รูปแบบการจัดการสหกิจศึกษาที่มีความเหมาะสมกับบริบทของมหาวิทยาลัยราชภัฏในเขตกรุงเทพมหานคร
Item
ชื่อเรือง
รูปแบบการจัดการสหกิจศึกษาที่มีความเหมาะสมกับบริบทของมหาวิทยาลัยราชภัฏในเขตกรุงเทพมหานคร
ชื่อเรื่องรอง
A Cooperative Education Management Model Conforming to the Context of Rajabhat Universities in Bangkok Metropolis
ผู้แต่ง
เผด็จ ก๋าคำ
หัวเรื่อง
ความร่วมมือทางการศึกษา
การจัดการสหกิจศึกษา
รายละเอียดอื่นๆ
การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนารูปแบบการจัดการสหกิจศึกษาที่มีความเหมาะสมกับบริบทของมหาวิทยาลัยราชภัฏในเขตกรุงเทพมหานคร เป็นการวิจัยทั้งเชิงปริมาณและเชิงคุณภาพ กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยมี 2 กลุ่มคือ กลุ่มที่ 1 เก็บข้อมูลในระยะที่ 1 ประกอบด้วย 1) นักศึกษาที่ออกปฏิบัติสหกิจศึกษาหรือฝึกประสบการณ์วิชาชีพ จำนวน 380 คน 2) อาจารย์นิเทศก์ที่ออกปฏิบัติสหกิจศึกษาหรือฝึกประสบการณ์วิชาชีพ จำนวน 217 คน และ 3) ผู้รับผิดชอบเกี่ยวกับการดำเนินงานสหกิจศึกษาของสถานประกอบการ จำนวน 72 คน รวมทั้งสิ้น จำนวน 669 คน กลุ่มที่ 2 เก็บข้อมูลในระยะที่ 2 ประกอบด้วย 1) ผู้ทรงคุณวุฒิจากมหาวิทยาลัยราชภัฏในเขตกรุงเทพมหานคร จำนวน 6 คน และ 2) ผู้เชี่ยวชาญจากสถานประกอบการ จำนวน 6 คน รวมทั้งสิ้น จำนวน 12 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยคือ 1) แบบสอบถามความคิดเห็น และ 2) แบบสัมภาษณ์แบบกึ่งโครงสร้าง สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลคือ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานและการวิเคราะห์ข้อมูลเชิงเนื้อหา ผลการวิจัยพบว่า รูปแบบการจัดการสหกิจศึกษาที่มีความเหมาะสมกับบริบทของมหาวิทยาลัยราชภัฏในเขตกรุงเทพมหานคร ประกอบด้วย 3 องค์ประกอบคือ 1) หลักการและแนวคิดสหกิจศึกษา 2) วัตถุประสงค์ของรูปแบบสหกิจศึกษา และ 3) ขั้นตอนในการดำเนินการ สหกิจศึกษา ซึ่งมีรายละเอียดดังนี้ 1. หลักการและแนวคิดสหกิจศึกษา พบว่า การจัดการเรียนการสอนแบบสหกิจศึกษาตั้งอยู่บนพื้นฐานทฤษฎีการเรียนรู้ที่เน้นประสบการณ์และแนวคิดทฤษฎีการเรียนรู้ที่เน้นสภาพจริง มุ่งเน้นให้นักศึกษาเกิดการเรียนรู้เชิงประสบการณ์ เพื่อพัฒนาสมรรถนะของบัณฑิตให้มีคุณลักษณะตรงตามความต้องการขององค์กรผู้ใช้บัณฑิตและตลาดแรงงาน 2. วัตถุประสงค์ของรูปแบบสหกิจศึกษาคือ มุ่งช่วยให้การจัดการด้านการเรียนการสอนแบบสหกิจศึกษาประสบความสำเร็จบนพื้นฐานความเหมาะสมของบริบทของมหาวิทยาลัยราชภัฏในเขตกรุงเทพมหานคร 3. ขั้นตอนในการดำเนินการสหกิจศึกษา มี 6 ขั้นตอนดังนี้ ขั้นตอนที่ 1 จัดตั้งหน่วยงานดำเนินงานสหกิจศึกษา ทั้งในระดับมหาวิทยาลัยและระดับคณะ หรือระดับใดระดับหนึ่ง ขั้นตอนที่ 2 จัดกิจกรรมเตรียมความพร้อมให้นักศึกษาก่อนออกปฏิบัติสหกิจศึกษาอย่างน้อย 1 ภาคเรียน ขั้นตอนที่ 3 บริการจัดหางานหรือให้นักศึกษาติดต่อหางานกับสถานประกอบการด้วยตนเอง และกำหนดให้ภาคเรียนที่ 2 ชั้นปีที่ 4 เป็นภาคเรียนสหกิจศึกษา ระยะเวลา 16 สัปดาห์ ขั้นตอนที่ 4 ให้สถานประกอบการจ่ายค่าตอบแทนให้กับนักศึกษาหรืออาจไม่มีค่าตอบแทนหากเป็นความพึงพอใจของทุกฝ่าย ทั้งนี้ต้องจัดพนักงานที่ปรึกษาให้กับนักศึกษา ขั้นตอนที่ 5 นิเทศงานแบบพบปะพูดคุยกันทั้ง 3 ฝ่ายคือนักศึกษา อาจารย์นิเทศก์และพนักงานที่ปรึกษา ณ สถานประกอบการ อย่างน้อย 1-2 ครั้งต่อภาคเรียน ขั้นตอนที่ 6 ประเมินผลแบบมีส่วนร่วมทั้งสถานประกอบการและอาจารย์นิเทศก์ และให้มีการจัดนิทรรศการหลังกลับจากปฏิบัติสหกิจศึกษาเป็นส่วนหนึ่งของการประเมินผล คำสำคัญ : รูปแบบการจัดการสหกิจศึกษา สหกิจศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏ
บทคัดย่อ
