การศึกษาทางพฤกษเคมีและฤทธิ์ทางชีวภาพในการกำจัดเหาของสารสกัดจากใบยอป่าและใบยอบ้าน
Item
ชื่อเรือง
การศึกษาทางพฤกษเคมีและฤทธิ์ทางชีวภาพในการกำจัดเหาของสารสกัดจากใบยอป่าและใบยอบ้าน
ชื่อเรื่องรอง
Phytochemical study and biological activity in lice removing of extracts from leaves of Morinda Coreia Ham. and Morinda Citrifolia Linn.
ผู้แต่ง
พวงทอง แก่นนาคำ
หัวเรื่อง
สมุนไพร -- การใช้ประโยชน์
ใบยอบ้าน
สมุนไพร -- การใช้รักษา
เหา
สมุนไพร -- การสกัด
พฤกษเคมี
รายละเอียดอื่นๆ
งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาประสิทธิภาพของสารสกัดจากใบยอป่าและใบยอบ้านในตัวทำละลายแต่ละชนิดที่ออกฤทธิ์ในการกำจัดเหา และ 2) ตรวจสอบหากลุ่มสารสำคัญทางพฤกษเคมีเบื้องต้นของสารสกัดแต่ละชนิดที่ออกฤทธิ์ในการกำจัดเหา และ 3) พัฒนาผลิตภัณฑ์จากสารสกัดใบยอป่าและใบยอบ้านที่ออกฤทธิ์ในการกำจัดเหา โดยใช้ตัวทำละลาย คือ น้ำ เฮกเซน แอซิโตนและเอทานอล แล้วตรวจสอบหากลุ่มสาระสำคัญทางพฤกษเคมีเบื้องต้นเพื่อพัฒนาผลิตภัณฑ์จากสารออกฤทธิ์ ผลการศึกษาพบว่า 1. สารสกัดเฮกเซนและเอทานอลของใบยอป่าและใบยอบ้าน สามารถกำจัดเหาได้สูงที่สุด โดยมีค่า LC50 เท่ากับ 0.0164 ± 0.0091, 0.019 ± 0.0075, 0.014 ± 0.0114 และ 0.0291 ± 0.0113 ppm ตามลำดับ โดยสารสกัดเอทานอลจากใบยอป่าและใบยอบ้าน 2. สารสกัดเฮกเซนจากใบยอป่าพบสารกลุ่มแอลคาลอยด์และฟลาโวนอยด์เป็นองค์ประกอบ จึงทำการคัดเลือกสารสกัดเฮกเซนและเอทานอลมา 3. การพัฒนาตำรับอิมัลชันครีม โดยศึกษาความคงตัวทางเคมีและทางกายภาพ ได้แก่ ร้อยละกำจัดเหา, ค่าความเป็นกรด-ด่าง, ความหนืด, ลักษณะเนื้อสัมผัส, สี และกลิ่น ที่สภาวะ 4, 45 ๐C, อุณหภูมิห้องที่โดนแสง และอุณหภูมิห้องเมื่อเก็บในที่มืด พบว่าประสิทธิภาพในการกำจัดเหาของตำรับครีมที่ผสมสารสกัดเอทานอลจากใบยอป่าและใบยอบ้าน ที่ความเข้มข้น 0.1 ppm สามารถกำจัดเหาได้ดีที่สุด มีค่าเฉลี่ยร้อยละการตายของเหาเท่ากับ 83.3 ± 20.8 และ 56.7 ± 23.1 แต่น้อยกว่ายาเบนซิลเบนโซเอท และเมื่อเปรียบเทียบระหว่างใบยอป่าและใบยอบ้านแล้วพบว่าใบยอป่าสามารถกำจัดเหาได้ดีกว่าใบยอบ้าน สภาวะที่เหมาะสมในการเก็บตำรับอิมัลชันที่ทำให้ค่าความคงตัวทางเคมีและทางกายภาพมีการเปลี่ยนแปลงน้อยที่สุด สามารถเก็บได้ที่อุณหภูมิ ดังนั้นตำรับนี้จะมีความคงตัวในช่วงระยะเวลา 2 เดือน คำสำคัญ : พฤกษเคมี ฤทธิ์ทางชีวภาพ สารสกัด เหา ใบยอป่า ใบยอบ้าน
บทคัดย่อ
The objectives of the research were 1) to study the efficiency in lice removing of extracts from leaves of Morinda Coreia Ham. and Morinda Citrifolia Linn. 2) to examine primary phytochemical compounds of each extracts from active ingredient and 3) to develop extract products for lice removing from leaves of Morinda Coreia Ham. and Morinda Citrifolia Linn.by using solvents such as water, hexane, acetone and ethanol. The findings revealed as follows. 