มัสยิดต้นสน
Item
ชื่อเรื่อง
มัสยิดต้นสน
วันที่
2565-11-07
รายละเอียด
ประวัติความเป็นมา มัสยิดต้นสน
กล่าวถึงกรุงธนบุรีในฐานะของราชธานีแห่งราชอาณาจักรสยามนั้น ความสำคัญในฐานะของการเป็นรอยต่อทางประวัติศาสตร์ระหว่างพระนครศรีอยุธยาและกรุงรัตนโกสินทร์ ดังนั้นกรุงธนบุรีจึงเป็นแหล่งรวบรวมของวัฒนธรรมประเพณีอันหลากหลายจากกลุ่มชนต่างชาติต่างภาษาและต่างวัฒนธรรมที่มารวมตัวกันในสมัยที่สมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราชทรงกอบกู้เอกราชของชาติในปี พ.ศ. ๒๓๑๐ ในบรรดากลุ่มชนต่างชาติ ศาสนาและวัฒนธรรมที่มารวมตัวกันในกรุงธนบุรีครั้งนั้น ชาวไทยมุสลิมเป็นกลุ่มชนหนึ่งที่มีความสำคัญทั้งทางด้านประวัติศาสตร์ วัฒนธรรมและจารีตประเพณีอันมีเอกลักษณ์เฉพาะของตน โดยเฉพาะอย่างยิ่งชาวไทยมุสลิมกลุ่มที่รวมตัวกันอยู่บริเวณปากคลองบางหลวงหรือคลองบางกอกใหญ่ต่ำจากพระราชวังเดิมลงมา ซึ่งก่อร่างชุมชนมาพร้อม ๆ กับการตั้งเมืองบางกอกในอดีตและดำรงวัฒนธรรมกลุ่มชนของตนสืบต่อเนื่องมาจวบจนปัจจุบัน จึงทำให้ประวัติของชาวไทยมุสลิมกลุ่มนี้มีความเป็นมายาวนานร่วม ๔๐๐ ปี โดยมีศาสนสถานที่เรียกว่า“มัสยิดตันสน”หรือ“กะดีใหญ่”ในอดีตเป็นศูนย์กลางของจิตวิญญาณที่บอกเล่าเรื่องราวความเป็นมาได้เป็นอย่างดี
ประวัติของชุมชน “มัสยิดต้นสน” นั้นมีความเป็นมาโดยสันนิษฐานว่าแต่แรกน่าจะเป็นการรวมตัวของมุสลิมเชื้อสายจามที่เข้ามาเป็นกองอาสาต่างชาติในสมัยสมเด็จพระชัย ราชาธิราช(พ.ศ.๒๐๗๗–๒๑๑๑) ซึ่งเป็นช่วงของการเกณฑ์แรงงานอาสาต่างชาติเพื่อการศึกสงครามและบูรณประเทศ โดยเฉพาะการขุดคลองลัดบางกอกในปีพุทธศักราช ๒๐๘๕ เพื่อเชื่อมระหว่างคลองบางกอกน้อยและคลองบางกอกใหญ่ จึงทำให้มีชุมชนมุสลิมอยู่ในบริเวณท้ายป้อมเมืองบางกอกหรือป้อมวิชัยประสิทธิ์ในปัจจุบัน หลักฐานทางประวัติศาสตร์ที่สำคัญคือ บันทึกจดหมายเหตุของบรรพชนที่พบในสมุดข่อยโบราณกล่าวว่า
“…เจียมลูกพ่อเดชมันถูกเกณฑ์ไปเป็นทหารของพระเจ้าทรงธรรมที่กรุงศรีอยุธยา อุตส่าห์ส่งผ้านุ่งตาหมากรุกมาให้พ่อของมันถึงคลองบางกอกใหญ่จนได้…”
ซึ่งแสดงให้เห็นถึงความมีอยู่และเป็นชุมชนดั่งเดิมที่มีมาก่อนสมัยของสมเด็จพระเจ้าทรงธรรม (พ.ศ. ๒๑๖๓–๒๑๗๑) นอกจากหลักฐานดังกล่าวแล้วยังพบบันทึกจดหมายเหตุ “ใครเปนใคร” ซึ่งคัดลอกต่อมาโดยพระยาจุฬาราชมนตรีหลายคนในสายตระกูลเจ้าพระยาบวรราชนายก(เฉก อหะหมัด)ตั้งแต่ครั้งปลายกรุงศรีอยุธยาจนถึงกรุงรัตนโกสินทร์ โดยฉบับสุดท้ายเป็นฉบับการคัดลายมือของนายเพิ่ม อหะหมัดจุฬา ที่กล่าวถึงการสร้างศาสนสถานแห่งนี้ในปีพ.