ประสิทธิผลของ "กิจกรรมครอบครัวสานฝัน" สำหรับเด็ก : กรณีศึกษาชุมชนบ้านท่าสะเเบง ตำบลมะบ้า อำเภอทุ่งเขาหลวง จังหวัดร้อยเอ็ด
Item
ชื่อเรือง
ประสิทธิผลของ "กิจกรรมครอบครัวสานฝัน" สำหรับเด็ก : กรณีศึกษาชุมชนบ้านท่าสะเเบง ตำบลมะบ้า อำเภอทุ่งเขาหลวง จังหวัดร้อยเอ็ด
ชื่อเรื่องรอง
), The Effectiveness of “Dream Weaving Family Activity” for children : case study of Thasabang Community, Tambon Mabaa, Thungkhaoluong District, Roi-et Province
ผู้แต่ง
สุภาพร สิงหาเทพ
หัวเรื่อง
ความสัมพันธ์ในครอบครัว
ครอบครัว
รายละเอียดอื่นๆ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาประสิทธิผลของกิจกรรม “ครอบครัวสานฝัน” สำหรับเด็ก : กรณีศึกษาชุมชน บ้านท่าสะแบง”สำหรับเด็ก : กรณีศึกษาชุมชนบ้านท่าสะแบง กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้คือ ผู้ปกครองเด็ก อายุ 7-12 ปี ที่อาศัยอยู่ในชุมชนบ้านท่าสะแบง ตำบลมะบ้า อำเภอทุ่งเขาหลวง จังหวัดร้อยเอ็ด ซึ่งร่วมในโครงการพัฒนาขีดความสามารถ ทางการศึกษาเด็ก ด้วยกิจกรรม “ครอบครัวสานฝัน” ซึ่งมาจาการเลือกแบบเจาะจง ผู้วิจัยได้ให้ผู้ปกครองตอบแบบสอบถาม ก่อน และหลังการทอลองกิจกรรม “ครอบครัวสานฝัน”
การวิเคราะห์ข้อมูล วิเคราะห์ด้วยสถิติเชิงพรรณนา นำเสนอด้วยตารางประกอบการอธิบายและใช้สถิติทางสังคมศาสตร์ SPSS ประกอบด้วย ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน เพื่ออธิบายระดับความสัมพันธ์ในครอบครัว ก่อนการทดลอง และหลังการทดลอง และใช้สถิติที (t-test) ในการทดสอบสมมติฐาน เพื่อเปรียบเทียบระดับความสัมพันธ์ในครอบครัวก่อน และหลังการทดลอง
ผลการวิจัยพบว่า
1. ความสัมพันธ์ในครอบครัวหลังการทดลองกิจกรรม “ครอบครัวสานฝัน” สำหรับเด็กด้านการชื่อชมและให้กำลังใจแก่บุตรและการมีส่วนร่วมในกิจกรรมของบุตรอยู่ในระดับมากที่สุด ส่วนในด้านความรักและความผูกพัน ด้านความใกล้ชิด ละด้านการให้เวลาเอาใจใส่ต่อบุตรอยู่ในระดับมาก
2. ประสิทธิผลของกิจกรรม “ครอบครัวสานฝัน” สำหรับเด็ก ภายหลังการทดลองสูงกว่าก่อนการทดลอง อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01
3. ผลจาการสังเกต พบว่า เมื่อผู้ปกครองกับเด็กมีความใกล้ชิด และทำกิจกรรมกับเด็กแสดงความสนใจ และความรักความอบอุ่นต่อเด็ก ซึ่งแสดงถึงสัมพันธ์ภาพที่ดีในครอบครัว ทำให้เด็กแสดงพฤติกรรมออกมาในทางที่ดีขึ้น เช่น ตั้งใจทำงานที่ได้รับมอบหมาย มีความรับผิดชอบ เป็นต้น
ข้อเสนอแนะจาการวิจัยครั้งนี้คือ ผู้ปกครองควรพัฒนาความสัมพันธ์ภายในครอบครัวให้ดีขึ้นและปฏิบัติอย่างสม่ำเสมอ ให้ความรัก ความอบอุ่น ให้การดูแลเอาใจใส่เด็ก และปรับปรุงวิธีการ อบรมเลี้ยงดู เช่นลดการใช้ความรุนแรงกับเด็ก เพื่อให้เด็กเติบโตเป็นคนดีมีคุณภาพแก่ครอบครัว สังคม และประเทศชาติต่อไป
การวิเคราะห์ข้อมูล วิเคราะห์ด้วยสถิติเชิงพรรณนา นำเสนอด้วยตารางประกอบการอธิบายและใช้สถิติทางสังคมศาสตร์ SPSS ประกอบด้วย ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน เพื่ออธิบายระดับความสัมพันธ์ในครอบครัว ก่อนการทดลอง และหลังการทดลอง และใช้สถิติที (t-test) ในการทดสอบสมมติฐาน เพื่อเปรียบเทียบระดับความสัมพันธ์ในครอบครัวก่อน และหลังการทดลอง
ผลการวิจัยพบว่า
1. ความสัมพันธ์ในครอบครัวหลังการทดลองกิจกรรม “ครอบครัวสานฝัน” สำหรับเด็กด้านการชื่อชมและให้กำลังใจแก่บุตรและการมีส่วนร่วมในกิจกรรมของบุตรอยู่ในระดับมากที่สุด ส่วนในด้านความรักและความผูกพัน ด้านความใกล้ชิด ละด้านการให้เวลาเอาใจใส่ต่อบุตรอยู่ในระดับมาก
2. ประสิทธิผลของกิจกรรม “ครอบครัวสานฝัน” สำหรับเด็ก ภายหลังการทดลองสูงกว่าก่อนการทดลอง อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01
3. ผลจาการสังเกต พบว่า เมื่อผู้ปกครองกับเด็กมีความใกล้ชิด และทำกิจกรรมกับเด็กแสดงความสนใจ และความรักความอบอุ่นต่อเด็ก ซึ่งแสดงถึงสัมพันธ์ภาพที่ดีในครอบครัว ทำให้เด็กแสดงพฤติกรรมออกมาในทางที่ดีขึ้น เช่น ตั้งใจทำงานที่ได้รับมอบหมาย มีความรับผิดชอบ เป็นต้น
ข้อเสนอแนะจาการวิจัยครั้งนี้คือ ผู้ปกครองควรพัฒนาความสัมพันธ์ภายในครอบครัวให้ดีขึ้นและปฏิบัติอย่างสม่ำเสมอ ให้ความรัก ความอบอุ่น ให้การดูแลเอาใจใส่เด็ก และปรับปรุงวิธีการ อบรมเลี้ยงดู เช่นลดการใช้ความรุนแรงกับเด็ก เพื่อให้เด็กเติบโตเป็นคนดีมีคุณภาพแก่ครอบครัว สังคม และประเทศชาติต่อไป
บทคัดย่อ
This research aims to study the effectiveness of Children on “Dream Weaving Family activity” of Ban Thasabang Community. The sample group consists of parents of 7-12 years old children who lives in Ban Thasabang, Tambon Mabaa, Thungkhaoluong District, Roi – et Province, and under child education enhancement projrct entitled “Dream Weaving Family Activity”, total 10 families, selected by purposive sampling. Data was collected by parents questionnaire before and after the implementation of “Dream Weaving Family Activity”
