จิตรกรรมกึ่งนามธรรมเนื้อหามนุษย์กับความร่าเริง
Item
ชื่อเรือง
จิตรกรรมกึ่งนามธรรมเนื้อหามนุษย์กับความร่าเริง
ชื่อเรื่องรอง
Semi-abstract Painting in Supjict Matter of Human and Liveliness
ผู้แต่ง
วิทยา อภิรัตนพันธ์
หัวเรื่อง
จิตรกรรม-- มนุษย์กับความร่าเริง
ศิลปกรรม
รายละเอียดอื่นๆ
การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ของการวิจัยเพื่อ 1) ศึกษาลักษณะการสร้างสรรค์จิตรกรรมกึ่งนามธรรมที่มีรูปมนุษย์แสดงความรู้สึกร่าเริง จากผลงานของ อองรี เดอ ตูลูส-โลเตรก อองรี มาตีส ศรีวรรณ เจนหัตถการกิจ และลำพู กันเสนาะ รวมจำนวน 23 ชิ้น ในประเด็นการตัดทอนรูปทรง การจัดองค์ประกอบและการวางจุดสนใจ เนื้อหาความร่าเริง และโครงสี และ 2) สร้างสรรค์ผลงานจิตรกรรมกึ่งนามธรรมเนื้อหามนุษย์กับความร่าเริงด้วยสีอะคริลิกบนผ้าใบ กลุ่มตัวอย่างคือผลงานจิตรกรรมของศิลปิน 4 ท่าน รวม 23 ชิ้น เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ แบบสังเกตแบบมีโครงสร้าง ตารางวิเคราะห์และแบบสัมภาษณ์ และสถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลได้แก่ การวิเคราะห์เชิงเนื้อหาร่วมกับการหาค่าร้อยละ ผลการวิจัยพบว่า 1. จิตรกรรมกึ่งนามธรรมที่มีรูปมนุษย์แสดงความรู้สึกร่าเริง จากผลงานของกลุ่มตัวอย่างสะท้อนให้เห็นประเด็นการตัดทอนรูปทรง คือ การตัดทอนให้เป็นแบบอิสระ ประเด็นการจัดองค์ประกอบและการวางจุดสนใจ คือ การจัดแบบซ้าย-ขวา ไม่เท่ากัน โดยวางจุดสนใจไว้ด้านซ้ายหรือขวาของภาพ ประเด็นเรื่องราวเกี่ยวกับมนุษย์กับการพักผ่อนและมนุษย์กับการแสดง และประเด็นโครงสี ได้แก่ สีส้ม สีขาว สีเหลือง สีเขียว และสีน้ำเงิน ตามลำดับ 2. การสร้างสรรค์ผลงานจิตรกรรม ผู้วิจัยตัดทอนรูปทรงในลักษณะรูปทรงแบบอิสระ เพื่อถ่ายทอดอารมณ์ความรู้สึก การจัดองค์ประกอบและการวางจุดสนใจที่ใช้ คือ การจัดแบบซ้าย-ขวา ไม่เท่ากัน โดยวางจุดสนใจในตำแหน่งสำคัญของภาพให้ผลงานมีเอกภาพ เรื่องราวเกี่ยวกับมนุษย์กับการพักผ่อนและมนุษย์กับการแสดงซึ่งเป็นกิจกรรมที่กระตุ้นอารมณ์ร่าเริง โครงสีใช้สีส้ม สีขาว สีเหลือง สีเขียว และสีน้ำเงิน รวมถึงกลวิธีการระบายสีที่หลากหลายเพื่อสร้างบรรยากาศแห่งความร่าเริง
คำสำคัญ : จิตรกรรมกึ่งนามธรรม, มนุษย์กับความร่าเริง
คำสำคัญ : จิตรกรรมกึ่งนามธรรม, มนุษย์กับความร่าเริง
บทคัดย่อ
The purposes of this research were 1) to study the creativity of 23 semi-abstract paintings with contents of human and liveliness by Henri-Marie-Raymond de Toulouse-Lautrec, Monfa Henri Matisse, Sriwan Jenhatakarnkit, and Lampoo Kansanoh in terms of distorting, composition and point of interest, subject matter of human liveliness, and colour scheme and 2) to create semi-abstract paintings with contents of human and liveliness with acrylic on canvas. The sample included 23 paintings of totally 4 artists. Data was collected using structured observation checklist, Grid Analytical Table, and interview. Content analysis and percentage was used for data analysis. The findings revealed as follows. 1. The semi-abstract paintings with contents of human and liveliness by the sample group reflected the following components: distorting was represented by polygonal, circle, or free shapes; composition and point of interest referred to asymmetry balance; the contents were mainly based on human and relaxation as well as human and performance and; colour scheme was fixed with shade of orange, white, yellow, green, and blue. 2.To create the researcher’s own painting, the polygonal, circle, and free shapes were employed for attitudinal conveyance. As for composition and point of interest, the researcher applied asymmetry balance to capture the unity. The contents were described by the story of human and relaxation as well as human and performance to increase liveliness. Orange, white, yellow, green, and blue, including a wide range of colouring to enhance the atmosphere of liveliness.
Keywords: Semi-Abstract Paintings, Human and Liveliness
Keywords: Semi-Abstract Paintings, Human and Liveliness
ผู้จัดพิมพ์/สำนักพิมพ์
มหาวิทยาลัยราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา สำนักวิทยบริการและเทคโนโลยีสารสนเทศ
ผู้ร่วมสร้างรรค์ ผู้ร่วมงาน
สมชาย พรหมสุวรรณ
พีระพงษ์ กุลพิศาล
พิสิษฐ์ พันธ์เทียน
วันที่ ปีที่จัดพิมพ์
2557
วันที่ผลิต วันที่จัดทำ
2021-08-09 06:57:07
วันที่ปรับปรุงข้อมูล
2021-08-09 06:57:07
ประเภท
thesis
รูปแบบ
application/pdf
แหล่งที่มา
วน 750 ว582จ 2557
ภาษา
tha
ลิขสิทธิ์
มหาวิทยาลัยราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา
Degree (name, level, descipline, grantor)
ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต
ปริญญาโท
ศิลปกรรม
มหาวิทยาลัยราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา
วันที่ใช้งาน
2557
คอลเลกชั่น
วิทยา อภิรัตนพันธ์ . (2557). จิตรกรรมกึ่งนามธรรมเนื้อหามนุษย์กับความร่าเริง. มหาวิทยาลัยราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา สำนักวิทยบริการและเทคโนโลยีสารสนเทศ, คลังข้อมูลดิจิทัล สำนักวิทยบริการและเทคโนโลยีสารสนเทศ, accessed December 26, 2024, http://dlib.bsru.ac.th/s/library/item/1422