ศาลเจ้ากวนอันเกงริมแม่น้ำเจ้าพระยา
Item
ชื่อเรื่อง
ศาลเจ้ากวนอันเกงริมแม่น้ำเจ้าพระยา
ผู้แต่ง
สำนักงานเขตธนบุรี
วันที่
2566-02-06
รายละเอียด
ประวัติศาลเจ้ากวนอันเกงแต่ดั้งเดิมนั้นไม่ปรากฏเป็นลายลักษณ์อักษร สืบทอดกันมาจากผู้ใหญ่
กล่าวกันว่าเป็นศาลเจ้าที่สร้างขึ้นโดยคนจีนที่ตามเสด็จพระเจ้าตากสินมหาราช มาตั้งถิ่นฐานอยู่ปากคลองบางหลวง หรือคลองบางกอกใหญ่ทางฝั่งตะวันออก เมื่อคราวที่พระองค์ทรงสถาปนากรุงธนบุรีขึ้นเป็นราชธานี ครั้นต่อมาเมื่อพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช ทรงย้ายพระนครหลวง ไปตั้งยังฝั่งพระนคร คนจีนเหล่านี้ได้อพยพไปตั้งถิ่นฐานอยู่ที่ฝั่งพระนครบริเวณตลาดน้อยมาจนจรด สำเพ็ง ศาลเจ้าที่สร้างในสมัยนั้นมีอยู่สองศาล ที่ตั้งอยู่ใกล้เคียงกัน จะมีชื่อว่ากะไรไม่ปรากฏ ศาลหนึ่งประดิษฐานเจ้าพ่อโจวซือกง ส่วนอีกศาลนั้นประดิษฐานเจ้าพ่อกวนอู่ เมื่อคนจีนย้ายไปอยู่ฝั่งพระนครแล้ว ศาลเจ้าทั้งสองศาลนี้ก็ถูกทอดทิ้งชำรุดทรุดโทรม ครั้นเมื่อเจ้าพระยานิกรบดินทร เจ้าสัวโต ต้นสกุลกัลยาณมิตร อุทิศที่บ้านกับซื้อที่ดินเพิ่มเติมเพื่อสร้างวัดกัลยาณมิตร เมื่อ พ.ศ.๒๓๖๘ ซึ่งเป็นปีที่ ๒ ในรัชกาลพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว รัลกาลที่ ๓ ชาวจีนจากมณฑลฮกเกี้ยน ตำบลเจียงจิว และจัวจิว ซึ่งเป็นบรรพบุรุษของ สกุลตันติเวชกุล และสกุลสิมะเสถียร ได้เดินทางมากราบไหว้ที่ศาลเจ้าทั้งสองนี้ ครั้นแลเห็นชำรุดทรุดโทรมหนักก็ไม่คิดจะซ่อมแซม แต่ได้ร่วมกันรื้อศาลเจ้าทั้งสองแต่เดิมนั้นลง แล้วสร้างศาลเจ้าใหม่ ในที่เดิมเป็นศาลเดียว แต่จะอัญเชิญเจ้าพ่อ โจวซือกง และเจ้าพ่อกวนอู ไปประดิษฐานที่ใดไม่ปรากฏ ส่วนศาลเจ้าที่สร้างใหม่ ได้เปลี่ยนองค์ประธานเป็น
เจ้าแม่กวนอิม และชื่อศาลเจ้าแห่งนี้ เป็นชื่อที่ใช้สืบต่อกันมาจนปัจจุบัน "ศาลเจ้ากวนอันเกง"
ที่มา : สำนักงานเขตธนบุรี . (๒๕๕๕). ธนบุรีไกด์: คู่มือแนะนำแหล่งท่องเที่ยว เขตธนบุรี. (น.๑๑๔-๑๑๗). โรงพิมพ์มหาวิทยาลัยจุฬาลงกรณ์ราชวิทยาลัย.
