การพัฒนาหลักสูตรเสริมสร้างความสามารถในการแก้ปัญหาความขัดแย้งด้วยการใช้กรณีตัวอย่างสำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4

Item

ชื่อเรือง

การพัฒนาหลักสูตรเสริมสร้างความสามารถในการแก้ปัญหาความขัดแย้งด้วยการใช้กรณีตัวอย่างสำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4

ชื่อเรื่องรอง

THE DEVELOPMENT OF CONFLICT PROBLEM SOLVING SKILL ENHANCEMENT PROGRAM THROUGH CASE STUDY FOR MATTHAYOMSUKSA 4 STUDENTS

ผู้แต่ง

รังสิยา ดวงจินดา

หัวเรื่อง

ความขัดแย้ง (จิตวิทยา)
การแก้ปัญหา -- การศึกษาและการสอน
การบริหารความขัดแย้ง
ความคิดอย่างมีวิจารณญาณ
การวางแผนหลักสูตร
การวางแผนการศึกษา

รายละเอียดอื่นๆ

การวิจัยนี้เป็นการวิจัยเชิงกึ่งทดลอง โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) พัฒนาหลักสูตรเสริมสร้างความสามารถในการแก้ปัญหาความขัดแย้งด้วยการใช้กรณีตัวอย่างสำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษา ปีที่ 4 2) เปรียบเทียบความสามารถในการแก้ปัญหาความขัดแย้งระหว่างก่อนและหลังการใช้หลักสูตรและ 3) ศึกษาความพึงพอใจของนักเรียนต่อหลักสูตรเสริมสร้างความสามารถในการแก้ปัญหาความขัดแย้งด้วยการใช้กรณีตัวอย่าง กลุ่มตัวอย่างเป็นนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4โรงเรียนเซนต์ปีเตอร์ ธนบุรี กรุงเทพมหานคร จำนวน 35 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ประกอบด้วย 1) แผนการจัดการเรียนรู้ 2) แบบทดสอบวัดความสามารถในการแก้ปัญหาความขัดแย้ง และ 3) แบบประเมินความพึงพอใจ ดำเนินการเก็บรวบรวมข้อมูลในภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2557 สถิติที่ใช้วิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานและการทดสอบค่าที ผลการวิจัยพบว่า 1. หลักสูตรที่พัฒนาขึ้นมีคุณภาพอยู่ในระดับมากที่สุด โดยมีองค์ประกอบครบถ้วน ได้แก่ หลักการ จุดมุ่งหมาย โครงสร้างเนื้อหาและเวลา การจัดการเรียนรู้ สื่อและแหล่งเรียนรู้ การวัดและประเมินผล 2. ความสามารถในการแก้ปัญหาความขัดแย้งของนักเรียนหลังการใช้หลักสูตรสูงกว่าก่อนใช้อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.01 3. ความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อหลักสูตรเสริมสร้างความสามารถในการแก้ปัญหาความขัดแย้งด้วยการใช้กรณีตัวอย่างอยู่ในระดับมาก

คำสำคัญ: การพัฒนาหลักสูตร ความสามารถในการแก้ปัญหาความขัดแย้ง

บทคัดย่อ

The purposes of this quasi-experimental research were 1) to develop conflict problem solving skill enhancement program through case study for Matthayomsuksa 4 Students 2) to compare students’ conflict problem solving skill between pretest and posttest results and 3) to study the students’ satisfaction towards the developed program through case study. The sample included 35 Matthayomsuksa 4 students from Saint Peter School, Thonburi, Bangkok. The research instruments involved 1) lesson plans 2) tests of conflict problem solving skill and 3) questionnaire. Data were collected in the 1st semester of academic year 2014 and were statistically analyzed by percentage, mean, standard deviation and t-test. The findings revealed as follows. 1. The quality of the developed program was found at the highest level. It delineated 4 components, i.e., principles, objectives, contents and time, instruction, medias and learning sources and measurement and evaluation. 2. The students’ conflict problem solving skill after implementing the program was higher than that before the experiment at significance level 0.01. 3. The students’ satisfaction towards the developed program was found at the high level.

Keywords: Program Development, Conflict Problem Solving Skill

ผู้จัดพิมพ์/สำนักพิมพ์

มหาวิทยาลัยราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา สำนักวิทยบริการและเทคโนโลยีสารสนเทศ

ผู้ร่วมสร้างรรค์ ผู้ร่วมงาน

วิโฬฏฐ์ วัฒนานิมิตกูล
สุภรณ์ ลิ้มบริบูรณ์

วันที่ ปีที่จัดพิมพ์

2561

วันที่ผลิต วันที่จัดทำ

2021-08-09 06:57:07

วันที่ปรับปรุงข้อมูล

2021-08-09 06:57:07

ประเภท

thesis

รูปแบบ

application/pdf

ภาษา

tha

รหัส

ลิขสิทธิ์

มหาวิทยาลัยราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา

Degree (name, level, descipline, grantor)

ครุศาสตรมหาบัณฑิต
ปริญญาโท
หลักสูตรและการสอน
มหาวิทยาลัยราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา

วันที่ใช้งาน

2561

คอลเลกชั่น

รังสิยา ดวงจินดา . (2561). การพัฒนาหลักสูตรเสริมสร้างความสามารถในการแก้ปัญหาความขัดแย้งด้วยการใช้กรณีตัวอย่างสำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4. มหาวิทยาลัยราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา สำนักวิทยบริการและเทคโนโลยีสารสนเทศ, คลังข้อมูลดิจิทัล สำนักวิทยบริการและเทคโนโลยีสารสนเทศ, accessed December 24, 2024, http://dlib.bsru.ac.th/s/library/item/1550

นำออกข้อมูล :