การพัฒนารูปแบบการสอนภาษาแบบองค์รวม โดยใช้นิทานเพื่อพัฒนาความคิดคล่องแคล่วสำหรับเด็กปฐมวัย

Item

ชื่อเรือง

การพัฒนารูปแบบการสอนภาษาแบบองค์รวม โดยใช้นิทานเพื่อพัฒนาความคิดคล่องแคล่วสำหรับเด็กปฐมวัย

ชื่อเรื่องรอง

The Development of Whole Language Approach Using Fables to Enhance Fluency Thinking of Pre-Childhood Students

ผู้แต่ง

อธิติญา สมธนพรรัชต์

หัวเรื่อง

การศึกษาและการสอน--ก่อนประถมศึกษา
เด็กปฐมวัย

รายละเอียดอื่นๆ

การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) พัฒนารูปแบบการสอนภาษาแบบองค์รวมโดยใช้นิทานเพื่อพัฒนาความคิดคล่องแคล่วสำหรับเด็กปฐมวัยและ 2) เปรียบเทียบความคิดคล่องแคล่วของเด็กปฐมวัยก่อนและหลังเรียนโดยใช้รูปแบบการสอนภาษาแบบองค์รวมโดยใช้นิทาน กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ นักเรียนชั้นอนุบาลปีที่ 2 ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2556 โรงเรียนม่วงแค เขตบางรัก กรุงเทพมหานคร จำนวน 24 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยประกอบด้วยนิทานพร้อมภาพประกอบ แบบทดสอบความสามารถด้านการฟัง พูด อ่านและเขียน แผนการจัดการเรียนรู้และแบบประเมินพฤติกรรม สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานและการทดสอบค่าที ผลการวิจัยพบว่า 1. รูปแบบการสอนภาษาแบบองค์รวมโดยใช้นิทานเพื่อพัฒนาความคิดคล่องแคล่ว สำหรับเด็กปฐมวัย ประกอบด้วย หลักการพัฒนาความคิดคล่องแคล่ว วัตถุประสงค์เพื่อให้ผู้เรียนเกิดการพัฒนาด้านทักษะการคิดคล่องแคล่วและการจัดการเรียนรู้ประกอบด้วย ขั้นเตรียมการ: การเตรียมข้อมูลที่เป็นข้อเท็จจริง ขั้นความคิดคุกรุ่น: การวิเคราะห์ข้อมูลต่างๆ ทั้งใหม่และเก่า ขั้นความคิดกระจ่างชัด: การค้นพบคำตอบและขั้นทดสอบความคิด: การพิสูจน์ว่าความคิดถูกต้องหรือไม่ 2. นักเรียนมีความคิดคล่องแคล่วหลังเรียนโดยใช้ด้วยรูปแบบการสอนภาษาแบบองค์รวมโดยใช้นิทานสูงกว่าก่อนเรียน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01

คำสำคัญ: รูปแบบการสอนภาษาแบบองค์รวม, นิทาน, ความคิดคล่องแคล่ว

บทคัดย่อ

The purposes of this research were 1) to develop the whole language approach using fables to enhance fluency thinking of pre-childhood students and 2) to compare the fluency thinking of the pre-childhood students between before and after learning through whole language approach using fables. The sample included 24 pre-childhood students at Muangkae School, Bangruk District, in the 1st semester of academic year 2013. The research instruments consisted of illustrated fables, listening, speaking, reading and writing test, lesson plans, and behavioral assessment form. Data was statistically analyzed in mean, standard deviation, and t-test. The findings revealed as follows: 1. The whole language approach using fables to enhance fluency thinking of pre-childhood students delineated concepts, objectives, and teaching processes i.e. preparation: fact preparation, incubation: analysis of the previous and new data, illustration: discovery of the truth, and verification: testing of the ideas. 2. The fluency thinking of the pre-childhood students after learning through whole language approach using fables was significantly higher than that before the experimental at .01 level.

Keywords: Whole Language Approach, Fables, Fluency Thinking

ผู้จัดพิมพ์/สำนักพิมพ์

มหาวิทยาลัยราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา สำนักวิทยบริการและเทคโนโลยีสารสนเทศ

ผู้ร่วมสร้างรรค์ ผู้ร่วมงาน

วิโฬฏฐ์ วัฒนานิมิตกูล
ทวีศักดิ์ จงประดับเกียรติ

วันที่ ปีที่จัดพิมพ์

2557

วันที่ผลิต วันที่จัดทำ

2021-08-09 06:57:07

วันที่ปรับปรุงข้อมูล

2021-08-09 06:57:07

ประเภท

thesis

รูปแบบ

application/pdf

แหล่งที่มา

วน 372.21 อ145ก 2557

ภาษา

tha

รหัส

ลิขสิทธิ์

มหาวิทยาลัยราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา

Degree (name, level, descipline, grantor)

ครุศาสตรมหาบัณฑิต
ปริญญาโท
หลักสูตรและการสอน
มหาวิทยาลัยราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา

วันที่ใช้งาน

2557

คอลเลกชั่น

อธิติญา สมธนพรรัชต์ . (2557). การพัฒนารูปแบบการสอนภาษาแบบองค์รวม โดยใช้นิทานเพื่อพัฒนาความคิดคล่องแคล่วสำหรับเด็กปฐมวัย. มหาวิทยาลัยราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา สำนักวิทยบริการและเทคโนโลยีสารสนเทศ, คลังข้อมูลดิจิทัล สำนักวิทยบริการและเทคโนโลยีสารสนเทศ, accessed December 25, 2024, http://dlib.bsru.ac.th/s/library/item/1493

นำออกข้อมูล :