การพัฒนาผลิตภัณฑ์สบู่เหลวจากสารสกัดกิ่งหม่อนเพันธุ์เชียงใหม่ 60

Item

ชื่อเรือง

การพัฒนาผลิตภัณฑ์สบู่เหลวจากสารสกัดกิ่งหม่อนเพันธุ์เชียงใหม่ 60

ชื่อเรื่องรอง

Development of Liquid Soap Containing Chiangai 60 Mulberry (Morus Alba L.) Branch Extract

ผู้แต่ง

จันทนา ปราการสมุทร

หัวเรื่อง

หม่อนพันธ์เชียงใหม่--สารสกัดจากพืช
หม่อน
ฤทธิ์ต้านอนุมูลอิสระ
ต้านอนุมูลอิสระ
ฤทธิ์ต้านแบคทีเรียก่อโรคผิวหนัง
โรคผิวหนัง

รายละเอียดอื่นๆ

การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) ศึกษาฤทธิ์ต้านอนุมูลอิสระและฤทธิ์ต้านแบคทีเรียก่อโรคผิวหนังของสารสกัดจากกิ่งและใบหม่อนพันธุ์เชียงใหม่ 60 และ (2)พัฒนาผลิตภัณฑ์สบู่เหลวต้านอนุมูลอิสระ และต้านเชื้อแบคทีเรียจากสารสกัดกิ่งหรือใบหม่อนพันธุ์เชียงใหม่ 60 มีวิธีการดังนี้ ทำการสกัดกิ่งหม่อนด้วยวิธีการหมักใน 70 % เอทานอล และนำสารสกัดหยาบที่ได้มาทำการทดสอบฤทธิ์ต้านอนุมูลอิสระ โดยวิธี 2,2 Diphenyl -1 picrylhydrazyl radical scavenging assay (DPPH assay) และทดสอบฤทธิ์ต้านเชื้อแบคทีเรียก่อโรคผิวหนัง ได้แก่ Staphylococcusaureus, Staphylococcus epidermidis, Methicillin Resistance Staphylococcus aureus (MRSA) และ Streptococcuspyogenes โดยวิธี disk diffusion คัดเลือกเฉพาะสารสกัดกิ่งหม่อนเนื่องจากมีฤทธิ์สูงกว่าสารสกัดใบหม่อน มาตรวจสอบกลุ่มสารพฤกษเคมีและทดสอบฤทธิ์ต้านเชื้อแบคทีเรียก่อโรคผิวหนังดังกล่าวด้วยวิธี broth microdilutionเพื่อให้ได้ค่า MIC และ MBC ก่อนนำสารสกัดกิ่งหม่อนไปพัฒนาเป็นสบู่เหลว สถิติที่ใช้ในการวิจัยคือค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และ Mann Whitney U ผลการวิจัยพบว่า 1.จากการตรวจสอบกลุ่มสารพฤกษเคมีในสารสกัดกิ่งหม่อน พบว่ากลุ่มสารสำคัญที่ตรวจพบคือterpenoids, flavonoids และ tannins และสารสกัดกิ่งหม่อนมีค่า MIC และ MBC ต่อเชื้อแบคทีเรียทั้งสี่ชนิดในช่วง 1.95– 31.25 มิลลิกรัมต่อมิลลิลิตร และ 31.25– มากกว่า 250 มิลลิกรัมต่อมิลลิลิตรตามลำดับ 2.จากการพัฒนาผลิตภัณฑ์สบู่เหลวต้านอนุมูลอิสระและต้านเชื้อแบคทีเรียจากสารสกัดกิ่งหม่อน พบว่าสูตรที่ดีที่สุด (สูตร3) ซึ่งผ่านการทดสอบความคงตัวทางกายภาพแบบเร่งนั้นมีลักษณะใส สีเขียวอ่อน มีความหนืดและตะกอนเล็กน้อย และมีกลิ่นหอม โดยค่าความเป็นกรดด่างไม่มีความเปลี่ยนแปลงมากนักทั้งก่อนและหลังการทดสอบ สบู่เหลวตำรับนี้จึงเป็นอีกหนึ่งผลิตภัณฑ์ทางเลือกที่มีศักยภาพในการพัฒนาเพื่อเพิ่มมูลค่าของกิ่งหม่อนพันธุ์เชียงใหม่ 60 ต่อไป

