รูปแบบการสื่อสารแบบบูรณาการเพื่อสร้างความรู้เรื่องการใช้จุลินทรีย์ที่มีประสิทธิภาพ

Item

ชื่อเรือง

รูปแบบการสื่อสารแบบบูรณาการเพื่อสร้างความรู้เรื่องการใช้จุลินทรีย์ที่มีประสิทธิภาพ

ชื่อเรื่องรอง

Integrated Communication Patterns to Create the Knowledge of Effective Microorganism Utilization

ผู้แต่ง

อนุสรณ์ มาดวง

หัวเรื่อง

จุลินทรีย์ -- การใช้ประโยชน์
จุลินทรีย์ -- แง่สิ่งแวดล้อม
การวางแผนการสื่อสาร
การสื่อทางภาษา

รายละเอียดอื่นๆ

การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์การวิจัยเพื่อ (1) เปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ของการใช้สื่อวิดีทัศน์ กับสื่อบุคคลในเรื่องการสร้างความรู้และความตระหนักในการใช้จุลินทรีย์ที่มีประสิทธิภาพ (2) ศึกษาประสิทธิภาพของสื่อวิดิทัศน์ ในการสร้างความรู้ในการใช้จุลินทรีย์ที่มีประสิทธิภาพของกลุ่มเกษตรกรเป้าหมาย (3) ศึกษาประสิทธิภาพของรูปแบบการสื่อสารแบบบูรณาการเพื่อเพิ่มความรู้และความตระหนักการใช้จุลินทรีย์ที่มีประสิทธิภาพ กลุ่มตัวอย่างเป็นเกษตรกรจากตำบลทวีวัฒนา จังหวัดนนทบุรี จำนวน 30 คน และเกษตรกรจากบางด้วน จังหวัดกรุงเทพมหานคร จำนวน 30 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่แบบสอบถาม และสื่อโทรทัศน์ นิตยสาร สื่อบุคคล วารสารและหนังสือพิมพ์ที่มีเนื้อหาเรื่องจุลินทรีย์ประสิทธิภาพ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่ามัชฌิมเลขคณิต ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และค่าสถิติ t – test (dependent samples) ผลการวิจัยพบว่า การได้รับข้อมูลการใช้จุลินทรีย์ที่มีประสิทธิภาพของเกษตรกรที่เป็นกลุ่มตัวอย่างในการวิจัย ได้รับจากโทรทัศน์มากที่สุด รองลงมาคือ แหล่งข้อมูลจากนิตยสารและวารสาร อยู่ในระดับปานกลาง แหล่งข้อมูลจากวิทยุ บุคคลทั่วไปและหนังสือพิมพ์ น้อยที่สุด การประเมินความรู้ของกลุ่มตัวอย่างโดยการใช้แบบทดสอบวัดความรู้เกี่ยวกับการใช้จุลินทรีย์พบว่ากลุ่มตัวอย่างที่ได้ทำแบบสอบถามจำนวน 60 คน ก่อนและหลังการใช้สื่อมีคะแนนเฉลี่ยแต่ละด้านดังนี้ (1) ด้านการเลือกซื้อจุลินทรีย์ที่มีประสิทธิภาพก่อนการใช้สื่อ 3.23 คะแนน และหลังจากการใช้สื่อ 3.63 คะแนน (2) ด้านการใช้จุลินทรีย์ ก่อนการใช้สื่อ 3.24 คะแนนและหลังจากการใช้สื่อ 3.71 คะแนน (3) ด้านการดูแลรักษาจุลินทรีย์ ก่อนการใช้สื่อ 3.61 คะแนน และหลังจากการใช้สื่อ 3.91 คะแนน คิดเห็น เมื่อพิจารณาภาพโดยรวมและรายด้านก่อนและหลังการใช้รูปแบบการสื่อสารแบบบูรณาการแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ P < 0.01

คำสำคัญ: จุลินทรีย์ที่มีประสิทธิภาพ, การสื่อสารวิทยาศาสตร์

บทคัดย่อ

The objectives of this research were (1) to compare the achievement on using of visual media and personal media in creating knowledge and awareness of effective microorganisms (EM) utilization, (2) to study the effectiveness of visual media for creating knowledge of EM utilization in the farmer target groups and (3) to study the efficiency of the integrated form of communication to enhance knowledge and awareness of the target groups. The research samples included 30 farmers from Taweewattana, Nonthaburi province and 30 farmers from Bangduan, Bangkok. Data were collected using questionnaire, television, magazines, journals and newspapers with EM content, and were statistically analyzed by arithmetic mean, standard deviation and t – test for dependent samples. The findings revealed as follows. The farmers obtained EM information from television at the highest level while magazines and journals were rated at the moderate level. Information from radio, people and newspapers were found at the lowest level. Knowledge evaluation of EM before and after using the media by 60 farmers was reported by the mean scores as the follows: (1) Selection of EM buying scores were 3.23 and 3.63. (2) Using of EM scores were 3.24 and 3.71. (3) Maintenance of effective microorganisms scores were 3.61 and 3.91. In overview, before and after using integrated communication patterns were significantly different (p< 0.01).

Keywords: Effective microorganisms (EM), Science Communication, Integrated Communication

ผู้จัดพิมพ์/สำนักพิมพ์

มหาวิทยาลัยราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา สำนักวิทยบริการและเทคโนโลยีสารสนเทศ

ผู้ร่วมสร้างรรค์ ผู้ร่วมงาน

วันทนี สว่างอารมณ์
อรุณ ชาญชัยเชาว์วิวัฒน์

วันที่ ปีที่จัดพิมพ์

2560

วันที่ผลิต วันที่จัดทำ

2021-08-09 06:57:07

วันที่ปรับปรุงข้อมูล

2021-08-09 06:57:07

ประเภท

thesis

รูปแบบ

application/pdf

แหล่งที่มา

วน 579 อ231ร 2560

ภาษา

tha

รหัส

ลิขสิทธิ์

มหาวิทยาลัยราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา

Degree (name, level, descipline, grantor)

วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต
ปริญญาโท
การสื่อสารวิทยาศาสตร์
มหาวิทยาลัยราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา

วันที่ใช้งาน

2560

คอลเลกชั่น

อนุสรณ์ มาดวง . (2560). รูปแบบการสื่อสารแบบบูรณาการเพื่อสร้างความรู้เรื่องการใช้จุลินทรีย์ที่มีประสิทธิภาพ. มหาวิทยาลัยราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา สำนักวิทยบริการและเทคโนโลยีสารสนเทศ, คลังข้อมูลดิจิทัล สำนักวิทยบริการและเทคโนโลยีสารสนเทศ, accessed December 25, 2024, http://dlib.bsru.ac.th/s/library/item/1513

นำออกข้อมูล :