การพัฒนาระบบสนับสนุนการตัดสินใจสำหรับการขนส่งสินค้า ในเขตภาคตะวันออกของประเทศไทยด้วยเทคนิค อัลกอริทึมดีอาร์จีและค่าน้ำหนัก
Item
ชื่อเรือง
การพัฒนาระบบสนับสนุนการตัดสินใจสำหรับการขนส่งสินค้า ในเขตภาคตะวันออกของประเทศไทยด้วยเทคนิค อัลกอริทึมดีอาร์จีและค่าน้ำหนัก
ชื่อเรื่องรอง
A DEVELOPMENT OF ADECISION SUPPORT SYSTEM FOR TRANSPORTATION GOODSIN THE EASTERN REGION BY DRG ALGORITHM ANDWEIGHT VALUE TECHNIQUE
ผู้แต่ง
ณัฐชัย เปลี่ยนวิจารณ์
หัวเรื่อง
ระบบสนับสนุนการตัดสินใจ
วางแผนการขนส่งสินค้า
อัลกอริทึมดีอาร์จีและค่าน้ำหนัก
รายละเอียดอื่นๆ
งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อพัฒนาระบบสนับสนุนการตัดสินใจสำหรับการขนส่งสินค้าในเขตภาคตะวันออกของประเทศไทยด้วยเทคนิคอัลกอริทึมดีอาร์จีและค่าน้ำหนักโดยแบ่งการดำเนินการวิจัยออกเป็น 5 ขั้นตอนคือ 1) ทำการศึกษาคุณลักษณะของระบบสนับสนุนการตัดสินใจสำหรับการขนส่งสินค้าในเขตภาคตะวันออกของประเทศไทยด้วยเทคนิคอัลกอริทึมดีอาร์จีและค่าน้ำหนักที่เหมาะสม ใช้กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ ผู้บริหารองค์กร และพนักงานวางแผนการขนส่ง โดยใช้เครื่องมือแบบสัมภาษณ์ ในประเด็นศึกษากระบวนการทำงานปัจจุบัน ประเด็นสภาพปัญหาที่เกิดในการทำงาน ประเด็นความต้องการของผู้ใช้ และประเด็นด้านปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับการวิเคราะห์งาน การจัดตารางการเดินรถ 2) วิเคราะห์ ออกแบบ และพัฒนาระบบ เป็นการวิเคราะห์ความต้องการฟังก์ชันการทำงานที่จำเป็นของระบบ จากนั้นทำการออกแบบระบบทั้งด้านทางกายภาพและซอฟต์แวร์ โดยงานวิจัยนี้ได้ออกแบบอัลกอริทึมดีอาร์จีและค่าน้ำหนัก โดยผสมผสานทฤษฎี แผนภาพต้นไม้การตัดสินใจ ทฤษฎีฐานกฎ อัลกอริทึมแบบละโมบ และทฤษฎีค่าถ่วงน้ำหนัก 3) ทำการเปรียบเทียบผลการประเมินประสิทธิภาพของระบบระหว่างเทคนิคอัลกอริทึมดีอาร์จีและค่าน้ำหนักกับผลการวิเคราะห์โดยพนักงานวางแผนการขนส่งจำนวน 3 คน จากบริษัทละ 1 คน ผ่านสถานการณ์จำลอง โดยทำการเปรียบเทียบผลลัพธ์ด้านต้นทุนค่าใช้จ่ายในการขนส่งและเวลาที่ใช้ในการประมวลผล 4) ประเมินด้านความเหมาะสมของการพัฒนาซอฟต์แวร์ระบบสนับสนุนการตัดสินใจ โดยทำการประเมินใน 4 ด้าน ได้แก่ ด้านเทคนิค ด้านการออกแบบการนำเข้าข้อมูล ด้านกระบวนการทำงานของซอฟต์แวร์ และด้านการออกแบบผลลัพธ์ 5) ประเมินความสามารถการทำงานจากการใช้งานระบบสนับสนุนการตัดสินใจ โดยทำการประเมินใน 4 ด้าน ได้แก่ ด้านประสิทธิภาพในการทำงาน ด้านการออกแบบผลลัพธ์ ด้านการออกแบบนำเข้าข้อมูล ด้านกระบวนการทำงานของซอฟต์แวร์ ผลการศึกษาคุณลักษณะสภาพการปัจจุบันพบปัญหาการทำงานด้านการวางแผนการขนส่งสินค้า ได้แก่ ขั้นตอนการวางแผนใช้คนปฏิบัติงาน ซึ่งอาศัยประสบการณ์และความชำนาญเฉพาะในการตัดสินใจอาจส่งผลต่อต้นทุนเพิ่มขึ้น หากพนักงานวางแผนการขนส่งไม่สามารถปฏิบัติงานได้ ก็ไม่สามารถหาคนที่มีประสบการณ์เทียบเท่ามาปฏิบัติงานแทน ใช้ระยะเวลานานในการประมวลผลในการจัดตารางการขนส่งสินค้า รวมทั้งการวิเคราะห์ราคาค่าบริการต่าง ๆ ที่ไม่สามารถพิจารณาได้อย่างทันท่วงที ผลจากการศึกษาปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับการวิเคราะห์วางแผนการจัดตารางการขนส่งสินค้า ได้แก่ ปริมาตรสินค้า น้ำหนักสินค้าต่อชิ้น จำนวนสินค้า จำนวนรถที่ให้บริการ ประเภทของรถบรรทุก ปริมาตรพื้นที่ของตู้ในการบรรทุก สถานที่จัดส่งสินค้า เวลาที่ออก เวลาที่สินค้าถึง ราคาการให้บริการ ค่าเสื่อมราคา ค่าธรรมเนียมการขนส่ง น้ำหนักความสำคัญของลำดับการตัดสินใจ ผลการประเมินเปรียบเทียบประสิทธิภาพของระบบระหว่างเทคนิคอัลกอริทึมดีอาร์จีและค่าน้ำหนักกับการวิเคราะห์โดยพนักงานวางแผนการขนส่ง โดยพบว่าอัลกอริทึมที่พัฒนาขึ้นสามารถประมวลผลได้ดีกว่าค่าเฉลี่ยที่เกิดจากผลการวิเคราะห์ของพนักงานขนส่ง ทั้งด้านต้นทุนที่สามารถคำนวณถูกกว่า และใช้เวลาในการประมวลผลไม่เกิน 1 นาที จากการจำลองสถานการณ์สินค้า 10 ราย ผลการประเมินระบบอยู่ในระบบเท่ากับ 4.8 คะแนน แปลผลได้เป็นสามารถพัฒนาซอฟต์แวร์ได้อย่างเหมาะสมมากที่สุดผลคะแนนการประเมินความสามารถของการใช้งานเท่ากับ 4.6 คะแนน แปลผลได้เป็นการพัฒนาความสามารถในการใช้งานได้มากที่สุด คำสำคัญ: ระบบสนับสนุนการตัดสินใจ วางแผนการขนส่งสินค้า อัลกอริทึมดีอาร์จีและค่าน้ำหนัก
