การตรวจสอบหาน้ำมันหอมระเหยจากสมุนไพรไทยออกฤทธิ์ต้านอนุมูลอิสระและวิเคราะห์องค์ประกอบทางเคมีในน้ำมันหอมระเหยที่ได้รับคัดเลือกด้วยเทคนิคแก๊สโครมาโทกราฟีและแมสสเปกโทสโกปี
Item
ชื่อเรือง
การตรวจสอบหาน้ำมันหอมระเหยจากสมุนไพรไทยออกฤทธิ์ต้านอนุมูลอิสระและวิเคราะห์องค์ประกอบทางเคมีในน้ำมันหอมระเหยที่ได้รับคัดเลือกด้วยเทคนิคแก๊สโครมาโทกราฟีและแมสสเปกโทสโกปี
ชื่อเรื่องรอง
Screening of the Essential Oil from Thai Plants for Antioxidant and Analysis of Chemical Constituent in the Selected of Essential Oil by Gas Chromatography-Mass Spectrophotoscopy
ผู้แต่ง
อาวุธ หงษ์ศิริ
หัวเรื่อง
น้ำมันหอมระเหย
รายละเอียดอื่นๆ
งานวิจัยนี้ เป็นการศึกษาคุณสมบัติการต้านอนุมูลอิสระของน้ำมันหอมระเหย 40 ตัวอย่างจากพืชสมุนไพร 40 ชนิด โดยวิธีทินเลเยอร์โครมาโทกราฟที่ตรวจสอบโดยอนุมูลอิสระมาตรฐาน DPPH เพื่อทำการคัดเลือกน้ำมันหอมระเหยจากพืชสมุนไพร 5 ชนิดที่ออกฤทธิ์ต้านอนุมูลอิสระมากที่สุดคือน้ำมันจากเหง้าว่านนางคำ ดอกกานพลู ใบผักแขยง ใบข้าวและรกจันทน์เทศ นำมาทำการวิเคราะห์สมบัติการต้านอนุมูลอิสระในเชิงปริมาณด้วยวิธีสเปกโทรสโกปีที่ความยาวคลื่น 517นาโนเมตร โดยใช้ค่าเฉลี่ยจากการทำการทดลองซ้ำ 3 ครั้ง พบว่าน้ำมันหอมระเหยจากเหง้าว่านนางคำแสดงสมบัติการต้านอนุมูลอิสระในเชิงปริมาณมากที่สุด (IC50 = 839.460 ppm) น้ำมันหอมระเหยจากดอกกานพลู (IC50 = 842.053 ppm) น้ำมันหอมระเหยจากใบข้าว (IC50 = 1,370.882 ppm)และพบว่าน้ำมันหอมระเหยจากรกจันทน์เทศ (IC50 =6,220.609ppm) และน้ำมันหอมระเหยจากใบผักแขยง มีสมบัติการต้านอนุมูลอิสระในเชิงปริมาณน้อยที่สุด (IC50 = 6,524.905 ppm) จากการศึกษาหาสารประกอบทางเคมีในน้ำมันหอมระเหยจากหัวว่านนางคำโดยใช้แก๊สโครมาโทกราฟี-สเปกโทรมิเตอร์มวล ทำให้ทราบโครงสร้างที่เป็นไปได้ของสารประกอบที่แยกได้ โดยการเปรียบเทียบสเปกตรัมมวลของสารที่ได้กับข้อมูลมาตรฐานที่มีอยู่แล้วพบว่ามี Camphor, Curcumene, b-Farnesene, Borneol, Caryophyllene,a-Zingibirene, Camphene และ b-Bisabolene การทดสอบฤทธิ์ก่อกลายพันธุ์โดยวิธีเอมส์ (Ames Test) น้ำมันหอมระเหยเหง้าว่านนางคำไม่มีฤทธิ์ก่อกลายพันธุ์ต่อเชื้อแบคทีเรีย S. Typhimurium TA98, TA100 จากผลการทดลองแสดงให้เห็นว่างานวิจัยน้ำมันหอมระเหยจากพืชสมุนไพรไทยที่มีฤทธิ์ต้านอนุมูลอิสระน่าสนใจและยังต้องศึกษาวิจัยต่อไป เพื่อให้เกิดการพัฒนา การใช้ผลิตภัณฑ์น้ำมันหอมระเหยจากพืชสมุนไพรไทย
คำสำคัญ : การต้านอนุมูลอิสระ น้ำมันหอมระเหย
คำสำคัญ : การต้านอนุมูลอิสระ น้ำมันหอมระเหย
บทคัดย่อ
A study of antioxidant property was carried out for twenty-one selected essential oils which were derived from 40 Thai medicinal plants belonging to 8 plant families. The technique used was TLC screening to qualitatively determine the radical scavenging (i.e. antioxidant) ability using a standard free radical, 2,2-diphenyl-1-picrylhydrazyl (DPPH). The results showed that the five essential oils which exhibited the highest antioxidant activity included essential oils from the flowers of Cananga odorata (Lam.) Hook.f &Thomson var., the flowers of Cananga fruticosa (Craib) Corner, the leaves of Ocimum sanctum