั้งบ้านเรือนอยู่อาศัยตามริมคลองที่แยกจากแม่น้ำเจ้าพระยาในแถบนั้น ซึงเรียกกันว่าคลองแคะ (ลำคลองใน อดีตแยกจากแม่น้ำเจ้าพระยาบริเวณเหนือท่น้ำท่ดินแดง เป็นคลองขนาดไม่ใหญ่มากนัก ปัจจุบันถูกถมหมด แล้วสร้างเป็นโกดังสินค้าและอาคารพาณิชย์) ต่อมาเมื่อเริ่มมีการตัดถนนท่าดินแดงในปลายสมัยรัชกาลที่ ๖ ชุมชนชาวฮากกาคงจะขยับถอยร่นเข้ามาห่างจากแม่น้ำมากขึ้น จึงมีการย้ายตัวศาลเจ้าเดิมมาสร้างขึ้นใหมในที่ ปัจจุบันตั้งแต่ตอนนั้น อาคารศาลเจ้าหลังปัจจุบันเป็นสถาปัตยกรรมแบบจีนโบราณและได้รับการบูรณะปรับปรุงตามยุค สมัยมาหลายครั้ง ตัวศาลมีขนาดค่อนข้างใหญ่ ภายในสุดประดิษฐานเจ้าแม่สามองค์ซึ่งถือเป็นเทพประธานของ ศาลเจ้าแห่งนี้มีพระนามว่า ๑.เฉินฟูเหยิน ๒.หลินฟูเหยิน และ ๓.หลี่ฟูเหยิน ทั้งสามองค์นี้ชาวจีนมักเรียกรวมกันว่า "ซำไนฮูหยิน"
ซึ่งประวัติของทั้งสามท่านเป็นบุคคลที่มีชีวิตอยู่ในช่วงสมัยราชวงศ์ถังของจีนเมื่อพันกว่าปีมาแล้ว เป็นพี่น้องร่วมสาบานและ เป็นศิษย์ร่วมสำนักของอาจารย์โค้วจิงยิ้ง แห่งเขาหลื่อชัว มีกฤดาภินิหารต่าง ๆ มากมาย ตอนที่ท่านยังมีชีวิตอยู่เป็นที่นับถือของ ประชาชนอย่างมาก ในภายหลังเมื่อเสียชีวิตลงไปแล้วได้รับการยกย่องขึ้นเป็นผู้วิเศษ มีการตั้งศาลกราบไหว้อยู่ทั่วไปทั้งในแถบ
มณฑลฮกเกี้ยนและเกาะไต้หวัน ซึ่งมีชาวฮากกาอาศัยอยู่ค่อนข้างมาก เมื่อชาวฮากกาเดินทางมายังประเทศไทย จึงนำเอาความศรัทธาและความเชื่อมาบูชาตั้งศาลกราบไหว้ ณ ที่แห่ง
นี้ด้วย โดยส่วนใหญ่จะขอพรในเรื่องป้องกันอันตรายและปกป้องคุ้มครองสตรีที่ใกล้จะคลอดบุตรซึ่งเป็นความเชื่อมาแต่โบราณ
ที่มา : สำนักงานเขตคลองสาน. (๒๕๕๔).ศาลเจ้าซำไนเก็ง . ใน สมโภช ๑๐๐ ปี เขตคลองสาน. (น. ๘๔- ๘๕). ม.ป.พ.