1. The hexane and ethanol extracs of leaves of Morinda Coreia Ham. and Morinda Citrifolia Linn. have highest amount of lice removing. Its 50% lethal concentration (LC50) was 0.0164 ± 0.0091, 0.019 ± 0.0075, 0.014 ± 0.0114 and 0.0291 ± 0.0113 ppm, respectively. 2. The ethanol extract from leaves of Morinda Coreia Ham. and Morinda Citrifolia Linn. and the hexane extract from leaves of Morinda Coreia Ham. were endowed with alkaloid and flavonoid compound. Then researcher selected hexane and ethanol extracts. 3. The cream emulsion was prepared by chemist and physical research including percentage of lice removing, acid-base, viscosity, general appearance, color and smelling at 4, 45 °C, room temperature (light and dark) conditions. This study found the efficiency in lice removing of emulsion formula mixed ethanol extract from leaves of Morinda Coreia Ham. and Morinda Citrifolia Linn. at concentration 0.1 ppm could be highest amount in lice removing with average percentage of death 83.3 ± 20.8 and 56.7 ± 23.1, but less than benzylbenzoate drug. Comparing between leaves of Morinda Coreia Ham. and leaves of Morinda Citrifolia Linn. Extracts, it was found that the leaves of Morinda Coreia Ham. could be lice removing better than the leaves of Morinda citrifolia Linn. In room temperature conditions, physical and chemical stability was detected. Therefore, this formula was expected to be stable in 2 months. Keywords : Phytochemical, Biological Activity, Extracts, lice Morinda Coreia Ham. Leaves, Morinda Citrifolia Linn. Leaves
ผู้จัดพิมพ์/สำนักพิมพ์
มหาวิทยาลัยราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา สำนักวิทยบริการและเทคโนโลยีสารสนเทศ
ผู้ร่วมสร้างรรค์ ผู้ร่วมงาน
อัจฉรา แก้วน้อย
อรุณ ชาญชัยเชาว์วิวัฒน์
วันที่ ปีที่จัดพิมพ์
2560
วันที่ผลิต วันที่จัดทำ
2021-08-09 06:57:07
วันที่ปรับปรุงข้อมูล
2021-08-09 06:57:07
ประเภท
thesis
รูปแบบ
application/pdf
แหล่งที่มา
วน 615.321 พ465ก 2560
ภาษา
tha
ลิขสิทธิ์
มหาวิทยาลัยราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา
Degree (name, level, descipline, grantor)
วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต
ปริญญาโท
เภสัชกรรมไทย
มหาวิทยาลัยราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา
วันที่ใช้งาน
2560
คอลเลกชั่น
พวงทอง แก่นนาคำ . (2560). การศึกษาทางพฤกษเคมีและฤทธิ์ทางชีวภาพในการกำจัดเหาของสารสกัดจากใบยอป่าและใบยอบ้าน. มหาวิทยาลัยราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา สำนักวิทยบริการและเทคโนโลยีสารสนเทศ, คลังข้อมูลดิจิทัล สำนักวิทยบริการและเทคโนโลยีสารสนเทศ, accessed December 25, 2024, http://dlib.bsru.ac.th/s/library/item/1516