แนวทางการประหยัดพลังงานไฟฟ้าในการผลิตอุปกรณ์ปัดน้ำฝนรถยนต์
Item
ชื่อเรือง
แนวทางการประหยัดพลังงานไฟฟ้าในการผลิตอุปกรณ์ปัดน้ำฝนรถยนต์
ชื่อเรื่องรอง
Approach to Electric Energy Saving in Automotive Wiper Equipment Production
ผู้แต่ง
ส่งสุข ศรีน้อยขาว
หัวเรื่อง
รถยนต์ -- ชิ้นส่วน -- การผลิต
อุตสาหกรรมชิ้นส่วนรถยนต์ -- การควบคุมการผลิต
อุตสาหกรรมชิ้นส่วนรถยนต์ -- การอนุรักษ์พลังงาน
รถยนต์ -- เครื่องมือและอุปกรณ์
การวางแผนการผลิต
การควบคุมกระบวนการผลิต
ผลิตภัณฑ์สีเขียว
รายละเอียดอื่นๆ
การวิจัยครั้งนี้ มีจุดประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาปริมาณการใช้พลังงานไฟฟ้าและค่าดัชนีการใช้พลังงานจำเพาะ 2) ศึกษาแนวทางการประหยัดพลังงานไฟฟ้าในการผลิตอุปกรณ์ปัดน้ำฝนรถยนต์ซึ่งมีขั้นตอนการศึกษาคือ 1) ศึกษาปริมาณการใช้พลังงานไฟฟ้าในกระบวนการผลิตชุดขดลวดมอเตอร์ปัดน้ำฝน Armature WM ชุดมอเตอร์ปัดน้ำฝน Wiper Motor 21 ชุดมอเตอร์ปัดน้ำฝน Wiper Motor 72 โดยการตรวจวัดค่าการใช้พลังงานไฟฟ้า ใช้เครื่องมือวัด และแบบบันทึกข้อมูล 2) ศึกษาดัชนีการใช้พลังงานจำเพาะโดยแยกสัดส่วนพลังงานไฟฟ้าที่ใช้ต่อผลิตภัณฑ์เอาพลังงานที่ใช้ หารด้วยผลผลิต 3) กำหนดแนวทางการประหยัดพลังงานไฟฟ้าโดยการสนทนากลุ่ม (Focus Group)ประกอบด้วยตัวแทนจาก 7 หน่วยงาน 4) ประเมินแนวทางการประหยัดพลังงานไฟฟ้า แบ่งออกเป็น 2 ช่วง ก่อนดำเนินการ และหลังจากดำเนินการโดยใช้สูตรหาค่าที (t-test) เพื่อทดสอบสมมติฐาน ผลการศึกษาพบว่า 1. ผลการศึกษาปริมาณการใช้พลังงานไฟฟ้าและค่าดัชนีการใช้พลังงานจำเพาะ พบว่าผลิตภัณฑ์ชุดขดลวดมอเตอร์ปัดน้ำฝน Armature WM ใช้พลังงานไฟฟ้าสูงสุดอยู่ที่ 219,212 กิโลวัตต์-ชั่วโมง/ปี ร้อยละ 69 ค่าดัชนีการใช้พลังงานจำเพาะสูงสุดอยู่ที่ 22.53 เมกะจูล/ชิ้น ร้อยละ 46 และผลิตภัณฑ์ชุดมอเตอร์ปัดน้ำฝน Wiper Motor 21 ใช้พลังงานไฟฟ้าสูงสุดอยู่ที่ 45,090 กิโลวัตต์-ชั่วโมง/ปี ร้อยละ 14 ค่าดัชนีการใช้พลังงานจำเพาะสูงสุดอยู่ที่ 16.46 เมกะจูล/ชิ้น ร้อยละ 34 ส่วนผลิตภัณฑ์ชุดมอเตอร์ปัดน้ำฝน Wiper Motor 72 ใช้พลังงานไฟฟ้าสูงสุดอยู่ที่ 55.013 กิโลวัตต์-ชั่วโมง/ปี ร้อยละ 17 ค่าดัชนีการใช้พลังงานจำเพาะสูงสุดอยู่ที่ 9.86 เมกะจูล/ชิ้น ร้อยละ 20 2. ผลการศึกษาแนวทางการประหยัดพลังงานไฟฟ้า พบว่าแนวการประหยัดพลังงานไฟฟ้าในรูปแบบที่ไม่มีการลงทุน ประกอบด้วย 1) ปรับลดแรงดันหม้อแปลง 630 kVA ไลน์ผลิตชุดมอเตอร์ปัดน้ำฝน Wiper Motor 21 และชุดมอเตอร์ปัดน้ำฝน Wiper Motor 72 หลังการปรับปรุง พลังงานไฟฟ้าที่ประหยัดได้ 266 kWh /ปี เงินที่ประหยัดได้ 805 บาทต่อปี 2) ปรับลดแรงดันหม้อแปลง 500 kVA ไลน์ผลิตชุดขดลวดมอเตอร์ปัดน้ำฝน Armature WM หลังการปรับปรุงพลังงานไฟฟ้าที่ประหยัดได้ 245 kWh/ปี เงินที่ประหยัดได้ 740 บาทต่อปี และ 3) ปรับตั้งแรงดันเครื่องอัดอากาศ จาก 8 บาร์ ลดลง 6.5 บาร์ หลังการปรับปรุงลดลง 21.2 kW พลังงานไฟฟ้าที่ประหยัดได้ 90,460 kWh/ปี เงินที่ประหยัดได้ 245.146 บาทต่อปี