ศ.๒๒๓๑ ช่วงปลายแผ่นดินสมเด็จพระนารายณ์มหาราช(พ.ศ.๒๑๙๙–๒๒๓๑)โดยเจ้าพระยาราชวังสันเสนีย์(ม๊ะหมูด) บุตรเจ้าพระยารามเดโชชัย(ทิพ)ซึ่งเป็นขุนนางกลุ่มสุลต่านสุลัยมานเชื้อสายเปอร์เซียและเป็นแม่ทัพเรือกำกับพลฝรั่งเศส ๔๐๐ คน ที่รัฐบาลสยามจ้างมารักษาป้อมวิชาเยนทร์ ณ ปากคลองบางกอกใหญ่และกำกับกำปั่นต่าง ๆ ที่เข้ามาติดต่อค้าขายยังกรุงศรีอยุธยาสมัยนั้น การสร้างศาสนสถานสำหรับประกอบศาสนกิจของชาวไทยมุสลิมกลุ่มนี้น่าจะมีขึ้นภายหลังจากการรวมตัวกันเป็นชุมชนที่เป็นปึกแผ่นแล้ว โดยเริ่มจากการอุทิศที่ดินเพื่อสร้างศาสนสถานที่เรียบง่ายแบบเรือนฝาไม้กระดานใตัถุนสูงหลังคามุงกระเบื้องดินเผา ก่อนการปรับปรุงปฏิสังขรณ์ในอีกหลายยุคหลายสมัย เช่น ในปี พ.ศ. ๒๓๗๐ สมัยรัชกาลที่ ๓ โดยท่านหลวงโกชาอิสหาก(นาโคดาลี) บุตรชายของท่านเจ๊ะซอและห์ จนถึงอาคารมัสยิดหลังปัจจุบันที่สร้างขึ้นในปีพ.ศ.๒๔๙๗เพื่อทดแทนหลังเก่าที่ชำรุดทรุดโทรมซึ่งรับใช้ชุมชนต่อเนื่องมาจนถึงปัจจุบัน นอกจากในส่วนของมัสยิดต้นสนอันเป็นศาสนสถานที่มีประวัติความเป็นมาดังกล่าวแล้ว ที่ดินส่วนที่เรียกว่า“สุสาน”หรือ“กุบู๊ร”ของมัสยิดต้นสนก็ยังเป็นสถานที่ที่มีความสำคัญต่อประวัติศาสตร์ของชุมชนเป็นอย่างยิ่ง ด้วยเพราะเป็นสถานที่ฝั่งศพของบรรดาบรรพชนมุสลิมที่มีความสำคัญต่อประวัติศาสตร์สังคมไทยจำนวนมาก เช่น เจ้าพระยาจักรีศรีองค์รักษ์(หมุด) ผู้ร่วมกอบกู้แผ่นดินในสมัยสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช,พระยาราชบังสัน(ฉิม)แม่ทัพเรือในสมัยรัชกาลที่ ๓,หลวงโกชาอิสหาก(นาโคดาลี)ผู้ปฏิสังขรณ์มัสยิดต้นสนสมัยพ.ศ.๒๔๙๗เป็นต้น และรวมทั้งยังเป็นสุสานที่ฝังศพของขุนนางตำแหน่งสำคัญ ๆ เช่น “จุฬาราชมนตรี” ทั้ง ๙ ท่านตลอดสมัยรัตนโกสินทร์จนถึงเปลี่ยนแปลงการปกครองพ.ศ.๒๔๗๕ ตลอดจน “เจ้าจอม” มุสลิมที่สำคัญในสมัยรัตนโกสินทร์ เช่น เจ้าจอมหงส์ในพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลก รัชกาลที่ ๑ เจ้าจอมจีบในพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย รัชกาลที่ ๒ เจ้าจอมละม้ายในพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๕ เป็นต้น
ความสำคัญทางประวัติศาสตร์ของมัสยิดต้นสนตลอดจนบรรพชนต่าง ๆ ในชุมชมแห่งนี้ แสดงให้เห็นถึงความสัมพันธ์ที่ใกล้ชิดต่อราชสำนักสยามมาโดยตลอด จึงทำให้มัสยิดต้นสนมีหลักฐานที่กล่าวถึงการเสด็จพระราชดำเนินมาของพระมหากษัตริย์หลายพระองค์ในสมัย รัตนโกสินทร์ หรือแม้แต่หลังเปลี่ยนแปลงการปกครองพ.ศ.๒๔๗๕แล้วก็ตาม เช่น เมื่อวันที่ ๒๖ เมษายน พ.ศ.