การศึกษาการจัดการเรียนการสอนโสตทักษะในระดับอุดมศึกษา กรณีศึกษาหลักสูตรดุริยางคศาสตร์บัณฑิต วิทยาลัยดุริยางคศิลป์ มหาวิทยาลัยมหิดล
Item
ชื่อเรือง
การศึกษาการจัดการเรียนการสอนโสตทักษะในระดับอุดมศึกษา กรณีศึกษาหลักสูตรดุริยางคศาสตร์บัณฑิต วิทยาลัยดุริยางคศิลป์ มหาวิทยาลัยมหิดล
ชื่อเรื่องรอง
The Study of Music Instruction for ear Training in Graduate Studies a Case Study: Bachelor of Music Program College of Music, Mahidol University
ผู้แต่ง
พิมตะวัน ลาภวณิชย์
หัวเรื่อง
การจัดการเรียนการสอน
หลักสูตรดุริยางคศาสตร์
รายละเอียดอื่นๆ
งานวิจัยเชิงคุณภาพนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาการจัดการเรียนการสอนวิชาโสตทักษะในระดับปริญญาตรี ใน 5 ด้าน ประกอบด้วย 1) ด้านการกำหนดจุดประสงค์การเรียนการสอน 2) ด้านวิธีการสอน 3) ด้านเนื้อหาสาระการเรียนการสอน 4) ด้านกิจกรรมการเรียนการสอน 5) ด้านการวัดผลและประเมินผล โดยศึกษาข้อมูลจากการสัมภาษณ์แบบกึ่งโครงสร้างและการสังเกตการสอนแบบไม่มีส่วนร่วม จากอาจารย์ผู้สอนรายวิชาการฝึกโสตและการอ่านโน้ต จำนวน 3 คน ตัวแทนนักศึกษาชั้นปีที่ 4 จำนวน 3 คน และหัวหน้ารายวิชาการฝึกโสตและการอ่านโน้ต จำนวน 1 คน ผลวิจัยพบว่า 1) ด้านการกำหนดจุดประสงค์การเรียนการสอน กำหนดโดยหัวหน้ารายวิชา ผู้สอนส่วนใหญ่เน้นการสอนเรื่องเสียงประสาน และผู้สอนอีก 1 คน เน้นการสอนในทุกด้าน 2) ด้านวิธีการสอน มุ่งเน้นให้ผู้เรียนได้ฝึกปฏิบัติ ใช้วิธีการสอนแบบผสมผสาน คือ การบรรยาย การสาธิตและการปฏิบัติ 3) ด้านเนื้อหาสาระในการเรียนการสอน เป็นไปตามคำอธิบายวิชาและเป็นทิศทางเดียวกันเสมอ มีการนัดหมายเพิ่มเติมให้แก่ผู้เรียนในหัวข้อที่ผู้เรียนสนใจหรือยังปฏิบัติได้ไม่ดี 4) ด้านกิจกรรมการเรียนการสอน ขั้นตอนและกิจกรรมขึ้นอยู่กับผู้สอนแต่ละคน และมีเปียโนเป็นสื่อการสอนอยู่เสมอ 5) ด้านการวัดผลและประเมินผล การวัดผลจะเป็นการเก็บคะแนนและมีการแบ่งสัดส่วนคะแนนอย่างชัดเจน มีการวัดผลทั้งระหว่างเรียนและหลังเรียนและมีการนำเทคโนโลยีเข้ามาช่วยในการวัดผล โดยจากการสัมภาษณ์อาจารย์ผู้สอนและผู้เรียน ได้ให้ข้อเสนอแนะเป็นแนวทางในการจัดการเรียนการสอนว่า ควรกำหนดจุดประสงค์อย่างชัดเจนเพื่อให้ผู้สอนปฏิบัติตามได้ถูกต้องและเป็นทิศทางเดียวกันและควรมีการประชุมร่วมกันอยู่เสมอ ควรใช้วิธีการสอนแบบผสมผสาน คือ การบรรยาย การสาธิต การปฏิบัติ ควรจัดเวลาในการสอนเสริมในหัวข้อที่ผู้เรียนสนใจหรือยังปฏิบัติได้ไม่ดี ผู้สอนควรใช้เปียโนเป็นสื่อการสอนและมีสื่อการสอนเพิ่มเติม เช่น สื่อทางเทคโนโลยี และควรมอบหมายการบ้านให้ผู้เรียนได้ฝึกปฏิบัติ การวัดผลควรแบ่งสัดส่วนของคะแนนชัดเจน
คำสำคัญ: การจัดการเรียนการสอน, โสตทักษะ อุดมศึกษา
คำสำคัญ: การจัดการเรียนการสอน, โสตทักษะ อุดมศึกษา
บทคัดย่อ