ส่วนแนวประหยัดพลังงานไฟฟ้าในรูปแบบที่มีการลงทุน ใช้วิธีการติดตั้งอุปกรณ์ควบคุมความเร็วรอบมอเตอร์สายพานลำเลียงหลังการปรับปรุงลดลง 4,907 kWh/ปี เงินทีประหยัดได้ 14.475 บาทต่อปี ค่าใช้จ่ายในการลงทุนติดตั้ง (VSD) Inverter ประมาณ 15,000 บาท ระยะเวลาคืน 0.71 ปี 3. ผลการประเมินแนวทางประหยัดพลังงานไฟฟ้า พบว่า 1) ผลิตภัณฑ์ชุดขดลวดมอเตอร์ปัดน้ำฝน Armature WM หลังดำเนินการประหยัดพลังงานไฟฟ้า มีค่าดัชนีการใช้พลังงานจำเพาะ ลดลงอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 และ 2) ผลิตภัณฑ์ชุดมอเตอร์ปัดน้ำฝน Wiper Motor 21 หลังดำเนินการประหยัดพลังงานไฟฟ้า มีค่าดัชนีการใช้พลังงานจำเพาะลดลงอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 และ 3) ผลิตผลิตภัณฑ์ชุดมอเตอร์ปัดน้ำฝน Wiper Motor 72 หลังดำเนินการประหยัดพลังงานไฟฟ้า มีค่าดัชนีการใช้พลังงานจำเพาะลดลงอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01
คำสำคัญ : พลังงานไฟฟ้า, ดัชนีการใช้พลังงานจำเพาะ, มอเตอร์ปัดน้ำฝน
คำสำคัญ : พลังงานไฟฟ้า, ดัชนีการใช้พลังงานจำเพาะ, มอเตอร์ปัดน้ำฝน
Table Of Contents
The purpose of this research 1) Study the electric energy consumption and study specific energy consumption 2) Study approach to electric energy saving in automotive wiper equipment production the study process 1) Study electric energy consumption in product coil wiper motor Armature WM product Wiper Motor 21 product Wiper Motor 72 by measurement electric energy consumption using measurement tool and data recording 2) Study specific energy consumption for energy consuming products divided by output 3) Set approach electric energy saving by Focus Group Consisting of representatives from 7 departments 4) Evaluate approach to electric energy saving by dividing into 2 phases before proceeding and after proceeding by using the formula for t-test to test the hypothesis. The results show that 1. The result in study of electric energy consumption and specific energy consumption product coil wiper motor Armature WM using electric energy consumption maximum 219,212 kWh-hour/year 69 percent specific energy consumption maximum 22.53 Mega joules / piece 46 percent and product Wiper Motor 21 using electric energy consumption maximum 45,090 kWh/year 14 percent specific energy consumption maximum 16.46 Mega joules / piece 34 percent part of product Wiper Motor 72 using electric energy consumption maximum 55,013 kWh/year 17 percent specific energy consumption maximum 9.86 Mega joules / piece 20 percent 2. The result in study of the approach electric energy saving was found that approach to electric energy saving in the form of no investment 1) voltage reduction