ปัจจัยเชิงสาเหตุของการจัดการภาวะโภชนาการที่มีอิทธิพลต่อพัฒนาการของเด็กก่อนวัยเรียนในจังหวัดกาญจนบุรี

Item

ชื่อเรือง

ปัจจัยเชิงสาเหตุของการจัดการภาวะโภชนาการที่มีอิทธิพลต่อพัฒนาการของเด็กก่อนวัยเรียนในจังหวัดกาญจนบุรี

ชื่อเรื่องรอง

Causal factors of nutrition management for pre-School children development in Kanchanaburi province

ผู้แต่ง

พงษ์จิตต์ เกตุภู่พงษ์

หัวเรื่อง

เด็ก -- อาหาร
เด็ก -- โภชนาการ

รายละเอียดอื่นๆ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์การวิจัยเพื่อ 1) เพื่อศึกษาระดับการจัดการโภชนาการ ภาวะโภชนาการ พฤติกรรมเสี่ยง สภาพแวดล้อมทางเศรษฐกิจสังคมและฐานะทางสังคมที่มีอิทธิพลต่อพัฒนาการของเด็กก่อนวัยเรียนในจังหวัดกาญจนบุรี 2) เพื่อศึกษาปัจจัยเชิงสาเหตุของการจัดการภาวะโภชนาที่มีอิทธิพลต่อพัฒนาการของเด็กก่อนวัยเรียนในจังหวัดกาญจนบุรี 3) เพื่อศึกษาบทบาทการจัดการโภชนาการของเด็กก่อนวัยเรียนโรงเรียนอนุบาลสุภัทรกาญจน์ จังหวัดกาญจนบุรี การวิจัยครั้งนี้เป็นแบบผสมผสาน โดยใช้ระเบียบวิธีวิจัยเชิงปริมาณและเชิงคุณภาพประชากรที่ใช้ในการศึกษา จำนวน 8,892 คน คือ ผู้ปกครอง พ่อ แม่ ครูและผู้มีหน้าที่จัดการโภชนาการ 12 อำเภอ ในจังหวัดกาญจนบุรี กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการศึกษาเชิงปริมาณ จำนวน400 คน เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บข้อมูลคือแบบสอบถามและกลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการศึกษา เชิงคุณภาพ มีจำนวน 24 คน เครื่องมือที่ใช้ได้แก่แบบสัมภาษณ์เจาะลึกและวิเคราะห์ข้อมูล เชิงพรรณา ผลการวิจัย พบว่า 1. การจัดการโภชนาการ ภาวะโภชนาการ พฤติกรรมเสี่ยงสภาพแวดล้อมทางเศรษฐกิจสังคมและฐานะทางสังคมมีอิทธิพลต่อพัฒนาการเด็กก่อนวัยเรียน โดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก และพัฒนาการของเด็กก่อนวัยเรียนโดยรวมอยู่ในระดับปานกลาง 2. ปัจจัยเชิงสาเหตุของการจัดการภาวะโภชนาการ ได้แก่ การจัดการโภชนาการ ภาวะโภชนาการ พฤติกรรมเสี่ยง สภาพแวดล้อมทางเศรษฐกิจสังคมและฐานะทางสังคม มีอิทธิพลทางตรงต่อพัฒนาการเด็กก่อน โดยมีค่าเท่ากับ 0.75, 0.70, 0.42, 0.48 และ 0.56 ตามลำดับ และการ จัดการโภชนาการมีอิทธิพลทางตรงต่อภาวะโภชนาการ มีค่าเท่ากับ 0.68 ภาวะโภชนาการมีอิทธิพลทางตรงต่อพฤติกรรมเสี่ยงมีค่าเท่ากับ 0.61 พฤติกรรมเสี่ยงมีอิทธิพลทางตรงต่อฐานะทางสังคม มีค่าเท่ากับ 0.58 ในขณะที่สภาพแวดล้อมทางเศรษฐกิจสังคม มีอิทธิพลทางตรงต่อฐานะทางสังคมมีค่าเท่ากับ 0.48 และมีอิทธิพลทางอ้อมต่อพัฒนาการเด็กก่อนวัยเรียน 3. บทบาทการจัดการภาวะโภชนาการของเด็กก่อนวัยเรียนในโรงเรียนอนุบาลสุภัทรกาญจน์ จังหวัดกาญจนบุรี มีแนวโน้มดีขึ้น โดยดำเนินการปรับระบบบริหารจัดการใหม่ให้สอดคล้องกับบริบทของสภาพเศรษฐกิจสังคมและเป็นไปตามเกณฑ์มาตรฐานของกระทรวงสาธารณสุข