คำสำคัญ : หม่อนพันธุ์เชียงใหม่ 60 ,ฤทธิ์ต้านอนุมูลอิสระ, ฤทธิ์ต้านแบคทีเรียก่อโรคผิวหนัง

บทคัดย่อ

The purposes of this research were to (1) study antioxidant and antibacterial activity against skin pathogen of mulberry Chiang Mai 60branches and leaves extracts and (2)develop an antioxidant and antibacterial liquid soap containing mulberry Chiang Mai 60 branches extracts. The methodsconsisted of mulberry Chiang Mai 60 branches and leaves extraction by maceration in 70% ethanol and the obtained crude extracts were determined antioxidant activity by 2,2 Diphenyl -1 picrylhydrazyl radical scavenging assay (DPPH assay) and determined antibacterial activity against Skin pathogen namely Staphylococcus aureus, Staphylococcus epidermidis, Methicillin Resistance Staphylococcus aureus (MRSA) and Streptococcus pyogenes by disk diffusion method. The mulberry branches extract was chosen due to a higher activity than the leaves extract. It was studied phytochemicals compounds and antibacterial activity against skin pathogens by broth microdilution method to determine minimum inhibitory concentration(MIC) and minimum bactericidal concentration(MBC) followed by development of liquid soap containing the branches extract. Data are expression were mean and standard deviation and Mann Whitney U.
The finding revealed as follows:
1. According to screening the phytochemicals compound in mulberry branches extract, terpenoids, flavonoids and tannins were mostly found. The branches extract demonstrated MIC and MBC against bacterial strains in the range of 1.95 – 31.25 mg/ml and 31.25 – more than 250 mg/ml, respectively.
2. According to development of liquid soap containing the mulberry branches extract, it was found that the formula 3 exhibited the best physical stability test as compared with other groups. This liquid soap was clear, pale green, possessing a few viscosity and precipitant
including a good odor. pH of this soap did not change before and after accelerated physical stability test. Therefore, the developed liquid soap is an interesting choice for value adding of mulberry Chiang Mai 60branches extract.

Keywords: Mulberry Chiang Mai 60, antioxidant activity, antibacterial activity against skin pathogens

ผู้จัดพิมพ์/สำนักพิมพ์

มหาวิทยาลัยราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา สำนักวิทยบริการและเทคโนโลยีสารสนเทศ

ผู้ร่วมสร้างรรค์ ผู้ร่วมงาน

ปิลันธนา เลิศสถิตธนกร
เธียร ธีระวรวงศ์

วันที่ ปีที่จัดพิมพ์

2563

วันที่ผลิต วันที่จัดทำ

2021-08-09 06:57:07

วันที่ปรับปรุงข้อมูล

2021-08-09 06:57:07

ประเภท

thesis

รูปแบบ

application/pdf

แหล่งที่มา

วน 615.19 จ246ก 2563

ภาษา

tha

รหัส

ลิขสิทธิ์

มหาวิทยาลัยราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา

Degree (name, level, descipline, grantor)

วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต
ปริญญาโท
เภสัชกรรมไทย
มหาวิทยาลัยราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา

วันที่ใช้งาน

2563

คอลเลกชั่น

จันทนา ปราการสมุทร . (2563). การพัฒนาผลิตภัณฑ์สบู่เหลวจากสารสกัดกิ่งหม่อนเพันธุ์เชียงใหม่ 60. มหาวิทยาลัยราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา สำนักวิทยบริการและเทคโนโลยีสารสนเทศ, คลังข้อมูลดิจิทัล สำนักวิทยบริการและเทคโนโลยีสารสนเทศ, accessed December 23, 2024, http://dlib.bsru.ac.th/s/library/item/1608

นำออกข้อมูล :