การพัฒนาระบบการถ่ายเทความร้อนแบบการนำความร้อนเพื่อการผลิตไฟฟ้าด้วยเทอร์โมอิเล็กทริกจากเตาหุงต้มแก๊สปิโตรเลียมเหลว

Item

ชื่อเรือง

การพัฒนาระบบการถ่ายเทความร้อนแบบการนำความร้อนเพื่อการผลิตไฟฟ้าด้วยเทอร์โมอิเล็กทริกจากเตาหุงต้มแก๊สปิโตรเลียมเหลว

ชื่อเรื่องรอง

The Development of Heat Transfer by Conduction to Thermoelectric Power Generative from Petroleum Gas Stove

ผู้แต่ง

ศุภกิจ บุตรน้ำเพ็ชร์

หัวเรื่อง

เทอร์โมอิเล็กทริก
การถ่ายเทความร้อนแบบการนำความร้อนเพื่อการผลิตไฟฟ้า

รายละเอียดอื่นๆ

การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาการนำความร้อนจากเตาหุงต้มแก๊สปิโตรเลียมเหลวที่ส่งผลต่อแผ่นโลหะกั้นลมและการนำความร้อนของแผ่นทองแดงมาผลิตไฟฟ้าด้วย เทอร์โมอิเล็กทริก 2) สร้างและทดสอบระบบผลิตกระแสไฟฟ้าจากการใช้ความร้อนสูญเสียโดยใช้เทอร์โมอิเล็กทริก และ 3) วิเคราะห์ระยะเวลาคืนทุนของการเพิ่มวัสดุแผ่นทองแดงมาผลิตไฟฟ้าด้วยเทอร์โมอิเล็กทริก เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยได้แก่ เทอร์โมอิเล็กทริกโมดูล จำนวน 4 โมดูล ด้านร้อนของเทอร์โมอิเล็กทริก ติดตั้งอยู่ที่แผ่นทองแดงที่ประกบเข้ากับโลหะกั้นลมที่ทำจากสังกะสี ด้านเย็นติดตั้งอยู่กับเครื่องแลกเปลี่ยนความร้อนแบบครีบรวมกับพัดลมระบายความร้อน ทำการทดสอบในห้องปิดที่อุณหภูมิเฉลี่ยภายในห้อง 30 โดยนำความร้อนสูญเสียจากเตาหุงต้มแก๊สปิโตรเลียมเหลวมาใช้ผลิตไฟฟ้า ด้วยเทอร์โมอิเล็กทริกที่สามารถเปลี่ยนพลังงานความร้อนเป็นพลังงานไฟฟ้าได้ตามปรากฏการณ์ซีเบ็ค ผลการวิจัยพบว่า 1) อุณหภูมิเฉลี่ยด้านร้อน 220 และผลต่างอุณหภูมิ 185 ที่อัตราการไหลอากาศ 0.0281 kg/s กำลังไฟฟ้าสูงสุด 11.18W ส่งผลให้ประสิทธิภาพการแปลงพลังงานของเทอร์โมอิเล็กทริกได้ 5.14% ซึ่งกำลังไฟฟ้าที่ได้จากความร้อนสูญเสียจากเตาหุงต้มแก๊สปิโตรเลียมเหลวสามารถนำมาจ่ายไฟให้กับอุปกรณ์ไฟฟ้าขนาดเล็กได้ 2) ได้เตาหุงต้มแก๊สปิโตรเลียมเหลวที่สามารถผลิตกระแสไฟฟ้าจากการใช้ความร้อนสูญเสียโดยใช้เทอร์โมอิเล็กทริก 3) ระยะเวลาคืนทุนของระบบผลิตกระแสไฟฟ้าจากการใช้ความร้อนสูญเสียจากเตาหุงต้มแก๊สปิโตรเลียมเหลว ถูกกำหนดขึ้นเพื่อพิจารณาสำหรับการลงทุนกับแบตเตอรี่ ขนาด AA พบว่าในการเปิดใช้งาน 15 ชั่วโมง จะมีระยะเวลาคืนทุนเป็น 8.24 ปี และมีแนวโน้มของระยะเวลาคืนทุนที่เร็วขึ้นเมื่อเพิ่มระยะเวลาการใช้งาน

คำสำคัญ: เทอร์โมอิเล็กทริก แก๊สปิโตรเลียมเหลว การถ่ายเทความร้อน

บทคัดย่อ

This purposes of this research were to 1) determine thermal conductivity of liquid petroleum gas stove affecting plaque wind and thermal conductivity of copper to produce electricity with thermoelectric 2) construct and test electricity production systems from waste heat by using a thermoelectric and 3) analyze the payback period of added material, sheet copper electricity with thermoelectric. The research instrument included 4 modules of hot thermoelectric mounted on a copper plate sandwiched with metal windbreaker made of zinc. The cooler was equipped with a heat exchanger fins with a cooling fan. The testing temperature was set inside a closed room 30 by heat loss from stove liquefied petroleum gas used for power generation with the thermoelectric that could convert heat into electrical energy by Seebeck. The findings revealed as follows. 1) The average temperature of the hot temperatures of 220 and 185 at a flow rate of air 0.0281 kg/s maximum power 11.18W resulted in energy conversion efficiency of thermoelectric was 5.14%, which had the loss heat power from the liquid petroleum gas stove, and could be used to power small electronic devices. 2) A liquefied petroleum gas stove could generate electricity from waste heat using a thermoelectric. 3) The analysis of payback period of generated electricity system to generate from the waste heat from liquefied petroleum gas stove, set up to consider for investment with AA batteries revealed that the operation of 15 hours led to a payback period of 8.24 years and the trend of payback period was shorter with a longer duration operating.

Keywords: Thermoelectric, Liquefied Petroleum Gas, Heat Transfer

ผู้จัดพิมพ์/สำนักพิมพ์

มหาวิทยาลัยราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา สำนักวิทยบริการและเทคโนโลยีสารสนเทศ

ผู้ร่วมสร้างรรค์ ผู้ร่วมงาน

สุริยา พันธ์โกศล
ณรงค์ฤทธิ์ สนใจธรรม
อัครวัฒน์ ดวงนิล

วันที่ ปีที่จัดพิมพ์

2558

วันที่ผลิต วันที่จัดทำ

2021-08-09 06:57:07

วันที่ปรับปรุงข้อมูล

2021-08-09 06:57:07

ประเภท

thesis

รูปแบบ

application/pdf

แหล่งที่มา

วน 537.65 ศ677ก 2558

ภาษา

tha

รหัส

ลิขสิทธิ์

มหาวิทยาลัยราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา

Degree (name, level, descipline, grantor)

วิศวกรรมศาสตรมหาบัณฑิต
ปริญญาโท
การจัดการอุตสาหกรรม
มหาวิทยาลัยราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา

วันที่ใช้งาน

2558

คอลเลกชั่น

ศุภกิจ บุตรน้ำเพ็ชร์ . (2558). การพัฒนาระบบการถ่ายเทความร้อนแบบการนำความร้อนเพื่อการผลิตไฟฟ้าด้วยเทอร์โมอิเล็กทริกจากเตาหุงต้มแก๊สปิโตรเลียมเหลว. มหาวิทยาลัยราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา สำนักวิทยบริการและเทคโนโลยีสารสนเทศ, คลังข้อมูลดิจิทัล สำนักวิทยบริการและเทคโนโลยีสารสนเทศ, accessed December 26, 2024, http://dlib.bsru.ac.th/s/library/item/1448

นำออกข้อมูล :