๒๔๘๙ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวอานันทมหิดล รัชกาลที่ ๘ ทรงเสด็จพระราชดำเนินทางชลมารคพร้อมด้วยพระอนุชา(พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช รัชกาลที่ ๙) เพื่อเยี่ยมเยียนชุมชนมัสยิด ฯ เป็นการส่วนพระองค์โดยมีจุฬาราชมนตรี(แช่ม พรหมยงค์) พระยามไหสวรรค์ฯ(นายกเทศมนตรีนครธนบุรี) พร้อมด้วยอิหม่ามและคณะกรรมการมัสยิดต้นสนรับเสด็จ
หรือเมื่อวันที่ ๖ มกราคม พ.ศ. ๒๕๔๕ ที่ผ่านมา สุลต่านอิสมาแอลปุตรา อิบนิ อัรมัรฮูมสุลต่านยะห์ยาปุตรา แห่งรัฐกลันตัน ประเทศมาเลเซีย ทรงเสด็จพร้อมพระชายา และตวนกูมะโกตาพระราชโอรสเป็นการส่วนพระองค์ โดยฮัจยีเฟาซัน หลังปูเต๊ะอิหม่ามมัสยิดต้นสนพร้อมคณะกรรมการมัสยิดฯรับเสด็จ เป็นต้น
ที่มา : ระบบแผนที่และข้อมูลมัสยิดออนไลน์. (ม.ป.ป.). มัสยิดต้นสน. https://www.masjidmap.com/mosque/info/9038412675?fbclid=IwAR32vuY0eaklbFat9uRGaLXj1jUHK3Xd2CouQDK6FAuYYB7PlPVEfn0-4SI
กล่าวถึงกรุงธนบุรีในฐานะของราชธานีแห่งราชอาณาจักรสยามนั้น ความสำคัญในฐานะของการเป็นรอยต่อทางประวัติศาสตร์ระหว่างพระนครศรีอยุธยาและกรุงรัตนโกสินทร์ ดังนั้นกรุงธนบุรีจึงเป็นแหล่งรวบรวมของวัฒนธรรมประเพณีอันหลากหลายจากกลุ่มชนต่างชาติต่างภาษาและต่างวัฒนธรรมที่มารวมตัวกันในสมัยที่สมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราชทรงกอบกู้เอกราชของชาติในปี พ.ศ. ๒๓๑๐ ในบรรดากลุ่มชนต่างชาติ ศาสนาและวัฒนธรรมที่มารวมตัวกันในกรุงธนบุรีครั้งนั้น ชาวไทยมุสลิมเป็นกลุ่มชนหนึ่งที่มีความสำคัญทั้งทางด้านประวัติศาสตร์ วัฒนธรรมและจารีตประเพณีอันมีเอกลักษณ์เฉพาะของตน โดยเฉพาะอย่างยิ่งชาวไทยมุสลิมกลุ่มที่รวมตัวกันอยู่บริเวณปากคลองบางหลวงหรือคลองบางกอกใหญ่ต่ำจากพระราชวังเดิมลงมา ซึ่งก่อร่างชุมชนมาพร้อม ๆ กับการตั้งเมืองบางกอกในอดีตและดำรงวัฒนธรรมกลุ่มชนของตนสืบต่อเนื่องมาจวบจนปัจจุบัน จึงทำให้ประวัติของชาวไทยมุสลิมกลุ่มนี้มีความเป็นมายาวนานร่วม ๔๐๐ ปี โดยมีศาสนสถานที่เรียกว่า“มัสยิดตันสน”หรือ“กะดีใหญ่”ในอดีตเป็นศูนย์กลางของจิตวิญญาณที่บอกเล่าเรื่องราวความเป็นมาได้เป็นอย่างดี
ประวัติของชุมชน “มัสยิดต้นสน” นั้นมีความเป็นมาโดยสันนิษฐานว่าแต่แรกน่าจะเป็นการรวมตัวของมุสลิมเชื้อสายจามที่เข้ามาเป็นกองอาสาต่างชาติในสมัยสมเด็จพระชัย ราชาธิราช(พ.ศ.๒๐๗๗–๒๑๑๑) ซึ่งเป็นช่วงของการเกณฑ์แรงงานอาสาต่างชาติเพื่อการศึกสงครามและบูรณประเทศ โดยเฉพาะการขุดคลองลัดบางกอกในปีพุทธศักราช ๒๐๘๕ เพื่อเชื่อมระหว่างคลองบางกอกน้อยและคลองบางกอกใหญ่ จึงทำให้มีชุมชนมุสลิมอยู่ในบริเวณท้ายป้อมเมืองบางกอกหรือป้อมวิชัยประสิทธิ์ในปัจจุบัน หลักฐานทางประวัติศาสตร์ที่สำคัญคือ บันทึกจดหมายเหตุของบรรพชนที่พบในสมุดข่อยโบราณกล่าวว่า