Data analysis used descriptive statistic presented with a table and used SOSS that consists of means and standard deviation to explain family relationship both pre and post implement and used t-test for hypothesis testing to compares of family relationship pre and post implement.
Research results found that :
1) family relationship post implement of “Dream Weaving Family Activity” average on admiration, spirit support giving and child activity participation aspects were in highest level while relatedness, aspect closeness aspect chilf care aspect were in high level.
2) “Dream Weaving Family Activity” effectiveness post implement found higher than pre implement with statistic significance at .01.
3) Oservation result found that once parents were closed to their children, participate in child activity, paid much attention, gland gave love and care to children, which mean good relationship in the family, the children will express of good behaviours such as intention to work assigned, with responsibility, etc.
Recommendation from this research were : parents should improve family relationship and practice consistently, should provide love and warm in child care, and should improve fostering pattern, such as reduce of violent when dealing with their child will be a good quality member of the family, society and finally the country once they grown up.
Data analysis used descriptive statistic presented with a table and used SOSS that consists of means and standard deviation to explain family relationship both pre and post implement and used t-test for hypothesis testing to compares of family relationship pre and post implement.
Research results found that :
1) family relationship post implement of “Dream Weaving Family Activity” average on admiration, spirit support giving and child activity participation aspects were in highest level while relatedness, aspect closeness aspect chilf care aspect were in high level.
2) “Dream Weaving Family Activity” effectiveness post implement found higher than pre implement with statistic significance at .01.
3) Oservation result found that once parents were closed to their children, participate in child activity, paid much attention, gland gave love and care to children, which mean good relationship in the family, the children will express of good behaviours such as intention to work assigned, with responsibility, etc.
Recommendation from this research were : parents should improve family relationship and practice consistently, should provide love and warm in child care, and should improve fostering pattern, such as reduce of violent when dealing with their child will be a good quality member of the family, society and finally the country once they grown up.
ผู้จัดพิมพ์/สำนักพิมพ์
มหาวิทยาลัยราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา สำนักวิทยบริการและเทคโนโลยีสารสนเทศ
ผู้ร่วมสร้างรรค์ ผู้ร่วมงาน
จันทร์วิภา ดิลกสัมพันธ์
สุพิศวง ธรรมพันทา
หรรษา ศิวรักษ์
วันที่ ปีที่จัดพิมพ์
2566-01-23
วันที่ผลิต วันที่จัดทำ
2566-01-23
วันที่ปรับปรุงข้อมูล
2566-01-23
วันที่เผยแพร่
2566-01-23
ประเภท
thesis
รูปแบบ
application/pdf
แหล่งที่มา
วน 306.85 ส838ป 2550
ภาษา
tha
ลิขสิทธิ์
มหาวิทยาลัยราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา
Degree (name, level, descipline, grantor)
ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต
ปริญญาโท
สังคมศาสตร์เพื่อการพัฒนา
มหาวิทยาลัยราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา
สุภาพร สิงหาเทพ .ประสิทธิผลของ "กิจกรรมครอบครัวสานฝัน" สำหรับเด็ก : กรณีศึกษาชุมชนบ้านท่าสะเเบง ตำบลมะบ้า อำเภอทุ่งเขาหลวง จังหวัดร้อยเอ็ด. มหาวิทยาลัยราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา สำนักวิทยบริการและเทคโนโลยีสารสนเทศ, คลังข้อมูลดิจิทัล สำนักวิทยบริการและเทคโนโลยีสารสนเทศ, accessed December 25, 2024, http://dlib.bsru.ac.th/s/library/item/2583