ตั้งอยู่ริมแม่น้ำเจ้าพระยาใกล้เคียง กับบริเวณท่าเรือท่าดินแดงในปัจจุบัน ดังมีบันทึกในอดีตกว่า ๑๐๑ ปีมาแล้ว เคยมีชุมชนชาวจีนแคะขนาดใหญ่ ตั้งบ้านเรือนอยู่อาศัยตามริมคลองที่แยกจากแม่น้ำเจ้าพระยาในแถบนั้น ซึงเรียกกันว่าคลองแคะ (ลำคลองใน อดีตแยกจากแม่น้ำเจ้าพระยาบริเวณเหนือท่น้ำท่ดินแดง เป็นคลองขนาดไม่ใหญ่มากนัก ปัจจุบันถูกถมหมด แล้วสร้างเป็นโกดังสินค้าและอาคารพาณิชย์) ต่อมาเมื่อเริ่มมีการตัดถนนท่าดินแดงในปลายสมัยรัชกาลที่ ๖ ชุมชนชาวฮากกาคงจะขยับถอยร่นเข้ามาห่างจากแม่น้ำมากขึ้น จึงมีการย้ายตัวศาลเจ้าเดิมมาสร้างขึ้นใหมในที่ ปัจจุบันตั้งแต่ตอนนั้น อาคารศาลเจ้าหลังปัจจุบันเป็นสถาปัตยกรรมแบบจีนโบราณและได้รับการบูรณะปรับปรุงตามยุค สมัยมาหลายครั้ง ตัวศาลมีขนาดค่อนข้างใหญ่ ภายในสุดประดิษฐานเจ้าแม่สามองค์ซึ่งถือเป็นเทพประธานของ ศาลเจ้าแห่งนี้มีพระนามว่า ๑.เฉินฟูเหยิน ๒.หลินฟูเหยิน และ ๓.หลี่ฟูเหยิน ทั้งสามองค์นี้ชาวจีนมักเรียกรวมกันว่า "ซำไนฮูหยิน"
ซึ่งประวัติของทั้งสามท่านเป็นบุคคลที่มีชีวิตอยู่ในช่วงสมัยราชวงศ์ถังของจีนเมื่อพันกว่าปีมาแล้ว เป็นพี่น้องร่วมสาบานและ เป็นศิษย์ร่วมสำนักของอาจารย์โค้วจิงยิ้ง แห่งเขาหลื่อชัว มีกฤดาภินิหารต่าง ๆ มากมาย ตอนที่ท่านยังมีชีวิตอยู่เป็นที่นับถือของ ประชาชนอย่างมาก ในภายหลังเมื่อเสียชีวิตลงไปแล้วได้รับการยกย่องขึ้นเป็นผู้วิเศษ มีการตั้งศาลกราบไหว้อยู่ทั่วไปทั้งในแถบ
มณฑลฮกเกี้ยนและเกาะไต้หวัน ซึ่งมีชาวฮากกาอาศัยอยู่ค่อนข้างมาก เมื่อชาวฮากกาเดินทางมายังประเทศไทย จึงนำเอาความศรัทธาและความเชื่อมาบูชาตั้งศาลกราบไหว้ ณ ที่แห่ง
นี้ด้วย โดยส่วนใหญ่จะขอพรในเรื่องป้องกันอันตรายและปกป้องคุ้มครองสตรีที่ใกล้จะคลอดบุตรซึ่งเป็นความเชื่อมาแต่โบราณ
ที่มา : สำนักงานเขตคลองสาน. (๒๕๕๔).ศาลเจ้าซำไนเก็ง . ใน สมโภช ๑๐๐ ปี เขตคลองสาน. (น. ๘๔- ๘๕). ม.ป.พ.
รูปแบบ
application/pdf
ภาษา
tha
สำนักพิมพ์
มหาวิทยาลัยราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา สำนักวิทยบริการและเทคโนโลยีสารสนเทศ
หัวเรื่อง
ศาลเจ้าซำไนเก็ง
ศาลเจ้า
ชาวจีน -- ความเป็นอยู่และประเพณี
คอลเลกชั่น
ศาลเจ้าซำไนเก็ง. มหาวิทยาลัยราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา สำนักวิทยบริการและเทคโนโลยีสารสนเทศ, คลังข้อมูลดิจิทัล สำนักวิทยบริการและเทคโนโลยีสารสนเทศ, accessed December 23, 2024, http://dlib.bsru.ac.th/s/library/item/2609