ฤทธิ์ต้านเชื้อ Methicillin-Resistant Staphylococcus Aureus (MRSA) ของน้ำมันตะไคร้และสบู่เหลวที่มีน้ำมันตะไคร้เป็นสารออกฤทธิ์

Item

ชื่อเรือง

ฤทธิ์ต้านเชื้อ Methicillin-Resistant Staphylococcus Aureus (MRSA) ของน้ำมันตะไคร้และสบู่เหลวที่มีน้ำมันตะไคร้เป็นสารออกฤทธิ์

ชื่อเรื่องรอง

Antibacterial Activity of Lemongrass Oil and its Liquid Soap Against Methicillin-resistant Staphylococcus aureus (MRSA)

ผู้แต่ง

ภรณ์ประภา อ่วมนุช

หัวเรื่อง

ตะไคร้ -- การใช้ประโยชน์
สบู่เหลว
น้ำมันตะไคร้
พืชสมุนไพร
น้ำมันหอมระเหย
การสกัด (เคมี)

รายละเอียดอื่นๆ

การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) พัฒนาพาร์ทิเคิลที่มีน้ำมันตะไคร้เป็นสารออกฤทธิ์ เพื่อใช้เพิ่มความคงตัวของน้ำมันตะไคร้ในสบู่เหลว และ 2) ทดสอบยืนยันฤทธิ์ยับยั้งเชื้อ Methicillin-resistant Staphylococcus aureus (MRSA) ของน้ำมันตะไคร้ โดยทดสอบหาความเข้มข้นต่ำสุด ของน้ำมันตะไคร้ ที่ใช้ในการยับยั้งการเจริญเติบโตของเชื้อ MRSA และความเข้มข้นต่ำสุด ที่กำจัดเชื้อได้ ทำการทดสอบหาผลของน้ำมันตะไคร้ในการยับยั้งการเจริญเติบโตของเชื้อแบคทีเรีย ต่อหน่วยเวลา นำความเข้มข้นที่เหมาะสมไปพัฒนาเม็ดพาร์ทิเคิลของน้ำมันตะไคร้ และพัฒนาตำรับสบู่เหลวที่มีพาร์ทิเคิลช่วยเพิ่มความคงตัวของน้ำมันตะไคร้ และทดสอบความคงตัวของสบู่เหลวที่ได้ โดยเก็บในสภาวะเร่ง คือเก็บในสภาวะทึบแสง อุณหภูมิ 4 องศาเซลเซียส สลับกับอุณหภูมิ 45 องศาเซลเซียส เป็นเวลา 10 วัน ผลการวิจัยพบว่า 1) เม็ดพาร์ทิเคิลไขมันแข็งสามารถเพิ่มความคงตัวของน้ำมันตะไคร้ในสบู่เหลวได้ โดยการเตรียมน้ำมันตะไคร้ในรูป Solid Lipid Particles สามารถช่วยลดการระเหยและออกซิไดซ์ สังเกตได้จากมีการเปลี่ยนแปลงของสีและกลิ่นน้อยกว่าสบู่ที่ผสมน้ำมันตะไคร้ลงไปโดยตรง สบู่ที่ผสมโดยตรงมีการเปลี่ยนแปลงของสีและกลิ่นอย่างชัดเจน 2) น้ำมันตะไคร้มีค่าความเข้มข้นต่ำสุดที่สามารถยับยั้งเชื้อจุลชีพและค่าความเข้มข้นต่ำสุดที่สามารถกำจัดเชื้อจุลชีพต่อเชื้อ MRSA เท่ากับ 31.25 mg/ml โดยจากการวิเคราะห์องค์ประกอบทางเคมีของน้ำมันตะไคร้ สารประกอบที่มีฤทธิ์ในการยับยั้งเชื้อ MRSA คือ Citral และGeraniol คำสำคัญ: พาร์ทิเคิล, น้ำมันตะไคร้ สบู่เหลว

บทคัดย่อ

The purposes of this research were 1) to develop particles with lemongrass oil as an active substance to increase stability of lemongrass oil in liquid soap and 2) to testify antibacterial activity against Methicillin-resistant Staphylococcus aureus (MRSA) of lemongrass oil through finding MRSA Minimal Inhibitory Concentration (MIC), Minimum Bacterial Concentration (MBC), and Time-Kill Assay. The obtained concentration was applied to development of particles of lemongrass oil and formulation of liquid soap with particles assisting with stability of lemongrass oil. The obtained stability of the liquid soap was tested using Accelerated Shelf Life Test (ASLT) at 4°C and 45°C alternately under opacity for 10 days. The findings revealed the followings. 1) The particles with solid lipid could increase the stability of lemongrass oil in liquid soap through preparation of solid lipid particles, which reduced evaporation and oxidation. This was confirmed by change in colour and odour less than liquid soap with direct lemongrass oil mixing the colour and ordour of which changed markedly. 2) MRSA Minimal Inhibitory Concentration (MIC) and Minimum Bacterial Concentration (MBC) measured 31.25 mg/ml. After analyzing chemical composition of lemongrass oil, the active substances against MRSA include Citral and Geraniol. Keywords: Particles, Lemongrass Oil, Liquid Soap

ผู้จัดพิมพ์/สำนักพิมพ์

มหาวิทยาลัยราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา สำนักวิทยบริการและเทคโนโลยีสารสนเทศ

ผู้ร่วมสร้างรรค์ ผู้ร่วมงาน

ปิลันธนาร เลิศสถิตธนกร
เธียร ธีระวรวงศ์

วันที่ ปีที่จัดพิมพ์

2561

วันที่ผลิต วันที่จัดทำ

2021-08-09 06:57:07

วันที่ปรับปรุงข้อมูล

2021-08-09 06:57:07

ประเภท

thesis

รูปแบบ

application/pdf

แหล่งที่มา

วน 615.321 ภ177ฤ 2561

ภาษา

tha

รหัส

ลิขสิทธิ์

มหาวิทยาลัยราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา

Degree (name, level, descipline, grantor)

วิทยาศาสตรมหาบัณทิต
ปริญญาโท
เภสัชกรรมไทย
มหาวิทยาลัยราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา

วันที่ใช้งาน

2561

คอลเลกชั่น

ภรณ์ประภา อ่วมนุช . (2561). ฤทธิ์ต้านเชื้อ Methicillin-Resistant Staphylococcus Aureus (MRSA) ของน้ำมันตะไคร้และสบู่เหลวที่มีน้ำมันตะไคร้เป็นสารออกฤทธิ์. มหาวิทยาลัยราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา สำนักวิทยบริการและเทคโนโลยีสารสนเทศ, คลังข้อมูลดิจิทัล สำนักวิทยบริการและเทคโนโลยีสารสนเทศ, accessed December 24, 2024, http://dlib.bsru.ac.th/s/library/item/1549

นำออกข้อมูล :