การพัฒนาผลิตภัณฑ์เจลต้านอนุมูลอิสระและต้านสแตฟฟีโลคอสคัส ออเรียสจากสารสกัดใบย่านางสำหรับผิว
Item
ชื่อเรือง
การพัฒนาผลิตภัณฑ์เจลต้านอนุมูลอิสระและต้านสแตฟฟีโลคอสคัส ออเรียสจากสารสกัดใบย่านางสำหรับผิว
ชื่อเรื่องรอง
Development of Gel for Antioxidant activity and anti staphylococcus aureus from Yanang leaves extracts for skin
ผู้แต่ง
พิชญ์พิมล กานดารักษ์
หัวเรื่อง
ย่านาง (พืช)
ย่านาง (พืช) -- การใช้ประโยชน์
พืชสมุนไพร
พฤกษศาสตร์การแพทย์
เครื่องสำอางสมุนไพร
ผลิตภัณฑ์สมุนไพร
รายละเอียดอื่นๆ
การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาฤทธิ์ต้านอนุมูลอิสระและสารฟีนอลลิคของใบย่านางที่สกัดด้วยเอทานอล และเมทานอล 2) ศึกษาฤทธิ์ต้านเชื้อ S.aureus ด้วยวิธี Diffusion Test ความเข้มข้นต่ำสุดที่ยับยั้งเชื้อ (MIC) และที่ฆ่าเชื้อทดสอบได้ (MBC) 3) พัฒนาตำรับเจลสารสกัดใบย่านางด้วย เอทานอล จากค่าร้อยละการต้านอนุมูลอิสระ และปริมาณสารฟีนอลิกของตำรับ ผลการวิจัยพบว่า สารสกัดใบย่านางด้วยเมทานอล และเอทานอล มีค่าร้อยละการต้านอนุมูล เท่ากับ 51.273 ± 0.024 และ 39.686 ± 0.005 และที่เข้มข้น 10 mg ต่อ 1 mg จะมีปริมาณสารประกอบฟีนอลิกทั้งหมดเท่ากับ 1.440 ± 0.199 และ 1.316 ± 0.015 (mgGAE/1000ml) มีฤทธิ์ยับยั้งเชื้อ S. aureus ที่ความเข้มข้น 20mg/Disc ขนาดโซนเท่ากับ14.5 และ12.21mm ความเข้มข้นต่ำสุดที่ยับยั้งเชื้อ (MIC) มีค่า 62.5 mg/ml เท่ากันทั้งสองชนิด และที่ฆ่าเชื้อทดสอบได้ (MBC) มีค่าเท่ากับ 500 mg/ml เท่ากันทั้งสองสารสกัด ตำรับเจลสารสกัดใบย่านางด้วยเอทานอล F1 และ F2 หลังจากสภาวะเร่งมีค่าปริมาณ สารฟินอลิกทั้งหมด เท่ากับ 15.49 ± 0.004 ตำรับ F2 มีค่าร้อยละการต้านอนุมูลอิสระเพิ่มขึ้น 2.72 คิดเป็นค่าร้อยละการอนุมูลอิสระเท่ากับ 31.82±0.000 ปริมาณสารฟีนอลิกทั้งหมด เท่ากับ 10.87±0.35 และ11.00±0.25 ตำรับ F2 ไม่เปลี่ยนสีและกลิ่น เจล 50 µl สามารถยับยั้งเชื้อ S. aureus ขนาดโซนเท่ากับ 19.67±0.577 mm. เจลสารสกัดใบย่านางด้วยเอทานอลจึงเหมาะสมกับสภาพผิวหนัง คำสำคัญ : ย่านาง ฤทธิ์ต้านอนุมูลอิสระ สารฟีนอลลิค เจล
บทคัดย่อ
The purposes of this research were to 1) Study the antioxidant activity and phenolic compound of Yanang leave extracted with ethanol and methanol. 2) Study the antibacterial Staphylococcus aureus of Yanang ethanol extract and methanol extract. 3) Formulate gel Yanang ethanol extract for maximum of antioxidants activity and total phenolic compounds of the formula. The findings revealed as follow: Yanang methanol extract has antioxidant activity by DPPH assay, with 51.273 ± 0.024 and 39.686 ± 0.005 mg/ml the highest.The Phenolic compound of Yanang methanol extract total content 1.440 ± 0.199 while Yanang ethanol extracted content 1.316 ± 0.015 (mgGAE / 1000ml) For Yanang methanol extract and ethanol extract at 20mg / Disc inhibition of the zone size 14.5 and 12.21 mm. The lowest inhibitory concentration (MIC) was 62.5 mg /ml and MBC at 500 mg /ml Yanang methanol extract and ethanol extract the same Gel Yanang ethanol extract F1 and F2 both showed the total phenolic content 15.49 ± 0.004 after accelerated conditions. The formulation F2 increase in antioxidant activity 2.72, equal to 31.82 ± 0.000, total phenolic content equal to 10.87 ± 0.35 and 11.00 ± 0.25. Formulation F2 no color or smell change. Gel 50 µl can inhibit S. aureus, zone size 19.67 ± 0.577 mm. Gel Yanang ethanol extract suitable for skin care. Keyword (s): Yanang Antioxidant Phenolic compound Gel
ผู้จัดพิมพ์/สำนักพิมพ์
มหาวิทยาลัยราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา สำนักวิทยบริการและเทคโนโลยีสารสนเทศ
ผู้ร่วมสร้างรรค์ ผู้ร่วมงาน
อัจฉรา แก้วน้อย
อรุณ ชาญชัยเชาวน์วิวัฒน์
สุชาดา มานอก
วันที่ ปีที่จัดพิมพ์
2561
วันที่ผลิต วันที่จัดทำ
2021-08-09 06:57:07
วันที่ปรับปรุงข้อมูล
2021-08-09 06:57:07
ประเภท
thesis
รูปแบบ
application/pdf
แหล่งที่มา
วน 615.32334 พ639ก 2561
ภาษา
tha
ลิขสิทธิ์
มหาวิทยาลัยราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา
Degree (name, level, descipline, grantor)
วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต
ปริญญาโท
เภสัชกรรมไทย
มหาวิทยาลัยราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา
วันที่ใช้งาน
2561
คอลเลกชั่น
พิชญ์พิมล กานดารักษ์ . (2561). การพัฒนาผลิตภัณฑ์เจลต้านอนุมูลอิสระและต้านสแตฟฟีโลคอสคัส ออเรียสจากสารสกัดใบย่านางสำหรับผิว. มหาวิทยาลัยราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา สำนักวิทยบริการและเทคโนโลยีสารสนเทศ, คลังข้อมูลดิจิทัล สำนักวิทยบริการและเทคโนโลยีสารสนเทศ, accessed December 24, 2024, http://dlib.bsru.ac.th/s/library/item/1552