บทคัดย่อ
The objective of this research is to develop a decision support system for transportation of goods in the Eastern region of Thailand using the DRG algorithm and weighted mean by dividing the research into 5 steps:
1 ) studying the characteristics of the decision support system for the transportation of goods in the Eastern region of Thailand using the DRG algorithm and the appropriate weighted mean. The sample groups were organizational administrators and transportation planning staff by using the interview tool in the current study of work processes, issues of problems occurring at work, user needs, issues related to job analysis and scheduling of vehicles.
2) Analyzing, designing and developing the system. It is the analysis of the need for the necessary function of the system, after that, designing both the physical and software systems. This research designed the DRG algorithm and weighted mean by combining the decision tree diagram theory, greedy algorithm rule base theory and weighted mean.
3) Comparing the system performance evaluation results between the DRG algorithm and weighted mean with the analysis results by 3 transportation planners from each company through the simulation situation by comparing the results of costs, transportation costs and processing time.
4) Assessing the suitability of the software development of the decision support system by evaluating in 4 areas which are in technical, in design, in data import software workflow and in the resultant design.
5) Evaluating the ability of the decision support system by evaluating in 4 areas which are in work efficiency, in design results, in designing data import, in software workflow. The results of the study of the current state of the problems found that the work of transport planning was the process of using human resource planning which requires experience and expertise in decision-making may result in increased costs if transportation planning staff cannot work, they can't find someone with equivalent experience to work on their behalf. It takes a long time to process the shipping scheduling including price analysis of various services that cannot be considered in time. The result of the study of factors related to the analysis, planning, transportation scheduling which included product volume, product weight per item, number of products, number of serviced vehicles, types of trucks, the volume of space in the container, shipping location, time of issue, goods arrival time, service price, depreciation, shipping fee, weight of importance of decision sequence. The results of the comparison of system performance among the DRG algorithm, weighted mean and the analysis by the transportation planners, were found that the developed algorithm was able to process better than the average resulting from the analysis of the carrier. Both costs can be calculated cheaper and the processing time is not more than 1 minute. From the simulation of 10 products, the evaluation result is in the system equal to 4.8 points. The evaluation is the most appropriate performance in software development. From the 1 0 product simulations, the evaluation result is in the system equal to 4 .8 points. The result of the evaluation of the usability is equal to 4.6. The evaluation result is the most development of usability.