บทคัดย่อ

The aims of this research were 1) to investigate the level of nutrition management, nutrition status, risk behavior, socio-economic and social status that influenced the pre-school child development in Kanchanaburi Province; 2) to explore the causal factors of nutrition management affecting the preschool child development in Kanchanaburi Province; and 3) to study the roles of nutrition management for the pre-school children of Supatrakan Kindergarten School in Kanchanaburi Province. This study used a mixed method research design of both quantitative and qualitative methods The population of this study was 8,892 persons including child guards, parents, teachers, and nutrition managers in Kanchanaburi Province. For quantitative study, the number of survey samples was 400 person. The research instrument were a set of questionnaires. For qualitative study, the number of samples was 24, and the research instrument were a set of structure in-depth interview. Data was collected and analyzed by descriptive method.
The results of this study were as follows:
1. The level of nutrition management, nutrition status, risk behavior, socio-economic and social status influencing the development of pre-school children were found at high level. However, the developments of pre-school children were found at moderate level.
2. The components of the causal factors of nutrition management affecting the pre-school child development were nutrition management, nutrition status, risk behavior, socio-economic and social status with the mean values of 0.75, 0.70, 0.42, 0.48 and 0.56 respectively. While the mean value of nutrition managementhas direct influence on nutrition status at0.68; the nutrition status has direct influence on
3. risk behaviors at 0.61; and the risk behaviors has direct influence on social status at 0.58. The socio-economic has direct influence on social status at mean value of 0.48 and the socio-economic has indirect affecting on the pre-school child development.
4. The roles of nutrition management for the preschool children of Supatrakan Kindergarten in Kanchanaburi Province showed a positively improvement through improving management system to fit the socio-economic environment and the Ministry of Public Health Standards.
Keywords : Causal Factors, Nutrition Status, Pre-school Child Development

ผู้จัดพิมพ์/สำนักพิมพ์

มหาวิทยาลัยราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา สำนักวิทยบริการและเทคโนโลยีสารสนเทศ

ผู้ร่วมสร้างรรค์ ผู้ร่วมงาน

สมบัติ ทีฆทรัพย์
ดิลก บุญเรืองรอด
กิตติรัตน์ ฐานสุวรรณศรี

วันที่ ปีที่จัดพิมพ์

2556

วันที่ผลิต วันที่จัดทำ

2021-08-09 06:57:07

วันที่ปรับปรุงข้อมูล

2021-08-09 06:57:07

ประเภท

thesis

รูปแบบ

application/pdf

แหล่งที่มา

วน 641.562 พ149ป 2556

ภาษา

tha

รหัส

ลิขสิทธิ์

มหาวิทยาลัยราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา

Degree (name, level, descipline, grantor)

ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต
ปริญญาเอก
การจัดการเทคโนโลยี
มหาวิทยาลัยราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา

วันที่ใช้งาน

2556

คอลเลกชั่น

พงษ์จิตต์ เกตุภู่พงษ์ . (2556). ปัจจัยเชิงสาเหตุของการจัดการภาวะโภชนาการที่มีอิทธิพลต่อพัฒนาการของเด็กก่อนวัยเรียนในจังหวัดกาญจนบุรี. มหาวิทยาลัยราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา สำนักวิทยบริการและเทคโนโลยีสารสนเทศ, คลังข้อมูลดิจิทัล สำนักวิทยบริการและเทคโนโลยีสารสนเทศ, accessed December 27, 2024, http://dlib.bsru.ac.th/s/library/item/1383

นำออกข้อมูล :