กระบวนการถ่ายทอดเครื่องดนตรีพื้นบ้านซึง 6 สายของครูศรชัย เต็งรัตน์ล้อม
Item
ชื่อเรือง
กระบวนการถ่ายทอดเครื่องดนตรีพื้นบ้านซึง 6 สายของครูศรชัย เต็งรัตน์ล้อม
ชื่อเรื่องรอง
The process of transmitting Northern folk instruments, Seung 6 lines of the stringed instrument, by Kru.Sornchai Tengratlom.
ผู้แต่ง
สุวิชชา สิงห์โตทอง
หัวเรื่อง
ดนตรีพื้นบ้าน -- ไทย (ภาคเหนือ)
เครื่องดนตรีพื้นบ้าน -- ไทย (ภาคเหนือ)
ซึง 6 สาย
รายละเอียดอื่นๆ
การวิจัยนี้เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษากระบวนการการถ่ายทอดเครื่องดนตรีพื้นบ้านซึง 6 สาย ของครูศรชัย เต็งรัตน์ล้อมเครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยประกอบด้วยการสัมภาษณ์ การสังเกตแบบมีส่วนร่วม จากกลุ่มผู้ให้ข้อมูล แบ่งเป็น 2 กลุ่มคือ ผู้รู้คือกลุ่มผู้ให้ข้อมูลเชิงลึกในด้านต่างๆและกลุ่มผู้ปฏิบัติ ที่ได้รับการถ่ายทอดการบรรเลงซึง 6 สาย โดยตรงจาก ครูศรชัย เต็งรัตน์ล้อม จำนวน 11 ท่าน ผลการวิจัยพบว่า ครูศรชัย เต็งรัตน์ล้อม เป็นผู้ที่มีความรู้ความสามารถในดนตรีพื้นบ้าน จึงได้นำองค์ความรู้ที่มีนั้น นำมาถ่ายทอดให้แก่ลูกศิษย์ ด้วยวิธีการสอนแบบปากต่อปาก การต่อมือ หรือเรียกอีกอย่างว่าการสอนแบบมุขปาฐะ โดยแบ่งกลุ่มลูกศิษย์ออกเป็น 2 กลุ่ม ดังนี้ 1) กลุ่มที่ไม่มีพื้นฐานดนตรีพื้นบ้าน และ 2) กลุ่มที่มีพื้นฐานดนตรีพื้นบ้าน เพื่อให้เหมาะสมและง่ายต่อการถ่ายทอด อีกทั้งท่านเป็นครูดนตรีพื้นบ้านที่มีความคิดทันสมัย จึงได้ทำการบันทึกโน้ตเพลงต่างๆไว้เป็นลายลักอักษร เพื่อให้บุคคลที่สนใจ ง่ายต่อการศึกษาค้นคว้าความเป็นมา เพื่อเป็นการรักษาสืบสานและอนุรักษ์ภูมิปัญญาวัฒนธรรมท้องถิ่นสืบไป
คำสำคัญ: กระบวนการถ่ายทอด, ดนตรีพื้นบ้านภาคเหนือ ,ซึง 6 สาย
คำสำคัญ: กระบวนการถ่ายทอด, ดนตรีพื้นบ้านภาคเหนือ ,ซึง 6 สาย
บทคัดย่อ
This qualitative research aimed to study the process of transferring folk instruments, 6 lines of the stringed instruments of Sornchai Tengratlom. The tools used in the research consisted of interviews and participatory observations from informative groups. They were divided into 2 groups, namely, knowledgeable people, those who provided insights in various fields, and a group of practitioners who have been transferred folk instrument, 6 lines of the stringed instrument of Sornchai Tengratlom a total of 11 people. The results showed that Sornchai Tengratlom was a person who has teacher Being a person who be haves knowledge that has to be conveyed to students by means of word-of-mouth teaching, hand-to-hand, or also known as oral teaching. By dividing the students into 2 groups as follows: 1) groups that did not have basic folk music and 2) groups with folk music basics to be suitable and easy to convey. Sornchai Tengratlom also was a teacher with modern ideas. Therefore, he recorded the notes in alphabetical, so that interested people could study and research the history easily in order to carry on and conserve local culture wisdom foever.
Keywords: Process of tranferring, Norther Folk music, Seung 6 lines
Keywords: Process of tranferring, Norther Folk music, Seung 6 lines
ผู้จัดพิมพ์/สำนักพิมพ์
มหาวิทยาลัยราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา สำนักวิทยบริการและเทคโนโลยีสารสนเทศ
ผู้ร่วมสร้างรรค์ ผู้ร่วมงาน
พิมลมาศ พร้อมสุขกุล
โดม สว่างอารมย์
รุ่งเกียรติ สิริวงษ์สุวรรณ
วันที่ ปีที่จัดพิมพ์
2561
วันที่ผลิต วันที่จัดทำ
2021-08-09 06:57:07
วันที่ปรับปรุงข้อมูล
2021-08-09 06:57:07
ประเภท
thesis
รูปแบบ
application/pdf
แหล่งที่มา
วน 371.102 ส879ก2561
ภาษา
tha
ลิขสิทธิ์
มหาวิทยาลัยราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา
Degree (name, level, descipline, grantor)
ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต
ปริญญาโท
ดนตรี
มหาวิทยาลัยราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา
วันที่ใช้งาน
2561
คอลเลกชั่น
สุวิชชา สิงห์โตทอง . (2561). กระบวนการถ่ายทอดเครื่องดนตรีพื้นบ้านซึง 6 สายของครูศรชัย เต็งรัตน์ล้อม. มหาวิทยาลัยราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา สำนักวิทยบริการและเทคโนโลยีสารสนเทศ, คลังข้อมูลดิจิทัล สำนักวิทยบริการและเทคโนโลยีสารสนเทศ, accessed December 24, 2024, http://dlib.bsru.ac.th/s/library/item/1576