การพัฒนารูปแบบการสอนตามแนวคิดจิตตปัญญาศึกษาเพื่อส่งเสริมการคิดอย่างมีวิจารณของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2
Item
ชื่อเรือง
การพัฒนารูปแบบการสอนตามแนวคิดจิตตปัญญาศึกษาเพื่อส่งเสริมการคิดอย่างมีวิจารณของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2
ชื่อเรื่องรอง
Development of Contempaltve Education-Based Instructional Model to Enhance Mathayomsuksa 2 Students' Critical Thinking
ผู้แต่ง
พรศิริ ไทยยากรณ์
หัวเรื่อง
รูปแบบการสอน
จิตตปัญญาศึกษา
การคิดอย่างมีวิจารณญาณ
รายละเอียดอื่นๆ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) พัฒนารูปแบบการสอนตามแนวคิดจิตตปัญญาการศึกษาเพื่อส่งเสริมการคิดอย่างมีวิจารณญาณของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 และ 2) เปรียบเทียบการคิดอย่างมีวิจารณญาณของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 ก่อนและหลังเรียนโดยใช้รูปแบบการสอนตามแนวคิดจิตตปัญญาศึกษาเพื่อส่งเสริมการคิด
อย่างมีวิจารณญาณ กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 โรงเรียนวัดพุทธบูชา จำนวน 20 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ประกอบด้วย แผนการจัดการเรียนรู้ และแบบทดสอบวัดการคิดอย่างมีวิจารณญาณ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ละการทดสอบค่าทีสำหรับกลุ่มตัวอย่างที่ไม่เป็นอิสระต่อกัน ผลการวิจัยพบว่า 1. รูปแบบการสอนตามแนวคิดจิตตปัญญาศึกษาเพื่อส่งเสริมการคิดอย่างมีวิจารณญาณของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 มี 4 องค์ประกอบ คือ 1) ทฤษฎี/หลักการ/แนวคิด 2) วัตถุประสงค์ของรูปแบบการสอน 3) กระบวนการสอนของรูปแบบและ 4) ผลที่ผู้เรียนจะได้รับจากการสอนของรูปแบบ 2. ผลการเปรียบเทียบการคิดอย่างมีวิจารณญาณก่อนเรียนและหลังเรียน พบว่า การคิดอย่างมีวิจารณญาณของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 คะแนนทดสอบก่อนเรียนมีค่าเฉลี่ย 9.85 (S.D.=1.41) และคะแนนทดสอบหลังเรียนมีค่าเฉลี่ย 13.90 (S.D.=1.49) คะแนนทดสอบหลังเรียนสูงกว่าคะแนนสอบก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01
คำสำคัญ : รูปแบบการสอน จิตตปัญญาศึกษา การคิดอย่างมีวิจารณญาณ
อย่างมีวิจารณญาณ กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 โรงเรียนวัดพุทธบูชา จำนวน 20 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ประกอบด้วย แผนการจัดการเรียนรู้ และแบบทดสอบวัดการคิดอย่างมีวิจารณญาณ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ละการทดสอบค่าทีสำหรับกลุ่มตัวอย่างที่ไม่เป็นอิสระต่อกัน ผลการวิจัยพบว่า 1. รูปแบบการสอนตามแนวคิดจิตตปัญญาศึกษาเพื่อส่งเสริมการคิดอย่างมีวิจารณญาณของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 มี 4 องค์ประกอบ คือ 1) ทฤษฎี/หลักการ/แนวคิด 2) วัตถุประสงค์ของรูปแบบการสอน 3) กระบวนการสอนของรูปแบบและ 4) ผลที่ผู้เรียนจะได้รับจากการสอนของรูปแบบ 2. ผลการเปรียบเทียบการคิดอย่างมีวิจารณญาณก่อนเรียนและหลังเรียน พบว่า การคิดอย่างมีวิจารณญาณของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 คะแนนทดสอบก่อนเรียนมีค่าเฉลี่ย 9.85 (S.D.=1.41) และคะแนนทดสอบหลังเรียนมีค่าเฉลี่ย 13.90 (S.D.=1.49) คะแนนทดสอบหลังเรียนสูงกว่าคะแนนสอบก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01
คำสำคัญ : รูปแบบการสอน จิตตปัญญาศึกษา การคิดอย่างมีวิจารณญาณ
ผู้จัดพิมพ์/สำนักพิมพ์
มหาวิทยาลัยราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา สำนักวิทยบริการและเทคโนโลยีสารสนเทศ
ผู้ร่วมสร้างรรค์ ผู้ร่วมงาน
บังอร เสรีรัตน์
พัชรีภรณ์ บางเขียว
ชลพร กองคำ
วันที่ ปีที่จัดพิมพ์
2563
วันที่ผลิต วันที่จัดทำ
2565-08-04
วันที่ปรับปรุงข้อมูล
2565-08-04
วันที่เผยแพร่
2565-08-04
ประเภท
thesis
รูปแบบ
application/pdf
แหล่งที่มา
วน 373 พ282ก 2563
ภาษา
tha
ลิขสิทธิ์
มหาวิทยาลัยราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา
Degree (name, level, descipline, grantor)
ครุศาสตรมหาบัณฑิต
ปริญญาโท
หลักสุตรและการสอน
มหาวิทยาลัยราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา
พรศิริ ไทยยากรณ์ .การพัฒนารูปแบบการสอนตามแนวคิดจิตตปัญญาศึกษาเพื่อส่งเสริมการคิดอย่างมีวิจารณของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2. มหาวิทยาลัยราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา สำนักวิทยบริการและเทคโนโลยีสารสนเทศ, คลังข้อมูลดิจิทัล สำนักวิทยบริการและเทคโนโลยีสารสนเทศ, accessed December 26, 2024, http://dlib.bsru.ac.th/s/library/item/2380