“…เจียมลูกพ่อเดชมันถูกเกณฑ์ไปเป็นทหารของพระเจ้าทรงธรรมที่กรุงศรีอยุธยา อุตส่าห์ส่งผ้านุ่งตาหมากรุกมาให้พ่อของมันถึงคลองบางกอกใหญ่จนได้…”
ซึ่งแสดงให้เห็นถึงความมีอยู่และเป็นชุมชนดั่งเดิมที่มีมาก่อนสมัยของสมเด็จพระเจ้าทรงธรรม (พ.ศ. ๒๑๖๓–๒๑๗๑) นอกจากหลักฐานดังกล่าวแล้วยังพบบันทึกจดหมายเหตุ “ใครเปนใคร” ซึ่งคัดลอกต่อมาโดยพระยาจุฬาราชมนตรีหลายคนในสายตระกูลเจ้าพระยาบวรราชนายก(เฉก อหะหมัด)ตั้งแต่ครั้งปลายกรุงศรีอยุธยาจนถึงกรุงรัตนโกสินทร์ โดยฉบับสุดท้ายเป็นฉบับการคัดลายมือของนายเพิ่ม อหะหมัดจุฬา ที่กล่าวถึงการสร้างศาสนสถานแห่งนี้ในปีพ.ศ.๒๒๓๑ ช่วงปลายแผ่นดินสมเด็จพระนารายณ์มหาราช(พ.ศ.๒๑๙๙–๒๒๓๑)โดยเจ้าพระยาราชวังสันเสนีย์(ม๊ะหมูด) บุตรเจ้าพระยารามเดโชชัย(ทิพ)ซึ่งเป็นขุนนางกลุ่มสุลต่านสุลัยมานเชื้อสายเปอร์เซียและเป็นแม่ทัพเรือกำกับพลฝรั่งเศส ๔๐๐ คน ที่รัฐบาลสยามจ้างมารักษาป้อมวิชาเยนทร์ ณ ปากคลองบางกอกใหญ่และกำกับกำปั่นต่าง ๆ ที่เข้ามาติดต่อค้าขายยังกรุงศรีอยุธยาสมัยนั้น การสร้างศาสนสถานสำหรับประกอบศาสนกิจของชาวไทยมุสลิมกลุ่มนี้น่าจะมีขึ้นภายหลังจากการรวมตัวกันเป็นชุมชนที่เป็นปึกแผ่นแล้ว โดยเริ่มจากการอุทิศที่ดินเพื่อสร้างศาสนสถานที่เรียบง่ายแบบเรือนฝาไม้กระดานใตัถุนสูงหลังคามุงกระเบื้องดินเผา ก่อนการปรับปรุงปฏิสังขรณ์ในอีกหลายยุคหลายสมัย เช่น ในปี พ.ศ. ๒๓๗๐ สมัยรัชกาลที่ ๓ โดยท่านหลวงโกชาอิสหาก(นาโคดาลี) บุตรชายของท่านเจ๊ะซอและห์ จนถึงอาคารมัสยิดหลังปัจจุบันที่สร้างขึ้นในปีพ.ศ.๒๔๙๗เพื่อทดแทนหลังเก่าที่ชำรุดทรุดโทรมซึ่งรับใช้ชุมชนต่อเนื่องมาจนถึงปัจจุบัน นอกจากในส่วนของมัสยิดต้นสนอันเป็นศาสนสถานที่มีประวัติความเป็นมาดังกล่าวแล้ว ที่ดินส่วนที่เรียกว่า“สุสาน”หรือ“กุบู๊ร”ของมัสยิดต้นสนก็ยังเป็นสถานที่ที่มีความสำคัญต่อประวัติศาสตร์ของชุมชนเป็นอย่างยิ่ง ด้วยเพราะเป็นสถานที่ฝั่งศพของบรรดาบรรพชนมุสลิมที่มีความสำคัญต่อประวัติศาสตร์สังคมไทยจำนวนมาก เช่น เจ้าพระยาจักรีศรีองค์รักษ์(หมุด) ผู้ร่วมกอบกู้แผ่นดินในสมัยสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช,พระยาราชบังสัน(ฉิม)แม่ทัพเรือในสมัยรัชกาลที่ ๓,หลวงโกชาอิสหาก(นาโคดาลี)ผู้ปฏิสังขรณ์มัสยิดต้นสนสมัยพ.ศ.