การพัฒนารูปแบบการสอนโดยใช้ทฤษฎีเมตาคอกนิชั่นร่วมกับเทคนิคการใช้ผังก้างปลาเพื่อพัฒนาความสามารถในการคิดแก้ปัญหากลุ่มสาระการเรียนรู้สุขศึกษาและพลศึกษาของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5

Item

ชื่อเรือง

การพัฒนารูปแบบการสอนโดยใช้ทฤษฎีเมตาคอกนิชั่นร่วมกับเทคนิคการใช้ผังก้างปลาเพื่อพัฒนาความสามารถในการคิดแก้ปัญหากลุ่มสาระการเรียนรู้สุขศึกษาและพลศึกษาของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5

ชื่อเรื่องรอง

THE DEVELOPMENT OF TEACHING MODEL BASED ON META COGNITION THE THEORY AND FISHBONE DIAGRAM TECHNIQUE TO IMPOVE PROBLEM SOLVING SKILL IN HEALTH AND PHYSICAL EDUCATION SUBJET GROUP FOR MATTHAYOMSUKSA 5 STUDENTS

ผู้แต่ง

พัชรี วงศ์เสถียร

หัวเรื่อง

การสอน
การศึกษาและการสอน

รายละเอียดอื่นๆ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) พัฒนารูปแบบการสอนโดยใช้ทฤษฎีเมตาคอกนิชั่นร่วมกับเทคนิคการใช้ผังก้างปลาเพื่อพัฒนาความสามารถในการคิดแก้ปัญหากลุ่มสาระการเรียนรู้สุขศึกษาและพลศึกษาของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 และ 2) เปรียบเทียบความสามารถในการคิดแก้ปัญหาของนักเรียนก่อนและหลังเรียนด้วยรูปแบบการสอนโดยใช้ทฤษฎีเมตาคอกนิชั่นร่วมกับเทคนิคการใช้ผังก้างปลา กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยในครั้งนี้ คือ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 จำนวน 50 คน โรงเรียนรัตนโกสินทร์สมโภชบางขุนเทียน โดยการสุ่มแบบแบ่งกลุ่ม เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ แผนการจัดการเรียนรู้และแบบวัดความสามารถในการคิดแก้ปัญหา โดยใช้สถิติในการวิเคราะห์ข้อมูลคือ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานและการทดสอบค่าที ผลการวิจัยพบว่า 1. รูปแบบการสอนโดยใช้ทฤษฎีเมตาคอกนิชั่นร่วมกับเทคนิคการใช้ผังก้างปลาเพื่อพัฒนาความสามารถในการคิดแก้ปัญหากลุ่มสาระการเรียนรู้สุขศึกษาและพลศึกษาของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 ประกอบด้วย 1. แนวคิด/ทฤษฎี/หลักการ 2. วัตถุประสงค์ 3. กระบวนการจัดการเรียนการสอน 6 ขั้น คือ ขั้นนำเข้าสู่บทเรียน ขั้นระบุปัญหา ขั้นวางแผนออกแบบแก้ปัญหา ขั้นกำกับติดตาม ขั้นประเมินการคิดของตนเองและขั้นสรุป 4. ผลที่ผู้เรียนจะได้รับตามรูปแบบ 2. ความสามารถในการคิดแก้ปัญหาของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 หลังเรียนโดยใช้รูปแบบการสอนโดยใช้ทฤษฎีเมตาคอกนิชั่นร่วมกับเทคนิคการใช้ผังก้างปลาสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 คำสำคัญ: ทฤษฎีเมตาคอกนิชั่น เทคนิคการใช้ผังก้างปลา ความสามารถในการคิดแก้ปัญหา

บทคัดย่อ

The purposes of this research were 1) to develop teaching model based on meta cognition theory and fishbone diagram technique to improve problem-solving skill in Health and Physical Education Subject Group for Matthayomsuksa 5 students and 2) to compare the students’ problem-solving skill between before and after using teaching model based on meta cognition theory and fishbone diagram technique. The sample included 50 Matthayomsuksa 5 students obtained through cluster random sampling from Ratanakosinsompod Bangkhuntian School.The research instruments consisted of lesson plans and problem-solving skill assessment test Data was statistically analyzed in mean, standard deviation, and t-test. The findings revealed as follows: 1. The developed teaching model based on meta cognition theory and fishbone diagram technique delineated 5 components: 1) thoughts/theory/and principle 2) objectives 3) the 6 processes in teaching i.e. introducing, problem identifying, planning, monitoring, assessment, and summarizing and 4) learning outcomes. 2. The students’ problem-solving skill after learning through teaching model based on meta cognition theory and fishbone diagram technique was significantly higher at .01 level. Keywords:Meta Cognition Theory, Fishbone Diagram Technique, Problem-Solving Skill

ผู้จัดพิมพ์/สำนักพิมพ์

มหาวิทยาลัยราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา สำนักวิทยบริการและเทคโนโลยีสารสนเทศ

ผู้ร่วมสร้างรรค์ ผู้ร่วมงาน

ทวีศักดิ์ จงประดับเกียรติ
วิเชียร อินทรสมพันธ์

วันที่ ปีที่จัดพิมพ์

2557

วันที่ผลิต วันที่จัดทำ

2021-08-09 06:57:07

วันที่ปรับปรุงข้อมูล

2021-08-09 06:57:07

ประเภท

thesis

รูปแบบ

application/pdf

แหล่งที่มา

วน 373.238 พ524ก 2557

ภาษา

tha

รหัส

ลิขสิทธิ์

มหาวิทยาลัยราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา

Degree (name, level, descipline, grantor)

ครุศาสตรมหาบัณฑิต
ปริญญาโท
สาขาวิชาหลักสูตรและการสอน
มหาวิทยาลัยราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา

วันที่ใช้งาน

2557

คอลเลกชั่น

พัชรี วงศ์เสถียร . (2557). การพัฒนารูปแบบการสอนโดยใช้ทฤษฎีเมตาคอกนิชั่นร่วมกับเทคนิคการใช้ผังก้างปลาเพื่อพัฒนาความสามารถในการคิดแก้ปัญหากลุ่มสาระการเรียนรู้สุขศึกษาและพลศึกษาของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5. มหาวิทยาลัยราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา สำนักวิทยบริการและเทคโนโลยีสารสนเทศ, คลังข้อมูลดิจิทัล สำนักวิทยบริการและเทคโนโลยีสารสนเทศ, accessed December 26, 2024, http://dlib.bsru.ac.th/s/library/item/1428

นำออกข้อมูล :