รูปแบบการเปลี่ยนแปลงอย่างมีแผนของมหาวิทยาลัยในทิศทางสู่การเป็นมหาวิทยาลัยในกำกับของรัฐ

Item

ชื่อเรือง

รูปแบบการเปลี่ยนแปลงอย่างมีแผนของมหาวิทยาลัยในทิศทางสู่การเป็นมหาวิทยาลัยในกำกับของรัฐ

ชื่อเรื่องรอง

The Planned Change Model of Rajabhat University Towards an Autonomous University

ผู้แต่ง

ประเสริฐ ลิ้มสุขวัฒน์

หัวเรื่อง

การศึกษาและการสอน

รายละเอียดอื่นๆ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาองค์ประกอบการเปลี่ยนแปลงอย่างมีแผนของมหาวิทยาลัยราชภัฏในทิศทางสู่การเป็นมหาวิทยาลัยในกำกับของรัฐ และ 2) นำเสนอรูปแบบการเปลี่ยนแปลงอย่างมีแผนของมหาวิทยาลัยราชภัฏในทิศทางสู่การเป็นมหาวิทยาลัยในกำกับของรัฐ โดยเก็บรวบรวมข้อมูลจากกลุ่มตัวอย่าง 2 กลุ่มได้แก่ กลุ่มที่ 1 เป็นกลุ่มตัวอย่างเพื่อการสัมภาษณ์และสนทนากลุ่มโดยเลือกกลุ่มตัวอย่างแบบเจาะจง จำนวน 13 คน และกลุ่มที่ 2 กลุ่มตัวอย่างเพื่อการตอบแบบสอบถามเกี่ยวกับรูปแบบการเปลี่ยนแปลงอย่างมีแผนของมหาวิทยาลัยราชภัฏในทิศทางสู่การเป็นมหาวิทยาลัยในกำกับของรัฐ ซึ่งเป็นผู้บริหาร คณาจารย์ และบุคลากร ที่เกี่ยวข้องกับสายการศึกษาและสายสนับสนุนในมหาวิทยาลัยราชภัฏรวม6แห่ง ได้แก่ มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนดุสิต มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา มหาวิทยาลัยราชภัฏจันทรเกษม มหาวิทยาลัยราชภัฏพระนคร มหาวิทยาลัยราชภัฏธนบุรี และมหาวิทยาลัยราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา โดยเลือกกลุ่มตัวอย่างแบบแบ่งชั้น กลุ่มตัวอย่างรวม 382 คน วิเคราะห์ข้อมูลเชิงปริมาณโดยการหาค่าสถิติบรรยาย วิเคราะห์องค์ประกอบและการวิเคราะห์เส้นทาง และวิเคราะห์ข้อมูลเชิงคุณภาพโดยการวิเคราะห์เนื้อหา ผลการวิจัยพบว่า 1. องค์ประกอบการเปลี่ยนแปลงอย่างมีแผนของมหาวิทยาลัยราชภัฏในทิศทางสู่การเป็นมหาวิทยาลัยในกำกับของรัฐ ประกอบด้วย 3 องค์ประกอบ ได้แก่ องค์ประกอบที่ 1 บทบาทผู้บริหาร ประกอบด้วย 4 ตัวแปร คือ 1) งานวิชาการและงานวิจัยมีคุณภาพ 2) ผู้บริหารมีภาวะผู้นำและมีการบริหารจัดการที่ดี 3) มีทรัพยากรมนุษย์ที่ดี และ 4) สภามหาวิทยาลัยมีธรรมาภิบาลระดับสูง องค์ประกอบที่ 2 แผนกลยุทธ์ ประกอบด้วย 3 ตัวแปร คือ 1) ทิศทางกลยุทธ์ที่ชัดเจน 2) ความมั่นคงทางด้านการเงินและ 3) มีกลยุทธ์เชิงรุกด้านการตลาด และองค์ประกอบที่ 3 การมีส่วนร่วมของผู้บริหาร ประกอบด้วย 2 ตัวแปร คือ 1) มีความผูกพันที่ดีกับชุมชนและ 2) มีการจัดการด้านสาธารณูปโภคและสารสนเทศที่ดี 2. รูปแบบการเปลี่ยนแปลงอย่างมีแผนของมหาวิทยาลัยราชภัฏในทิศทางสู่การเป็นมหาวิทยาลัยในกำกับของรัฐ มี 3 องค์ประกอบ ได้แก่ 1) บทบาทผู้บริหาร 2) แผนกลยุทธ์ และ 3) การมีส่วนร่วมของผู้บริหาร มีความสอดคล้องกลมกลืนกับข้อมูลเชิงประจักษ์ดีมาก โดยมีค่า ไคสแควร์ ที่แตกต่างจากศูนย์อย่างไม่มีนัยสำคัญทางสถิติ (chi – square = 19.88; df = 16, P = 0.22580) ค่าดัชนีวัดความกลมกลืน (GFI) เท่ากับ 0.99 ค่าดัชนีวัดระดับความกลมกลืนที่ปรับแก้แล้ว (AGFI) เท่ากับ 0.97 ค่าดัชนีรากของค่าเฉลี่ยกำลังสองของส่วนเหลือ (RMR) เท่ากับ 0.026 และค่าเฉลี่ยกำลังสองของส่วนเหลือปรับปรุง (RMSEA) เท่ากับ .025 ซึ่งมีความถูกต้องเป็นไปได้และสามารถนำไปใช้ประโยชน์ได้สอดคล้องกับกรอบแนวคิดทฤษฎีของการวิจัย

