ภาพลักษณ์หุ่นนิ่งในสภาวะย้อนแสง
Item
ชื่อเรือง
ภาพลักษณ์หุ่นนิ่งในสภาวะย้อนแสง
ชื่อเรื่องรอง
Image of Still-life against the Light
ผู้แต่ง
พัทธนันท์ วรรณพงศ์สิริ
หัวเรื่อง
จิตรกรรม
รายละเอียดอื่นๆ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาข้อมูลเกี่ยวกับลักษณะภาพย้อนแสงในผลงานจิตรกรรมของโคล์ด โมเนต์ จำนวน 5 ภาพ และ เอมิล โนลเด จำนวน 5 ภาพ รวม 10 ภาพ ในประเด็นระดับของความมืดและสว่าง สีที่ใช้ในที่มืดและสว่าง กลวิธีระบายสี และ 2) สร้างสรรค์ผลงานจิตรกรรม เรื่อง ภาพลักษณ์หุ่นนิ่งในสภาวะย้อนแสงด้วยสีอะคริลิกบนผ้าใบ กลุ่มตัวอย่าง คือ ผู้เชี่ยวชาญทางด้านศิลปะ จำนวน 3 ท่าน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ แบบสังเกต แบบสัมภาษณ์แบบมีโครงสร้าง และผลงานสร้างสรรค์ของผู้วิจัย เก็บข้อมูลจากผู้เชี่ยวชาญทางด้านศิลปะโดยใช้เทคนิคเดลฟายประยุกต์ และสถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลได้แก่ ร้อยละ ผลการวิจัยพบว่า 1. การศึกษาข้อมูลเกี่ยวกับลักษณะภาพย้อนแสง ประเด็นระดับความมืดและสว่างพบว่า ความมืดระดับน้อยถึงปานกลางใช้มากที่สุด ประเด็นสีที่ใช้ในที่มืดและสว่าง พบว่า สีที่ใช้ได้แก่ สีน้ำเงิน สีเหลือง สีแดง สีส้ม สีม่วง สีเขียว รวม 6 สี โดยใช้สีสดทุกสีและใช้สีสดผสมขาวในที่สว่างมากกว่าที่มืด ใช้สีสดผสมสีตรงข้ามร่วมกับสีสดผสมสีตรงข้ามกับสีขาวในที่มืดมากกว่าที่สว่าง ประเด็นกลวิธีระบายสีพบว่า รูปวัตถุใช้กลวิธีระบายสีหนาทับซ้อนและระบายสีให้ขอบรูปทรงผสานกันมากที่สุด รองลงมาใช้กลวิธีระบายสีแต้มแตะให้เป็นแผ่นสี ระบายสีขอบคม ระบายสีแบบจุด ระบายสีเรียบ และระบายสีไล่น้ำหนักตามลำดับ พื้นหลังใช้กลวิธีระบายสีหนาทับซ้อนมากที่สุด รองลงมาใช้กลวิธีระบายสีแต้มแตะให้เป็นแผ่นสี ระบายสีแบบจุดและระบายสีขอบคมตามลำดับ 2. การสร้างสรรค์ผลงานจิตรกรรมเรื่องภาพลักษณ์หุ่นนิ่งในสภาวะย้อนแสงด้วยสีอะคริลิกบนผ้าใบ ประเด็นระดับความมืดและสว่าง ใช้ระดับปานกลางและระดับน้อย ประเด็นสีที่ใช้ในที่มืดและสว่าง ในที่มืดใช้สีสดผสมสีตรงข้ามและสีสดผสมสีตรงข้ามกับขาวเป็นส่วนใหญ่ สำหรับในที่สว่างใช้สีสดและสีสดผสมขาวเป็นส่วนใหญ่ และประเด็นกลวิธีระบายสีใช้กลวิธีระบายสีให้ขอบรูปทรงผสานกัน และระบายสีหนาทับซ้อนเป็นหลัก ร่วมกับการระบายสีขอบคมเพื่อเน้นจุดสนใจ คำสำคัญ: ภาพลักษณ์ หุ่นนิ่ง ภาพย้อนแสง
บทคัดย่อ
The purposes of this research were 1) to study the still-life against the light from 10 images: 5 produced by Claude Monet and the other 5 images by Emile Nolde in terms of brightness, the colours for darkness and brightness, and coloring methods and 2) to create the painting entitled “Image of Still-life against the Light with Acrylic on Canvas”. The sample group included 3 artistry specialists, the data from which was elicited through Delphi Applied Technique. Data was collected using observation checklist, structured-interview, and paintings by the researcher and was statistically analyzed in percentage. The findings revealed as shown below. 1. The still-life against the light data revealed that the darkness at low level up to the moderate one was mostly adopted. The colours for darkness and brightness included 6 shades: blue, red, orange, violet, and green all of which was represented in intensity and white-combination was used in brightness areas rather than the dark ones. The intensity was also found to be mixed with the contrast colour apart from white-combination. Thickly-overlaid and union edge painting was mostly employed followed by dabbing, hard edge coloring, dot painting, flat wash, and blending. The background depended on thickly-overlaid painting mostly followed by tinting, dot painting, and hard edge coloring. 2. The painting entitled “Image of Still-life against the Light with Acrylic on Canvas” applied moderate-low brightness. The intense and contrast colours were used in the dark areas, including the intense ones with contrast and white-combination. As for the bright areas, the intense colours and intense ones with white-combination were adopted. Union edge and thickly-overlaid painting were mainly used as well as hard edge coloring for drawing attraction. Keywords: Image, Still-life, Against Light
ผู้จัดพิมพ์/สำนักพิมพ์
มหาวิทยาลัยราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา สำนักวิทยบริการและเทคโนโลยีสารสนเทศ
ผู้ร่วมสร้างรรค์ ผู้ร่วมงาน
พีระพงษ์ กุลพิศาล
สมชาย พรหมสุวรรณ
โกสุม สายใจ
วันที่ ปีที่จัดพิมพ์
2557
วันที่ผลิต วันที่จัดทำ
2021-08-09 06:57:07
วันที่ปรับปรุงข้อมูล
2021-08-09 06:57:07
ประเภท
thesis
รูปแบบ
application/pdf
แหล่งที่มา
วน 750 พ543ภ 2557
ภาษา
tha
ลิขสิทธิ์
มหาวิทยาลัยราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา
Degree (name, level, descipline, grantor)
ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต
ปริญญาโท
ศิลปกรรม
มหาวิทยาลัยราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา
วันที่ใช้งาน
2557
คอลเลกชั่น
พัทธนันท์ วรรณพงศ์สิริ . (2557). ภาพลักษณ์หุ่นนิ่งในสภาวะย้อนแสง. มหาวิทยาลัยราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา สำนักวิทยบริการและเทคโนโลยีสารสนเทศ, คลังข้อมูลดิจิทัล สำนักวิทยบริการและเทคโนโลยีสารสนเทศ, accessed December 26, 2024, http://dlib.bsru.ac.th/s/library/item/1424