การพัฒนาตำรับยาเม็ดสมุนไพรประสะจันทน์แดง

Item

ชื่อเรือง

การพัฒนาตำรับยาเม็ดสมุนไพรประสะจันทน์แดง

ชื่อเรื่องรอง

FORMULATION DEVELOPMENT FOR PRASACHANDAENG TABLETS

ผู้แต่ง

กุสุมาศ ตันไชย

หัวเรื่อง

พืชสมุนไพร--การใช้ประโยชน์
พฤกษศาสตร์การแพทย์
ประสะจันทน์แดง

รายละเอียดอื่นๆ

การวิจัยนี้ป็นการวิจัยเชิงวิจัยและพัฒนา มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาอิทธิพลของการใส่สารยึดเกาะ PVP K-90 2) ศึกษาอิทธิพลของสารเพิ่มปริมาณ MDX 3) ศึกษาอิทธิพลของ MCC ชนิด Avicel PH101 และ Avicel PH102 ร่วมกับ MDX 4) พัฒนาสูตรตำรับยาเม็ดที่มีความเหมาะสมตามเกณฑ์ของ Food Supplements ในเภสัชตำรับ USP 40 (2017) และ มีคุณภาพมาตรฐานตาม เกณฑ์ของโรงงาน 5) ศึกษาองค์ประกอบทางพฤกษเคมี และวิธี Thin layer chromatographic และ 6) ศึกษาปริมาณสารออกฤทธิ์ที่ต้านอนุมูลอิสระ ของสมุนไพรในตำรับยาประสะจันทน์แดง โดยการทดสอบฤทธิ์ต้านออกชิเดชันด้วยวิธี DPPH assay วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงพรรณนาการทดสอบค่าที่เกิดการวิเคราะห์ถดถอยพหุร้อยละ 99.99 การวิจัยนี้ใช้เครื่องมือและสารเคมีทางห้องปฏิบัติการวิทยาศาสตร์ในการทดสอบ และใช้แบบบันทึกผลการเตรียมยาเม็ดประสะจันทน์แดงในแต่ละตำรับ
ผลการวิจัยพบว่า
1. ตำรับที่ใช้ PVP K-90, 2.5% และ 3.3% โดยที่ MDX มีปริมาณน้อยกว่า 40 mg จะทำให้ ยาเม็ดมีค่าความแข็งที่น้อยกว่า 4 kg ค่าความกร่อนที่มากกว่า 1% และใช้เวลาในการแตกตัวน้อยกว่า 1 นาที แต่หาก PVP K-90, 2.5% โดยที่ MDX มีปริมาณที่เพิ่มขึ้นเป็น 40, 80, 120 mg จะพบว่ามีค่าความแข็งที่เพิ่มขึ้น ค่าความกร่อนน้อยกว่า 19 และการแตกตัวใช้เวลานานขึ้นเป็นตั้งแต่ช่วงเวลา 12.53 ถึง มากกว่า 30 นาที
2. ผลประเมินอิทธิพลของ Avicel PH101 (ตำรับที่ 1-8) และ Avicel PH102 (ตำรับที่ 9-16) ในการทำแกรนูลเปียกร่วมกับ MDX พบว่าสารเพิ่มปริมาณทั้ง 2 ชนิดแปรผันตรงกัน
3. การพัฒนาสูตรตำรับยาเม็ดที่มีคุณภาพตามมาตรฐานได้แก่ ตำรับที่ 2, 6, 10 และ 14 โดย ทั้ง 4 ตำรับนี้มีค่าความแข็งอยู่ที่ 4.38, 5.11, 4.38 และ 4.46 ตามลำดับ มีค่าความกร่อนไม่เกิน 1% และควบคุมความชื้นได้ดีตามเกณฑ์มาตรฐาน
4. จากการตรวจหาองค์ประกอบทางพฤกษเคมีเบื้องต้นในตำรับยาประสะจันทน์แดง จะพบ กลุ่มสารแทนนิน ฟินอลลิก และฟลาโวนอยด์ เป็นส่วนมาก ส่วนปริมาณสารต้นอนุมูลอิสระ พบว่า ค่า ICso ของสารสกัดแก่นจันทน์แดง มีฤทธิ์ต้านอนุมูลอิสระสูงที่สุด (1.850+0.022) ในตำรับ

คำสำคัญ : ประสะจันทน์แดง, ยาเม็ดสมุนไพร

บทคัดย่อ

The purposes of this Formulation Development Herbals Tablets research were to 1) study the effect binder of PVP K-90. 2) To study the effect bulking agent of wet granulation with MDX. 3) To study the effect binder of MCC type Avicel PH101 and Avicel PH102 for use in the development of tablets with MDX. 4) Develop a formulation of
tablets on base of Food Supplements in USP 40 (2017) pharmacopeia and quality on Good manufacturing practice. 5) Studying phytochemical knowledge various activities in the extracts and Thin layer chromatographic 6) Study anti-oxidation with free radical
scavenging activity DPPH assays. Data analysis by independent sample T-test was 99.99%. Using equipment chemical laboratory scientific test.The results revealed the followings.
1. Effect binder of PVP K-90, 2.5% and 3.3% by MDX <40 mg would make the hardness tablets less than 4 kg, %Friability > 1% and Disintegration time over 1 minute but PVP K-90, 2.5% by MDX increased to 40, 80, 120 mg. the hardness is increased %Friability <1% and Disintegration time in 12.53 min. or more than 30 min.
2. Evaluation of the influence of Avicel PH101 (recipe 1-8) and Avicel PH102 (recipe 9-16) with MDX is Variable variation.
3. Preparation a tablet formulation of 2, 6, 10 and 14 with four recipe had a hardness tablets were 4.38, 5.11, 4.38 and 4.46 %Friability <1% with disintegration time and %loss on drying in the USP40 (2017).
4. Studying phytochemical knowledge found tannin, phenolic and flavonoid compound and study antioxidation it was found that IC50 of Dracaenaceae extract (1.850±0.022) had more in 12 extract in Prasachandaeng recipe.

Keywords : Prasachandaeng, Herbal Tablets

ผู้จัดพิมพ์/สำนักพิมพ์

มหาวิทยาลัยราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา สำนักวิทยบริการและเทคโนโลยีสารสนเทศ

ผู้ร่วมสร้างรรค์ ผู้ร่วมงาน

อัจฉรา แก้วน้อย
สมบรูณ์ เจตลีลา
ศุภรัตน์ ดวนใหญ่

วันที่ ปีที่จัดพิมพ์

2562

วันที่ผลิต วันที่จัดทำ

2021-08-09 06:57:07

วันที่ปรับปรุงข้อมูล

2021-08-09 06:57:07

รูปแบบ

thesis

แหล่งที่มา

วน 615.321 ก733ก 2562

ภาษา

tha

ลิขสิทธิ์

มหาวิทยาลัยราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา

Degree (name, level, descipline, grantor)

วิทยาศาสตร์มหาบัณฑิต
หลักสูตรปริญญาโท
เภสัชกรรมไทย
มหาวิทยาลัยราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา

วันที่ใช้งาน

2562

คอลเลกชั่น

กุสุมาศ ตันไชย . (2562). การพัฒนาตำรับยาเม็ดสมุนไพรประสะจันทน์แดง. มหาวิทยาลัยราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา สำนักวิทยบริการและเทคโนโลยีสารสนเทศ, คลังข้อมูลดิจิทัล สำนักวิทยบริการและเทคโนโลยีสารสนเทศ, accessed December 24, 2024, http://dlib.bsru.ac.th/s/library/item/1588

นำออกข้อมูล :