Keywords: Decision support system, Plan the transportation of goods, DRG algorithm and weighted.
1 ) studying the characteristics of the decision support system for the transportation of goods in the Eastern region of Thailand using the DRG algorithm and the appropriate weighted mean. The sample groups were organizational administrators and transportation planning staff by using the interview tool in the current study of work processes, issues of problems occurring at work, user needs, issues related to job analysis and scheduling of vehicles.
2) Analyzing, designing and developing the system. It is the analysis of the need for the necessary function of the system, after that, designing both the physical and software systems. This research designed the DRG algorithm and weighted mean by combining the decision tree diagram theory, greedy algorithm rule base theory and weighted mean.
3) Comparing the system performance evaluation results between the DRG algorithm and weighted mean with the analysis results by 3 transportation planners from each company through the simulation situation by comparing the results of costs, transportation costs and processing time.
4) Assessing the suitability of the software development of the decision support system by evaluating in 4 areas which are in technical, in design, in data import software workflow and in the resultant design.
5) Evaluating the ability of the decision support system by evaluating in 4 areas which are in work efficiency, in design results, in designing data import, in software workflow. The results of the study of the current state of the problems found that the work of transport planning was the process of using human resource planning which requires experience and expertise in decision-making may result in increased costs if transportation planning staff cannot work, they can't find someone with equivalent experience to work on their behalf. It takes a long time to process the shipping scheduling including price analysis of various services that cannot be considered in time. The result of the study of factors related to the analysis, planning, transportation scheduling which included product volume, product weight per item, number of products, number of serviced vehicles, types of trucks, the volume of space in the container, shipping location, time of issue, goods arrival time, service price, depreciation, shipping fee, weight of importance of decision sequence. The results of the comparison of system performance among the DRG algorithm, weighted mean and the analysis by the transportation planners, were found that the developed algorithm was able to process better than the average resulting from the analysis of the carrier. Both costs can be calculated cheaper and the processing time is not more than 1 minute. From the simulation of 10 products, the evaluation result is in the system equal to 4.8 points. The evaluation is the most appropriate performance in software development. From the 1 0 product simulations, the evaluation result is in the system equal to 4 .8 points. The result of the evaluation of the usability is equal to 4.6. The evaluation result is the most development of usability.
Keywords: Decision support system, Plan the transportation of goods, DRG algorithm and weighted.
ผู้จัดพิมพ์/สำนักพิมพ์
มหาวิทยาลัยราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา สำนักวิทยบริการและเทคโนโลยีสารสนเทศ
ผู้ร่วมสร้างรรค์ ผู้ร่วมงาน
ประไพ ศรีดามา
สมบัติ ทีฑทรัพย์
ณัฐดนัย สิงห์คลีวรรณ
วันที่ ปีที่จัดพิมพ์
2562
วันที่ผลิต วันที่จัดทำ
2565-08-1
วันที่ปรับปรุงข้อมูล
2565-08-1
วันที่เผยแพร่
2565-08-1
ประเภท
thesis
รูปแบบ
application/pdf
แหล่งที่มา
วน 388.12 ณ328ก 2562
ภาษา
tha
ลิขสิทธิ์
มหาวิทยาลัยราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา
Degree (name, level, descipline, grantor)
ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต
ปริญญาเอก
การจัดการนวัตกรรมและเทคโนโลยี
มหาวิทยาลัยราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา
ณัฐชัย เปลี่ยนวิจารณ์ .การพัฒนาระบบสนับสนุนการตัดสินใจสำหรับการขนส่งสินค้า ในเขตภาคตะวันออกของประเทศไทยด้วยเทคนิค อัลกอริทึมดีอาร์จีและค่าน้ำหนัก. มหาวิทยาลัยราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา สำนักวิทยบริการและเทคโนโลยีสารสนเทศ, คลังข้อมูลดิจิทัล สำนักวิทยบริการและเทคโนโลยีสารสนเทศ, accessed December 26, 2024, http://dlib.bsru.ac.th/s/library/item/2377