This qualitative research aimed to investigate the following five dimensions of music instruction methods for ear training in undergraduate studies :1) Defining teaching objectives; 2) Teaching methods; 3) Teaching content; 4) Learning activities and 5) Evaluation by studying data collected from the semi-structured interviews and non-participant observation of 3 instructors of ear training, 3 student representatives and 1 course leader in ear training. The results on the five dimensions revealed the following: 1) In defining teaching objectives, the objectives in the course description were determined by the course leader; 2 instructors focused on teaching in harmony and 1 instructor focused on all content. 2) For teaching methods, the focus was on self-practice and the use of integrated teaching methods, namely lecture, demonstration and practice. 3) The teaching content was based on the course description and was always in the same direction. Additional appointments were made with students on the topics in which the students were either interested or not performing well. 4) As for learning activities, the steps and activities depended on each instructor and always included a piano as teaching media. 5) In the area of evaluation, the evaluation should be clearly divided into sections and evaluated both during and after the course. In the interviews with instructors and students, it was suggested that clear objectives should be set for instructors to follow correctly and in the same direction. Furthermore, meetings should always be held together with the use of integrated teaching methods, namely lecture, demonstration and practice. Extra time should be arranged on topics of student interest or areas in which students are not performing well. Instructors should always have a piano and technology as teaching media. Instructors should give assignments for students to practice, while the evaluation should show clear scoring categories.
Keywords: Music Instruction, Ear Training, Graduate Study
Keywords: Music Instruction, Ear Training, Graduate Study
ผู้จัดพิมพ์/สำนักพิมพ์
มหาวิทยาลัยราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา สำนักวิทยบริการและเทคโนโลยีสารสนเทศ
ผู้ร่วมสร้างรรค์ ผู้ร่วมงาน
พิมลมาศ พร้อมสุขกุล
ชาลินี สุริยนเปล่งเเสง
ปรีญานันท์ พร้อมสุขกุล
วันที่ ปีที่จัดพิมพ์
2562
วันที่ผลิต วันที่จัดทำ
2021-08-09 06:57:07
วันที่ปรับปรุงข้อมูล
2021-08-09 06:57:07
ประเภท
thesis
รูปแบบ
application/pdf
แหล่งที่มา
วน. 372.87 พ713ก 2562
ภาษา
tha
ลิขสิทธิ์
มหาวิทยาลัยราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา
Degree (name, level, descipline, grantor)
ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต
ปริญญาโท
ดนตรี
มหาวิทยาลัยราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา
วันที่ใช้งาน
2562
คอลเลกชั่น
พิมตะวัน ลาภวณิชย์ . (2562). การศึกษาการจัดการเรียนการสอนโสตทักษะในระดับอุดมศึกษา กรณีศึกษาหลักสูตรดุริยางคศาสตร์บัณฑิต วิทยาลัยดุริยางคศิลป์ มหาวิทยาลัยมหิดล. มหาวิทยาลัยราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา สำนักวิทยบริการและเทคโนโลยีสารสนเทศ, คลังข้อมูลดิจิทัล สำนักวิทยบริการและเทคโนโลยีสารสนเทศ, accessed December 24, 2024, http://dlib.bsru.ac.th/s/library/item/1592