การพัฒนารูปแบบการสอนภาษาองค์รวมโดยใช้นิทานเพื่อส่งเสริมทักษะการเขียนภาษาไทยของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 1

Item

ชื่อเรือง

การพัฒนารูปแบบการสอนภาษาองค์รวมโดยใช้นิทานเพื่อส่งเสริมทักษะการเขียนภาษาไทยของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 1

ชื่อเรื่องรอง

The Development of Holistic Language Teaching through the Use of Fables to Enhance Thai Writing Skill of Prathomsuksa 1 Students

ผู้แต่ง

จันทรธิมา สุคนธทรัพย์

หัวเรื่อง

ภาษาไทย--การศึกษาและการสอน (ประถมศึกษา)
การเขียนภาษาไทย
นิทาน

รายละเอียดอื่นๆ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) พัฒนารูปแบบการสอนภาษาแบบองค์รวมโดยใช้นิทานเพื่อส่งเสริมทักษะการเขียนภาษาไทยของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 และ 2) เปรียบเทียบทักษะการเขียนภาษาไทยของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 ก่อนและหลังการเรียนรู้โดยใช้รูปแบบการสอนที่พัฒนาขึ้น การดำเนินการวิจัยแบ่งเป็น 4 ขั้นตอน คือ 1) การพัฒนารูปแบบการสอน 2) การพัฒนาเครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย 3) การทดลองใช้รูปแบบการสอนและ 4) การประเมินผลรูปแบบการสอนภาษาแบบองค์รวม กลุ่มตัวอย่าง ที่ใช้ในการวิจัย คือ นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 โรงเรียนคลองนาเกลือน้อย(กลิ่นอยู่อุปถัมภ์) ภาคเรียนที่1 ปีการศึกษา 2557 จำนวน 30 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยประกอบด้วย แผนการจัดการเรียนรู้และแบบทดสอบวัดทักษะการเขียนภาษาไทย สถิติ ที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานและค่าสถิติที ผลการวิจัยพบว่า 1. รูปแบบการสอนภาษาแบบองค์รวมโดยใช้นิทานเพื่อส่งเสริมทักษะการเขียนภาษาไทยของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 มีความเหมาะสม มีองค์ประกอบครบถ้วน ประกอบด้วย 1) แนวคิดของรูปแบบการสอน 2) วัตถุประสงค์ของรูปแบบการสอน 3) กระบวนการเรียนการสอนและ 4) ผลที่ผู้เรียนจะได้รับ 2. ผลการเปรียบเทียบทักษะการเขียนภาษาไทยของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 พบว่าทักษะการเขียนภาษาไทยของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 หลังการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ตามรูปแบบการสอนภาษาแบบองค์รวมโดยใช้นิทานสูงกว่าก่อนการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01

คำสำคัญ : การพัฒนารูปแบบการสอน, ทักษะการเขียนภาษาไทย

บทคัดย่อ

The purposes of this research were 1) to develop the holistic language teaching through the use of fables to enhance Thai writing skill of Prathomsuksa 1 Students and 2) to compare Thai writing skill of Prathomsuksa 1 Students between before and after using the developed instruction. The methodology involved 4 stages which involved 1) development of instruction 2) research instrument design 3) experiment and 4) assessment of instruction. The sample included 30 of Prathomsuksa 1 students at Klongnakluanoi (Klinyooupatham) School in the 1st semester of academic year 2014. The research instrument werelesson plans and test of Thai writing skill. Data were statistically analyzed in mean, standard deviation, and t-test. The findings revealed as follows. 1. The holistic language teaching through the use of fables to enhance Thai writing skill of Prathomsuksa 1 Students was found to be properly designed with the components 1) instructional thoughts 2) learning objectives 3) learning activities and 4) learning outcomes. 2. Thai writing skill of Prathomsuksa 1 Students after using the developed instruction was found higher than before the experiment at significance level .01.

Keywords: The Development of Instruction, Thai Writing Skill

ผู้จัดพิมพ์/สำนักพิมพ์

มหาวิทยาลัยราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา สำนักวิทยบริการและเทคโนโลยีสารสนเทศ

ผู้ร่วมสร้างรรค์ ผู้ร่วมงาน

สุภรณ์ ลิ้มบริบูรณ์
สมหมาย มหาบรรพต

วันที่ ปีที่จัดพิมพ์

2558

วันที่ผลิต วันที่จัดทำ

2021-08-09 06:57:07

วันที่ปรับปรุงข้อมูล

2021-08-09 06:57:07

ประเภท

thesis

รูปแบบ

application/pdf

แหล่งที่มา

วน 372.62 จ265ก 2558

ภาษา

tha

รหัส

ลิขสิทธิ์

มหาวิทยาลัยราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา

Degree (name, level, descipline, grantor)

ครุศาสตรมหาบัณฑิต
ปริญญาโท
หลักสูตรและการสอน
มหาวิทยาลัยราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา

วันที่ใช้งาน

2558

คอลเลกชั่น

จันทรธิมา สุคนธทรัพย์ . (2558). การพัฒนารูปแบบการสอนภาษาองค์รวมโดยใช้นิทานเพื่อส่งเสริมทักษะการเขียนภาษาไทยของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 1. มหาวิทยาลัยราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา สำนักวิทยบริการและเทคโนโลยีสารสนเทศ, คลังข้อมูลดิจิทัล สำนักวิทยบริการและเทคโนโลยีสารสนเทศ, accessed December 25, 2024, http://dlib.bsru.ac.th/s/library/item/1495

นำออกข้อมูล :