การพัฒนารูปแบบการเรียนการสอนกิจกรรมแนะแนวตามแนวคิดจิตตปัญญาศึกษา เพื่อพัฒนาความฉลาดทางอารมณ์สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3

Item

ชื่อเรือง

การพัฒนารูปแบบการเรียนการสอนกิจกรรมแนะแนวตามแนวคิดจิตตปัญญาศึกษา เพื่อพัฒนาความฉลาดทางอารมณ์สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3

ชื่อเรื่องรอง

The Development of Guidance Activity Based on Contemplative Education to Enhance the Emotional Quotient of Matthayomsuksa 3 Students

ผู้แต่ง

พิษณุ พรหมวาทย์

หัวเรื่อง

กิจกรรมการเรียนการสอน
ความฉลาดทางอารมณ์
จิตตปัญญาศึกษา

รายละเอียดอื่นๆ

การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) พัฒนารูปแบบการเรียนการสอนกิจกรรมแนะแนว ตามแนวคิดจิตตปัญญาศึกษา เพื่อพัฒนาความฉลาดทางอารมณ์ สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 และ 2) เปรียบเทียบความฉลาดทางอารมณ์ของนักเรียน ก่อนและหลังที่ได้รับการจัดการเรียนการสอนตามรูปแบบการเรียนการสอนกิจกรรมแนะแนวตามแนวคิดจิตตปัญญาศึกษา กลุ่มตัวอย่างเป็นนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 โรงเรียนวัดท่าบันเทิงธรรม จังหวัดนนทบุรี จำนวน 16 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ แผนการจัดการเรียนรู้และแบบประเมินความฉลาดทางอารมณ์ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าเฉลี่ย ค่าร้อยละ ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานและการทดสอบค่าที ผลการวิจัยพบว่า 1) รูปแบบการเรียนการสอนกิจกรรมแนะแนวตามแนวคิดจิตตปัญญาศึกษา เพื่อพัฒนา ความฉลาดทางอารมณ์มี 5 องค์ประกอบ คือ (1) หลักการ/แนวคิด (2) ขอบข่าย (3) วัตถุประสงค์ (4) กระบวนการจัดการเรียนการสอนและ (5) ผลที่จะได้รับ ในส่วนกระบวนการจัดการเรียนการสอนใช้กระบวนการ 6 ต เพื่อให้ผู้เรียนได้รับการพัฒนาความฉลาดทางอารมณ์ 3 ด้าน คือ ด้านเก่ง ด้านดีและด้านสุข 2) หลังได้รับการจัดการเรียนการสอนตามรูปแบบการเรียนการสอนกิจกรรมแนะแนวตามแนวคิดจิตตปัญญาศึกษา ผู้เรียนมีความฉลาดทางอารมณ์สูงกว่าก่อนเรียน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิตที่ระดับ .01 คำสำคัญ: กิจกรรมแนะแนว จิตตปัญญาศึกษา ความฉลาดทางอารมณ์

บทคัดย่อ

The purposes of this research were 1) to develop the guidance activity based on contemplative education to enhance the emotional quotient of Matthayomsuksa 3 students and 2) to compare the emotional quotient of Matthayomsuksa 3 students between before and after attending guidance activity based on contemplative education. The sample included 16 Matthyomsuksa 3 students from Wat Thabunturngtham School in Nontaburi Province. Data was statistically analyzed in percentage, mean, standard deviation, and t-test. The findings revealed as follows: 1. The guidance activity based on contemplative education to enhance the emotional quotient of Matthayomsuksa 3 students delineated 5 components: (1) principle/concept (2) limitations (3) objectives (4) instructional process and (5) learning outcomes. The following steps were adopted for instruction: preparation, self-realization, fulfillment, reflection, decoration, and follows in order to enhance the students’ emotional quotient in 3 aspects i.e. competency, virtue, and happiness. 2. After attending the guidance activity based on contemplative education, the emotional quotient of Matthayomsuksa 3 students was significantly higher than the previous one at .01 level. Keywords: Guidance Activity, Contemplative Education, Emotional Quotient

ผู้จัดพิมพ์/สำนักพิมพ์

มหาวิทยาลัยราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา สำนักวิทยบริการและเทคโนโลยีสารสนเทศ

ผู้ร่วมสร้างรรค์ ผู้ร่วมงาน

บังอร เสรีรัตน์
วิโรฬฐ์ วัฒนานิมิตรกูล

วันที่ ปีที่จัดพิมพ์

2557

วันที่ผลิต วันที่จัดทำ

2021-08-09 06:57:07

วันที่ปรับปรุงข้อมูล

2021-08-09 06:57:07

ประเภท

thesis

รูปแบบ

application/pdf

แหล่งที่มา

วน 373.236 พ764ก 2557

ภาษา

tha

รหัส

ลิขสิทธิ์

มหาวิทยาลัยราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา

Degree (name, level, descipline, grantor)

ครุศาสตรมหาบัณฑิต
ปริญญาโท
หลักสูตรและการสอน
มหาวิทยาลัยราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา

วันที่ใช้งาน

2557

คอลเลกชั่น

พิษณุ พรหมวาทย์ . (2557). การพัฒนารูปแบบการเรียนการสอนกิจกรรมแนะแนวตามแนวคิดจิตตปัญญาศึกษา เพื่อพัฒนาความฉลาดทางอารมณ์สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3. มหาวิทยาลัยราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา สำนักวิทยบริการและเทคโนโลยีสารสนเทศ, คลังข้อมูลดิจิทัล สำนักวิทยบริการและเทคโนโลยีสารสนเทศ, accessed December 26, 2024, http://dlib.bsru.ac.th/s/library/item/1450

นำออกข้อมูล :