The aim of this research was to develop a cooperative education management model conforming to the context of Rajabhat Universities in Bangkok Metropolis. Quantitative and qualitative approaches were implemented to collect the data from two sample groups. The first group was collected in phase 1 consisting of 669 respondents which could be classified as 380 internship or co-op students, 217 supervisors and 72 co-op job mentors at workplaces. The second group was collected in phase 2 consisting of 12 respondents which could be classified as 6 co-op scholars from Rajabhat Universities in Bangkok and 6 co-op experts from the workplaces. The research instruments both questionnaire and in-depth semi-structured interview were administered to collect the data which, in turn, were analyzed by using percentage, mean, standard deviation as well as content analysis. The research results revealed that a cooperative education management model conforming to Rajabhat Universities in Bangkok Metropolis consisted of three factors including 1) the principles and concepts of co-op, 2) the objective of co-op and 3) the procedures of implementing the co-op. The details were as follows: 1. The principles and concepts of co-op were based on experiential learning approach and authentic learning approach focusing on encouraging students to learn from real settings so that they could gain graduates' competencies in response to the needs of workplaces and labour markets. 2. The objective of the co-op stressed on helping manage the cooperative education successfully based on the context of Rajabhat Universities in Bangkok Metropolis. 3. The procedures of implementing the co-op were 6 steps as follows: Step 1: Setting up the co-op office both in the levels of the university and the faculty, or either level. Step 2: Preparing the co-op students with some activities related to co-op work at least 1 semester prior to co-op work. Step 3: Providing job vacancy for students or offering them an opportunity to search for job themselves. The second semester of the fourth year was appropriate for a co-op semester with a period of 16 weeks. Step 4: Paying wages to students by the workplaces was required. The payment might not be done provided that there was an agreement from all parties. However, the workplaces should prepare job mentors for students. Step 5: Supervising in forms of group discussion among 3 parties all of whom a student, a supervisor and a job mentor should be done at the workplace at least once or twice a semester. Step 6: Participating in a co-op evaluation should be conducted by the workplace and the supervisor. An exhibition of the students' work after co-op work should also be incorporated as a part of the evaluation. Keywords: Cooperative Education Model, Cooperative Education, Rajabhat Universities
ผู้จัดพิมพ์/สำนักพิมพ์
มหาวิทยาลัยราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา สำนักวิทยบริการและเทคโนโลยีสารสนเทศ
ผู้ร่วมสร้างรรค์ ผู้ร่วมงาน
จุมพจน์ วนิชกุล
วิโฬฏฐ์ วัฒนานิมิตกูล
บังอร เสรีรัตน์
วันที่ ปีที่จัดพิมพ์
2557
วันที่ผลิต วันที่จัดทำ
2021-08-09 06:57:07
วันที่ปรับปรุงข้อมูล
2021-08-09 06:57:07
ประเภท
thesis
รูปแบบ
application/pdf
แหล่งที่มา
วน 378.593 ผ761ร 2557
ภาษา
tha
ลิขสิทธิ์
มหาวิทยาลัยราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา
Degree (name, level, descipline, grantor)
ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต
ปริญญาเอก
การศึกษาเพื่อการพัฒนาท้องถิ่น
มหาวิทยาลัยราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา
วันที่ใช้งาน
2557
คอลเลกชั่น
เผด็จ ก๋าคำ . (2557). รูปแบบการจัดการสหกิจศึกษาที่มีความเหมาะสมกับบริบทของมหาวิทยาลัยราชภัฏในเขตกรุงเทพมหานคร. มหาวิทยาลัยราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา สำนักวิทยบริการและเทคโนโลยีสารสนเทศ, คลังข้อมูลดิจิทัล สำนักวิทยบริการและเทคโนโลยีสารสนเทศ, accessed December 27, 2024, http://dlib.bsru.ac.th/s/library/item/1407