กล่าวกันว่าเป็นศาลเจ้าที่สร้างขึ้นโดยคนจีนที่ตามเสด็จพระเจ้าตากสินมหาราช มาตั้งถิ่นฐานอยู่ปากคลองบางหลวง หรือคลองบางกอกใหญ่ทางฝั่งตะวันออก เมื่อคราวที่พระองค์ทรงสถาปนากรุงธนบุรีขึ้นเป็นราชธานี ครั้นต่อมาเมื่อพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช ทรงย้ายพระนครหลวง ไปตั้งยังฝั่งพระนคร คนจีนเหล่านี้ได้อพยพไปตั้งถิ่นฐานอยู่ที่ฝั่งพระนครบริเวณตลาดน้อยมาจนจรด สำเพ็ง ศาลเจ้าที่สร้างในสมัยนั้นมีอยู่สองศาล ที่ตั้งอยู่ใกล้เคียงกัน จะมีชื่อว่ากะไรไม่ปรากฏ ศาลหนึ่งประดิษฐานเจ้าพ่อโจวซือกง ส่วนอีกศาลนั้นประดิษฐานเจ้าพ่อกวนอู่ เมื่อคนจีนย้ายไปอยู่ฝั่งพระนครแล้ว ศาลเจ้าทั้งสองศาลนี้ก็ถูกทอดทิ้งชำรุดทรุดโทรม ครั้นเมื่อเจ้าพระยานิกรบดินทร เจ้าสัวโต ต้นสกุลกัลยาณมิตร อุทิศที่บ้านกับซื้อที่ดินเพิ่มเติมเพื่อสร้างวัดกัลยาณมิตร เมื่อ พ.ศ.๒๓๖๘ ซึ่งเป็นปีที่ ๒ ในรัชกาลพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว รัลกาลที่ ๓ ชาวจีนจากมณฑลฮกเกี้ยน ตำบลเจียงจิว และจัวจิว ซึ่งเป็นบรรพบุรุษของ สกุลตันติเวชกุล และสกุลสิมะเสถียร ได้เดินทางมากราบไหว้ที่ศาลเจ้าทั้งสองนี้ ครั้นแลเห็นชำรุดทรุดโทรมหนักก็ไม่คิดจะซ่อมแซม แต่ได้ร่วมกันรื้อศาลเจ้าทั้งสองแต่เดิมนั้นลง แล้วสร้างศาลเจ้าใหม่ ในที่เดิมเป็นศาลเดียว แต่จะอัญเชิญเจ้าพ่อ โจวซือกง และเจ้าพ่อกวนอู ไปประดิษฐานที่ใดไม่ปรากฏ ส่วนศาลเจ้าที่สร้างใหม่ ได้เปลี่ยนองค์ประธานเป็น
เจ้าแม่กวนอิม และชื่อศาลเจ้าแห่งนี้ เป็นชื่อที่ใช้สืบต่อกันมาจนปัจจุบัน "ศาลเจ้ากวนอันเกง"
ที่มา : สำนักงานเขตธนบุรี . (๒๕๕๕). ธนบุรีไกด์: คู่มือแนะนำแหล่งท่องเที่ยว เขตธนบุรี. (น.๑๑๔-๑๑๗). โรงพิมพ์มหาวิทยาลัยจุฬาลงกรณ์ราชวิทยาลัย.
รูปแบบ
application/pdf
แหล่งที่มา
915.9304 ส691ธ 2555
ภาษา
tha
สำนักพิมพ์
มหาวิทยาลัยราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา สำนักวิทยบริการและเทคโนโลยีสารสนเทศ
หัวเรื่อง
ศาลเจ้ากวนอันเกง
ชาวจีน -- ความเป็นอยู่และประเพณี
ศาลเจ้า
คอลเลกชั่น
สำนักงานเขตธนบุรี .ศาลเจ้ากวนอันเกงริมแม่น้ำเจ้าพระยา. มหาวิทยาลัยราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา สำนักวิทยบริการและเทคโนโลยีสารสนเทศ, คลังข้อมูลดิจิทัล สำนักวิทยบริการและเทคโนโลยีสารสนเทศ, accessed December 23, 2024, http://dlib.bsru.ac.th/s/library/item/2597