๒๔๙๗เป็นต้น และรวมทั้งยังเป็นสุสานที่ฝังศพของขุนนางตำแหน่งสำคัญ ๆ เช่น “จุฬาราชมนตรี” ทั้ง ๙ ท่านตลอดสมัยรัตนโกสินทร์จนถึงเปลี่ยนแปลงการปกครองพ.ศ.๒๔๗๕ ตลอดจน “เจ้าจอม” มุสลิมที่สำคัญในสมัยรัตนโกสินทร์ เช่น เจ้าจอมหงส์ในพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลก รัชกาลที่ ๑ เจ้าจอมจีบในพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย รัชกาลที่ ๒ เจ้าจอมละม้ายในพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๕ เป็นต้น
ความสำคัญทางประวัติศาสตร์ของมัสยิดต้นสนตลอดจนบรรพชนต่าง ๆ ในชุมชมแห่งนี้ แสดงให้เห็นถึงความสัมพันธ์ที่ใกล้ชิดต่อราชสำนักสยามมาโดยตลอด จึงทำให้มัสยิดต้นสนมีหลักฐานที่กล่าวถึงการเสด็จพระราชดำเนินมาของพระมหากษัตริย์หลายพระองค์ในสมัย รัตนโกสินทร์ หรือแม้แต่หลังเปลี่ยนแปลงการปกครองพ.ศ.๒๔๗๕แล้วก็ตาม เช่น เมื่อวันที่ ๒๖ เมษายน พ.ศ.๒๔๘๙ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวอานันทมหิดล รัชกาลที่ ๘ ทรงเสด็จพระราชดำเนินทางชลมารคพร้อมด้วยพระอนุชา(พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช รัชกาลที่ ๙) เพื่อเยี่ยมเยียนชุมชนมัสยิด ฯ เป็นการส่วนพระองค์โดยมีจุฬาราชมนตรี(แช่ม พรหมยงค์) พระยามไหสวรรค์ฯ(นายกเทศมนตรีนครธนบุรี) พร้อมด้วยอิหม่ามและคณะกรรมการมัสยิดต้นสนรับเสด็จ
หรือเมื่อวันที่ ๖ มกราคม พ.ศ. ๒๕๔๕ ที่ผ่านมา สุลต่านอิสมาแอลปุตรา อิบนิ อัรมัรฮูมสุลต่านยะห์ยาปุตรา แห่งรัฐกลันตัน ประเทศมาเลเซีย ทรงเสด็จพร้อมพระชายา และตวนกูมะโกตาพระราชโอรสเป็นการส่วนพระองค์ โดยฮัจยีเฟาซัน หลังปูเต๊ะอิหม่ามมัสยิดต้นสนพร้อมคณะกรรมการมัสยิดฯรับเสด็จ เป็นต้น
ที่มา : ระบบแผนที่และข้อมูลมัสยิดออนไลน์. (ม.ป.ป.). มัสยิดต้นสน. https://www.masjidmap.com/mosque/info/9038412675?fbclid=IwAR32vuY0eaklbFat9uRGaLXj1jUHK3Xd2CouQDK6FAuYYB7PlPVEfn0-4SI
แหล่งที่มา
https://www.masjidmap.com/mosque/info/9038412675?fbclid=IwAR32vuY0eaklbFat9uRGaLXj1jUHK3Xd2CouQDK6FAuYYB7PlPVEfn0-4SI
ภาษา
tha
สำนักพิมพ์
มหาวิทยาลัยราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา สำนักวิทยบริการและเทคโนโลยีสารสนเทศ
ชื่อเรื่องรอง
ต้นสน
หัวเรื่อง
มัสยิดต้นสน
กุฎีบางกอกใหญ่
กุฎีใหญ่
คอลเลกชั่น
มัสยิดต้นสน. มหาวิทยาลัยราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา สำนักวิทยบริการและเทคโนโลยีสารสนเทศ, คลังข้อมูลดิจิทัล สำนักวิทยบริการและเทคโนโลยีสารสนเทศ, accessed December 24, 2024, http://dlib.bsru.ac.th/s/library/item/2500