คำสำคัญ : รูปแบบการเปลี่ยนแปลงอย่างมีแผน มหาวิทยาลัยราชภัฏ มหาวิทยาลัยในกำกับของรัฐ

บทคัดย่อ

The purposes of this research were to study 1) the planned change model of Rajabhat university to be an autonomous university and 2) to present the planned change model of Rajabhat university to be an autonomous university. Data were collected using 2 sample groups: Group 1 were sampled from interviewing and group discussion of specific sample group for 13 person and Group 2 were sampled to be respondents of questionnaire about the planned change model of Rajabhat university to be an autonomous university. The respondents are the administrators, faculty and staff who get involved with the educational and supportive units within 6 Rajabhat university : Suan Dusit Rajabhat university , Suan Sunantha Rajabhat university, Chandrakasem Rajabhat university, Phranakhon Rajabhat university, Dhonburi Rajabhat university and Bansomdejchaopraya Rajabhat university. Sampling method was stratified random sampling. Total sample group include 382 persons. Quantitative data has been analyzed by descriptive statistics, element analysis and path analysis. Qualitative data has been analyzed by content analysis. The finding revealed as follows: 1. There are 3 elements of the planned change model of Rajabhat university to be an autonomous university. : 1st element is executive roles included 4 variables: 1 ) quality of academic and research 2) leadership and good management 3) good human resources and 4 ) the high governance of the university council, 2nd element is Strategic plan included 3 variables : 1) a clear strategic direction, 2 ) financial stability and 3) an active marketing strategy and the final element is the participating of administrator included 2 variables: 1) good relationship with community and 2) good management of facilities and information technology. 2. The casual relationship models of the planned change model of Rajabhat university to be an autonomous university is in the line with the empirical data very well. The chi - square that is different from zero without the statistically significant (chi - square = 19.88; df = 16, P = 0.22580), the Goodness of Fit Index (GFI) was 0.99, Adjusted Goodness of Fit Index (AGFI) respectively was 0.97, Root Mean Residual index (RMR) was 0.026 and Root Mean Square Error of Approximation (RMSEA) was .025 . which was found appropriate, accurate, possible useful and accordance with the research conceptual frameworks.

Keywords: The planned change model , Rajabhat university, An autonomous university.

ผู้จัดพิมพ์/สำนักพิมพ์

มหาวิทยาลัยราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา สำนักวิทยบริการและเทคโนโลยีสารสนเทศ

ผู้ร่วมสร้างรรค์ ผู้ร่วมงาน

อำนวย เดชชัยศรี
สรายุทธ์ เศรษฐขจร
ราชันย์ บุญธิมา

วันที่ ปีที่จัดพิมพ์

2556

วันที่ผลิต วันที่จัดทำ

2021-08-09 06:57:07

วันที่ปรับปรุงข้อมูล

2021-08-09 06:57:07

ประเภท

thesis

รูปแบบ

application/pdf

แหล่งที่มา

วน 378.1 ป421ร 2556

ภาษา

Tha

รหัส

ลิขสิทธิ์

มหาวิทยาลัยราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา

Degree (name, level, descipline, grantor)

ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต
ปริญญาเอก
การบริหารการศึกษา
มหาวิทยาลัยราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา

วันที่ใช้งาน

2556

คอลเลกชั่น

ประเสริฐ ลิ้มสุขวัฒน์ . (2556). รูปแบบการเปลี่ยนแปลงอย่างมีแผนของมหาวิทยาลัยในทิศทางสู่การเป็นมหาวิทยาลัยในกำกับของรัฐ. มหาวิทยาลัยราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา สำนักวิทยบริการและเทคโนโลยีสารสนเทศ, คลังข้อมูลดิจิทัล สำนักวิทยบริการและเทคโนโลยีสารสนเทศ, accessed December 26, 2024, http://dlib.bsru.ac.th/s/library/item/1414

นำออกข้อมูล :