การพัฒนาตำรับยาป้ายปากจากสารสกัดหยาบจากใบหูกวาง สำหรับโรคติดเชื้อแคนดิดาในช่องปาก
Item
ชื่อเรือง
การพัฒนาตำรับยาป้ายปากจากสารสกัดหยาบจากใบหูกวาง สำหรับโรคติดเชื้อแคนดิดาในช่องปาก
ชื่อเรื่องรอง
Development of Oral Paste From Terminalia Catappa L. Leaves Extract for oral Candiasis
ผู้แต่ง
ณัฏฐา เชิดชูธรีกุล
หัวเรื่อง
เชื้อราแคนดิดา
ตำรับยาป้ายปาก
ใบหูกวาง
รายละเอียดอื่นๆ
การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาองค์ประกอบทางพฤกษเคมีเบื้องต้นของสารสกัดหยาบจากใบหูกวาง 2) ศึกษาฤทธิ์ยับยั้งและฤทธิ์ฆ่าเชื้อรากลุ่มแคนดิดาของสารสกัดหยาบจากใบหูกวาง และ 3) พัฒนาตำรับยาป้ายปากจากสารสกัดหยาบจากใบหูกวางสำหรับโรคติดเชื้อแคนดิดาในช่องปาก มีวิธีการดังนี้ ศึกษาองค์ประกอบทางพฤกษเคมีเบื้องต้นด้วยวิธีการสังเกตการเกิดสีและการตกตะกอน และเทคนิค Thin layer chromatography (TLC) ศึกษาฤทธิ์ยับยั้งและฤทธิ์ฆ่าเชื้อรา ด้วยวิธี Agar disc diffusion และวิธี Broth micro dilution และพัฒนาตำรับยาโดยการศึกษาความคงตัวด้วยวิธี Freeze-thaw cycling สถิติที่ใช้ ได้แก่ ค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน และ One way ANOVA ผลการวิจัยพบว่า 1. ใบหูกวางจำนวน 100 กรัม เมื่อนำมาสกัดได้สารสกัดหยาบ ได้ผลผลิต ร้อยละ 18.23 พบสารแอนทราควิโนนไกลโคไซด์ เทอร์พีนอยด์ ซาโปนิน ฟลาโวนอยด์ และแทนนิน เมื่อทดสอบด้วยเทคนิค TLC พบสาร Gallic acid และ Quercetin 2. สารสกัดใบหูกวางมีฤทธิ์ต้านเชื้อรา C. glabrata, C. kefry และ C. krusei มีค่าเส้นผ่านศูนย์กลางของโซนยับยั้งเท่ากับ 1.36 ± 0.11, 1.10 ±0.05 และ 1.03±0.30 mm ตามลำดับ และมีค่า MIC โดย C. glabrata เท่ากับ 7.81 mg/ml, C. kefyr และ C. tropicalis เท่ากับ 31.25mg/ml และ C. albican และ C. krusei มีค่าเท่ากับ 62.50mg/ml ส่วนค่า MFC ของ C. glabrata และ C. kefyr เท่ากับ 125mg/ml ส่วน C. albican, C. krusei และ C. tropicalis เท่ากับ >125mg/ml 3. สูตรตำรับยาป้ายปาก Glycerin 7%, Sodium benzoate 0.1%, Gelatin 7 %, Pectin 3% และ Carboxy methyl cellulose 5 % เป็นตำรับที่มีความหนืดและความเป็นกรด-ด่างเหมาะสมมากที่สุด
คำสำคัญ : ใบหูกวาง, องค์ประกอบทางพฤกษเคมี, เชื้อราแคนดิดา, ตำรับยาป้ายปาก
คำสำคัญ : ใบหูกวาง, องค์ประกอบทางพฤกษเคมี, เชื้อราแคนดิดา, ตำรับยาป้ายปาก
บทคัดย่อ
This study objectives were 1) Phytochemical screening of Terminalia Catappa Linn. red leaves extract 2) Assayed in addition, antifungal activity of Terminalia Catappa Linn. red leaves 3) Development of oral paste from Terminalia Catappa Linn. red leaves for oral candiasis. There are methods of phytochemical as observe color changes reaction, precipitation and thin layer chromatography (TLC). The methods of antifungal activity were agar disc diffusion and broth micro dilution. The development of oral paste were find stability by freeze-thaw cycling. The statistics used in data analysis were mean, standard deviation and one way ANOVA. The results were found that. 1. 100 g. of Terminalia Catappa Linn. red leaves extracted would have got crude extract 18.23%, Terminalia Catappa Linn. red leaves contained the anthraquinones, terpenoids flavonoids, saponins and tannins. Thin layer chromatography revealed the gallic acid and quercetin in the extract. 2. Antifungal activity study of the extract can against C. glabrata, C. Kefry and C. Krusei, respectively, showed that the mean inhibition zone were 1.36±0.11, 1.10±1.05 and 1.03±0.30 mm respectively. MIC of C. glabrata was 7.8mg/ml, C. kefyr and C. tropicalis were 31.25mg/ml, C. albican and C. krusei were 62.50mg/ml while the MFC of C. glabrata and C. kefyr were 125, C. albican, C. krusei and C. tropicalis were >125 mg/ml. 3. The oral paste included with Glycerin 7%, Sodium benzoate 0.1%, Gelatin 7 %, Pectin 3% and Carboxy methyl cellulose 5 % were have viscosity and pH of the most suitably of oral paste.
Keywords : Terminalia Catappa Linn., Phytochemicals, Candida spp., Oral paste
Keywords : Terminalia Catappa Linn., Phytochemicals, Candida spp., Oral paste
ผู้จัดพิมพ์/สำนักพิมพ์
มหาวิทยาลัยราชภัฎบ้านสมเด็จเจ้าพระยา สำนักวิทยบริการและเทคโนโลยีสารสนเทศ
ผู้ร่วมสร้างรรค์ ผู้ร่วมงาน
ณัฎฐา เชิดชูธีกุล
ปิลันธนา เลิศสถิตธนกร
เธียร ธีระวรวงศ์
วันที่ ปีที่จัดพิมพ์
2562
วันที่ผลิต วันที่จัดทำ
2021-08-09 06:57:07
วันที่ปรับปรุงข้อมูล
2021-08-09 06:57:07
ประเภท
thesis
รูปแบบ
application/pdf
แหล่งที่มา
วน. 615.321 ณ311ก 2562
ภาษา
tha
ลิขสิทธิ์
มหาวิทยาลัยราชภัฎบ้านสมเด็จเจ้าพระยา
Degree (name, level, descipline, grantor)
วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต
ปริญญาโท
เภสัชกรรมไทย
มหาวิทยาลัยราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา
วันที่ใช้งาน
2562
คอลเลกชั่น
ณัฏฐา เชิดชูธรีกุล . (2562). การพัฒนาตำรับยาป้ายปากจากสารสกัดหยาบจากใบหูกวาง สำหรับโรคติดเชื้อแคนดิดาในช่องปาก. มหาวิทยาลัยราชภัฎบ้านสมเด็จเจ้าพระยา สำนักวิทยบริการและเทคโนโลยีสารสนเทศ, คลังข้อมูลดิจิทัล สำนักวิทยบริการและเทคโนโลยีสารสนเทศ, accessed December 23, 2024, http://dlib.bsru.ac.th/s/library/item/1596