สตรีกับลายผ้าปาเต๊ะในจิตรกรรม

Item

ชื่อเรือง

สตรีกับลายผ้าปาเต๊ะในจิตรกรรม

ชื่อเรื่องรอง

Femininity and Batik Design in Paintings

ผู้แต่ง

อาภรณ์ ทองใสพร

หัวเรื่อง

จิตรกรรม
ผ้าปาเต๊ะ

รายละเอียดอื่นๆ

การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาลายผ้าปาเต๊ะของสตรีจากเอกสารของนันทาโรจนอุดมศาสตร์ในประเด็นรูปทรงช่อดอกไม้ รูปทรงดอกไม้ ลักษณะกลีบดอก ลักษณะใบ ลักษณะ ก้านและลายพื้นหลัง 2) ศึกษาจิตรกรรมของชะลูด นิ่มเสมอในประเด็น ท่าทางของบุคคล การใช้เส้นการจัดภาพคน การสร้างจุดสนใจและจิตรกรรมของอานันท์ ราชวังอินทร์ ในประเด็นชุดสี 3) สร้างสรรค์ผลงานเรื่องสตรีกับลายผ้าปาเต๊ะในจิตรกรรมด้วยสีอะคริลิกบนผ้าใบ กลุ่มตัวอย่างคือลายผ้าปาเต๊ะ จำนวน 4 ภาพ จิตรกรรมของชลูด นิ่มเสมอ จำนวน 5 ภาพ และจิตรกรรมของอานันท์ ราชวังอินทร์ จำนวน 6 ภาพ เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ แบบวิเคราะห์ตารางกริด แบบสังเกตแบบมีโครงสร้าง แบบสัมภาษณ์แบบมีโครงสร้าง ผลงานสร้างสรรค์และแบบประเมินคุณภาพผลงาน สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลได้แก่ ค่าร้อยละ และค่าเฉลี่ย ผลการวิจัยพบว่า 1. รูปทรงช่อดอกไม้ที่พบมาก คือ รูปทรงแผ่ออกตั้งขึ้น รูปทรงดอกไม้ที่พบมาก คือ ดอกกลมบาน ลักษณะกลีบดอกที่พบมาก คือ กลีบกลมปลายกลีบแหลม ลักษณะใบที่พบมาก คือ ใบเรียวหยัก ลักษณะก้านที่พบมาก คือ ก้านโค้งขนาดใหญ่ ลายพื้นหลังที่พบมาก คือ ลายจุดลายเส้นขนาดเล็กขนาดกลาง 2. ท่าทางของบุคคลที่พบมาก คือ ท่ายืนนิ่งสงบแขนปล่อยตรง การใช้เส้นที่ใช้มาก คือ เส้นเดียวคมชัดแบบเบา การจัดภาพคนจัดแบบยืนครึ่งตัวคนเดียว ตำแหน่งการยืนกลางภาพเหลือพื้นที่ส่วนบนไว้น้อย การสร้างจุดสนใจลายผ้าชัดเจน ชุดสีสีที่ใช้มาก คือ สีน้ำตาลอ่อน สีฟ้า สีน้ำตาลแก่ 3. ผลงานเรื่องสตรีกับลายผ้าปาเต๊ะในจิตรกรรม ใช้รูปทรงช่อดอกไม้แบบแผ่ออกตั้งขึ้นใช้รูปทรงดอกไม้แบบดอกกลมบาน ใช้ลักษณะกลีบดอกแบบกลีบกลมปลายกลีบแหลม ใช้ลักษณะใบแบบใบเรียวหยัก ใช้ลักษณะก้านแบบก้านโค้งตั้งตรงขนาดใหญ่ ใช้ลายพื้นหลังแบบลายเส้นขนาดเล็ก ใช้ท่าทางของบุคคลในท่ายืนนิ่งสงบแขนปล่อยตรง ใช้เส้นเส้นเดียวคมชัดแบบเบา ใช้การจัดภาพคนแบบยืนครึ่งตัวคนเดียว ยืนครึ่งตัวสองคน ใช้การสร้างจุดสนใจลายผ้าชัดเจน สีตรงกันข้ามและมืดล้อมสว่างและใช้ชุดสีน้ำตาลอ่อนเป็นส่วนใหญ่ รองลงมา ได้แก่ สีฟ้า สีน้ำตาลแก่ สีม่วง สีเหลือง สีเทาและสีขาว

คำสำคัญ : สตรีกับลายผ้าปาเต๊ะ, จิตรกรรม

บทคัดย่อ

The purposes of this research were 1) to study the Pateh cloth with femininity design based on Nanta Rojanaudomsart’s documents in terms of flower bunch form, flower form, petal characteristics, leave characteristics, stem characteristics, and background 2) to study the paintings created by Chakood Nimsamua in terms of postures, lining, composition, dominance; and the paintings created by Ana Ratchawangin in terms of colours and 3) to create the painting titled “Femininity and Pateh Design” with acrylic on canvas. The sample included 4 batik designs. The research instruments involved Grid Table, structured observation form, structured interview, paintings, and painting quality assessment form. Data were statistically analyzed in percentage and MEAN. The findings revealed as follows. 1. The mostly found floral characteristics referred to pageant bouquet, round blossom, round acute petal, lobed leaves, big curve stem, and small and medium dot and line background. 2. The mostly found postures referred to standing still with arm straight downwards, light single sharp line, one or two person portrait view composition, middle point standing with fewer upper space, dominant cloth design, and the use of light brown, blue, and dark brown. 3. The painting titled “Femininity and Pateh Design” with acrylic on canvas adopted the following characteristics: pageant bouquet, round blossom, round acute petal, lobed leaves, big curve stem, and small and medium dot and line background, standing still with arm straight downwards, light single sharp line, one or two person portrait view composition, middle point standing with fewer upper space, dominant cloth design, contrast colours and painting light tones surrounded by dark tones, and use of most light brown followed by blue, dark brown, purple, yellow, grey, and white.

Keywords : Femininity and Pateh Design , Paintings

ผู้จัดพิมพ์/สำนักพิมพ์

มหาวิทยาลัยราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา

ผู้ร่วมสร้างรรค์ ผู้ร่วมงาน

สมชาย พรหมสุวรรณ
พีระพงษ์ กุลพิศาล
ประไพ วีระอมรกุล

วันที่ ปีที่จัดพิมพ์

2559

วันที่ผลิต วันที่จัดทำ

2021-08-09 06:57:07

วันที่ปรับปรุงข้อมูล

2021-08-09 06:57:07

ประเภท

thesis

รูปแบบ

application/pdf

แหล่งที่มา

วน 750 อ631ส 2559

ภาษา

tha

รหัส

ลิขสิทธิ์

มหาวิทยาลัยราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา

Degree (name, level, descipline, grantor)

ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต
ปริญญาโท
ศิลปกรรม
มหาวิทยาลัยราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา

วันที่ใช้งาน

2559

คอลเลกชั่น

อาภรณ์ ทองใสพร . (2559). สตรีกับลายผ้าปาเต๊ะในจิตรกรรม. มหาวิทยาลัยราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา, คลังข้อมูลดิจิทัล สำนักวิทยบริการและเทคโนโลยีสารสนเทศ, accessed December 25, 2024, http://dlib.bsru.ac.th/s/library/item/1492

นำออกข้อมูล :