การพัฒนารูปแบบการสอนเพื่อส่งเสริมความคงทนในการจำโดยใช้ทฤษฎีกระบวนการทางสมองในการประมวลข้อมูล

Item

ชื่อเรือง

การพัฒนารูปแบบการสอนเพื่อส่งเสริมความคงทนในการจำโดยใช้ทฤษฎีกระบวนการทางสมองในการประมวลข้อมูล

ผู้แต่ง

คำนึง คงศรี

หัวเรื่อง

การสอน--ความคิดและการคิด
การเรียนรู้
ความจำ
ทักษะทางการคิด

รายละเอียดอื่นๆ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) พัฒนารูปแบบการสอนเพื่อส่งเสริมความคงทนในการจำโดยใช้ทฤษฎีกระบวนการทางสมองในการประมวลข้อมูล และ 2) เปรียบเทียบความคงทนในการจำก่อนและหลังการใช้รูปแบบการสอน กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย คือ นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 2/2 โรงเรียนบ้านปล่องเหลี่ยม องค์การบริหารส่วนจังหวัดสมุทรสาคร ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2557 จำนวน 33 คน โดยการสุ่มแบบกลุ่ม เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ แผนการจัดการเรียนรู้ตามรูปแบบการสอนเพื่อส่งเสริมความคงทนในการจำและแบบทดสอบวัดความคงทนในการจำ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐานและ การทดสอบค่าที ผลการวิจัยพบว่า 1. รูปแบบการสอนเพื่อส่งเสริมความคงทนในการจำ โดยใช้ทฤษฎีกระบวนการทางสมองในการประมวลข้อมูล ประกอบด้วย 1) ทฤษฎี/หลักการ/แนวคิดของรูปแบบ 2) วัตถุประสงค์ของรูปแบบ 3) กระบวนการเรียนการสอนของรูปแบบมี 5 ขั้นตอน คือ ขั้นที่ 1 ขั้นรู้จัก ขั้นที่ 2 ขั้นใส่ใจ ขั้นที่ 3 ขั้นจดจำ ขั้นที่ 4 ขั้นเข้ารหัส ขั้นที่ 5 ขั้นย้อนกลับและ 4) ผลที่ผู้เรียนได้รับจากการเรียนตามรูปแบบ 2. นักเรียนที่ได้รับการเรียนรู้ตามรูปแบบการสอนโดยใช้ทฤษฎีกระบวนการทางสมองในการประมวลข้อมูลมีความคงทนในการจำหลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01

คำสำคัญ: การพัฒนารูปแบบการสอน ,ความคงทนในการจำ, ทฤษฎีกระบวนการทางสมอง

บทคัดย่อ

The purposes of this research were 1) to develop the information processing theory-based instruction for enhancing retention and 2) to compare the retention between before and after using the developed instruction. The sample included thirty-three Prathomsuksa 2/2 students from Banplongliam School under Samutsakorn Provincial Administrative Organization in the 2nd semester of academic year 2014 obtained through cluster random sampling. The research instruments involved information processing theory-based lesson plans and retention test. Data were statistically analyzed in Mean, standard deviation, and t-test. The findings revealed as follows. 1. The information processing theory-based instruction for enhancing retention delineated the followings: 1) theory/principle/thoughts of model 2) objectives of the model 3) five stages of instruction – stage 1 recognition; stage 2 attention; stage 3 retention; stage 4 coding; and stage 5 feedback and 4) learning outcomes. 2. The retention of those who learned through the information processing theory-based instruction was higher than that before the experiment at significance level .01.

Keywords: Development of Instruction, Retention, Information Processing Theory

ผู้จัดพิมพ์/สำนักพิมพ์

มหาวิทยาลัยราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา สำนักวิทยบริการและเทคโนโลยีสารสนเทศ

ผู้ร่วมสร้างรรค์ ผู้ร่วมงาน

เพ็ญพร ทองคำสุก
บังอร เสรีรัตน์

วันที่ ปีที่จัดพิมพ์

2559

วันที่ผลิต วันที่จัดทำ

2021-08-09 06:57:07

วันที่ปรับปรุงข้อมูล

2021-08-09 06:57:07

ประเภท

thesis

รูปแบบ

application/pdf

แหล่งที่มา

วน 370.1522 ค358ก 2559

ภาษา

tha

รหัส

ลิขสิทธิ์

มหาวิทยาลัยราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา

Degree (name, level, descipline, grantor)

ครุศาสตรมหาบัณฑิต
ปริญญาโท
หลักสูตรและการสอน
มหาวิทยาลัยราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา

วันที่ใช้งาน

2559

คอลเลกชั่น

คำนึง คงศรี . (2559). การพัฒนารูปแบบการสอนเพื่อส่งเสริมความคงทนในการจำโดยใช้ทฤษฎีกระบวนการทางสมองในการประมวลข้อมูล. มหาวิทยาลัยราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา สำนักวิทยบริการและเทคโนโลยีสารสนเทศ, คลังข้อมูลดิจิทัล สำนักวิทยบริการและเทคโนโลยีสารสนเทศ, accessed December 25, 2024, http://dlib.bsru.ac.th/s/library/item/1507

นำออกข้อมูล :