of the transformer 630 kVA product line Wiper Motor 21 and set Wiper Motor 72 after improvement electric energy saving 266 kWh / year saving money 805 baht per year 2) voltage reduction of the transformer 500 kVA product coil wiper motor Armature WM after improvement electric energy saving 245 kWh / year, saving money 704 baht per year 3) setting the air compressor pressure from 8 bars, decrease 6.5 bars after the improvement, decrease 21.2 kW electric energy saving 90,460 kWh / year saving money 245,146 baht per year. part of was found that approach to electric energy saving in the form of investment use the method of installing the motor speed control devices for the conveyor belt after adjustment decreasing 4,907 kWh / year saving money 14,147 baht per year. The installation investment cost (VSD) Inverter is about 15,000 baht, the return period is 0.71 years. 3. The results of the evaluation of electrical energy saving methods was found that 1) product coil wiper motor Armature WM after performing electric energy saving with specific energy consumption decreased significantly statistical level .01 and 2) product Wiper Motor 21 after performing electric energy saving with specific energy consumption decreased significantly statistical level .05 and 3) product Wiper Motor 72 after performing electric energy saving with specific energy consumption decreased significantly statistical level .01
Keywords: electric energy, specific energy consumption, wiper motor
Keywords: electric energy, specific energy consumption, wiper motor
ผู้จัดพิมพ์/สำนักพิมพ์
มหาวิทยาลัยราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา สำนักวิทยบริการและเทคโนโลยีสารสนเทศ
ผู้ร่วมสร้างรรค์ ผู้ร่วมงาน
นุกูล สาระวงศ์
ณัฐดนัย สิงห์คลีวรรณ
อัครวัฒน์ ดวงนิล
วันที่ ปีที่จัดพิมพ์
2561
วันที่ผลิต วันที่จัดทำ
2021-08-09 06:57:07
วันที่ปรับปรุงข้อมูล
2021-08-09 06:57:07
ประเภท
thesis
รูปแบบ
application/pdf
แหล่งที่มา
วน 629.276 ส143น 2561
ภาษา
tha
ลิขสิทธิ์
มหาวิทยาลัยราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา
Degree (name, level, descipline, grantor)
วิศวกรรมศาสตรมหาบัณฑิต
ปริญญาโท
การจัดการอุตสาหกรรม
มหาวิทยาลัยราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา
วันที่ใช้งาน
2561
คอลเลกชั่น
ส่งสุข ศรีน้อยขาว . (2561). แนวทางการประหยัดพลังงานไฟฟ้าในการผลิตอุปกรณ์ปัดน้ำฝนรถยนต์. มหาวิทยาลัยราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา สำนักวิทยบริการและเทคโนโลยีสารสนเทศ, คลังข้อมูลดิจิทัล สำนักวิทยบริการและเทคโนโลยีสารสนเทศ, accessed December 24, 2024, http://dlib.bsru.ac.th/s/library/item/1551