L (White), the leaves of Ocimum sanctum L (Red) and the leaves of Piper betle L.. These essential oils were selected for investigation to measure the IC50 values by colorimetry at 517 nm. The mean values were obtained from triplicate experiments. From the analysis, it was found that the essential oil having the highest antioxidant activities was the essential oil derived from Curcuma aromatica Salisb (IC50 = 839.460 ppm) was the essential oil derived from Syzygium aromaticum (L.) Merr. & L. M. Perry (IC50=842.053ppm) The essential oil obtained from Oryza sativa L. (IC50 =1,370.882ppm) was the essential oil derived from Myristica fragrans Houtt. (IC50 =6,220.609ppm) was the essential oil from the Limnophila aromatic (Lam.) Merr.Corner exhibited the lowest antioxidant activity (IC50 = 6,524.905ppm) Constituents of volatile oil from the rhizomes of C. aromatica Salisb. were analyzed by a gas chromatography - mass spectrometry (GC-MS). The possible structural forms of the constituents in the isolated oils, which were identified by comparing their mass spectral data to those in the library, were Camphor, Curcumene, b-Farnesene, Borneol, Caryophyllene, a-Zingibirene, Camphene and b-Bisabolene. The Testing effect Mutation Ames test. Essential oil of rhizomes wan nang kha that have no mutagenic activity against S. typhimurium TA98, TA100. This research study has clearly shown the potential of producing essential oils having antioxidant ability from the selected Thai plant species. Applications of these essential oils as well as further studies using other Thai plants are of special interest.
Keywords: Antioxidant, Essential Oils
Keywords: Antioxidant, Essential Oils
ผู้จัดพิมพ์/สำนักพิมพ์
มหาวิทยาลัยราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา สำนักวิทยบริการและเทคโนโลยีสารสนเทศ.
ผู้ร่วมสร้างรรค์ ผู้ร่วมงาน
อัจฉรา แก้วน้อย
อรุณ ชาญชัยเชาว์วิวัฒน์
เพชรน้ำผึ้ง รอดโพธิ์
วันที่ ปีที่จัดพิมพ์
2560
วันที่ผลิต วันที่จัดทำ
2021-08-09 06:57:07
วันที่ปรับปรุงข้อมูล
2021-08-09 06:57:07
ประเภท
thesis
รูปแบบ
application/pdf
แหล่งที่มา
วน 615.3219 อ668ก 2560
ภาษา
tha
ลิขสิทธิ์
มหาวิทยาลัยราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา
Degree (name, level, descipline, grantor)
วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต
ปริญญาโท
เภสัชกรรมไทย
มหาวิทยาลัยราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา
วันที่ใช้งาน
2560
คอลเลกชั่น
อาวุธ หงษ์ศิริ . (2560). การตรวจสอบหาน้ำมันหอมระเหยจากสมุนไพรไทยออกฤทธิ์ต้านอนุมูลอิสระและวิเคราะห์องค์ประกอบทางเคมีในน้ำมันหอมระเหยที่ได้รับคัดเลือกด้วยเทคนิคแก๊สโครมาโทกราฟีและแมสสเปกโทสโกปี. มหาวิทยาลัยราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา สำนักวิทยบริการและเทคโนโลยีสารสนเทศ, คลังข้อมูลดิจิทัล สำนักวิทยบริการและเทคโนโลยีสารสนเทศ, accessed December 25, 2024, http://dlib.bsru.ac.th/s/library/item/1491