การพัฒนารูปแบบองค์การแห่งการเรียนรู้ในโรงเรียนประถมศึกษาขนาดเล็กในจังหวัดชัยภูมิ
Item
ชื่อเรือง
การพัฒนารูปแบบองค์การแห่งการเรียนรู้ในโรงเรียนประถมศึกษาขนาดเล็กในจังหวัดชัยภูมิ
ชื่อเรื่องรอง
The development of a learning organization model in the small primary Schools in Chaiyaphum province
ผู้แต่ง
วสันต์ แสงหลา
หัวเรื่อง
การบริหารการศึกษา
ประถมศึกษา -- การบริหาร
รายละเอียดอื่นๆ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อพัฒนารูปแบบองค์การแห่งการเรียนรู้ในโรงเรียนประถมศึกษาขนาดเล็กในจังหวัดชัยภูมิ 2) เพื่อตรวจสอบความเหมาะสมและความเป็นไปได้ของรูปแบบองค์การแห่งการเรียนรู้ในโรงเรียนประถมศึกษาขนาดเล็กในจังหวัดชัยภูมิ 3) เพื่อศึกษาความเป็นองค์การแห่งการเรียนรู้ในโรงเรียนประถมศึกษาขนาดเล็กในจังหวัดชัยภูมิโดยจำแนกตามสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาและผลการประเมินภายนอกรอบที่สอง (พ.ศ.2549–2553) ผู้วิจัยได้กำหนดขั้นตอนการดำเนินการวิจัยไว้ 4 ขั้นตอน ดังนี้ ขั้นตอนที่ 1 การศึกษาเอกสารที่เกี่ยวกับหลักการ แนวคิด ทฤษฎี องค์ประกอบและสังเคราะห์กำหนดกรอบแนวคิดในการวิจัย การสนทนากลุ่มย่อยโดยผู้ทรงคุณวุฒิในพื้นที่จังหวัดชัยภูมิ จำนวน 15 ท่านและนำมาสร้างรูปแบบจำลององค์การแห่งการเรียนรู้ในโรงเรียนประถมศึกษาขนาดเล็กในจังหวัดชัยภูมิ ขั้นตอนที่ 2 การพัฒนารูปแบบองค์การแห่งการเรียนรู้ในโรงเรียนประถมศึกษาขนาดเล็กในจังหวัดชัยภูมิ โดยสัมภาษณ์ผู้ทรงคุณวุฒิ จำนวน 8 ท่านซึ่งได้มาโดยการคัดเลือกแบบเจาะจงโดยแสดงความคิดเห็นและพิจารณาความเหมาะสมและความเป็นไปได้ของรูปแบบองค์การแห่งการเรียนรู้ในโรงเรียนประถมศึกษาขนาดเล็กในจังหวัดชัยภูมิ แล้วนำมาสร้างแบบสอบถามในการวิจัย ขั้นตอนที่ 3 การตรวจสอบความเหมาะสมและความเป็นไปได้ของรูปแบบองค์การแห่งการเรียนรู้ในโรงเรียนประถมศึกษาขนาดเล็กในจังหวัดชัยภูมิ โดยใช้แบบสอบถามแบบมาตราส่วนประมาณค่า 5 ระดับ สอบถามผู้บริหารและครูผู้สอนโรงเรียนประถมศึกษาขนาดเล็กในจังหวัดชัยภูมิ จำนวน 331 คนโดยใช้วิธีการสุ่มแบบแบ่งชั้น วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติบรรยาย ได้แก่ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ขั้นตอนที่ 4 การศึกษาความเป็นองค์การแห่งการเรียนรู้ในโรงเรียนประถมศึกษาขนาดเล็ก ในจังหวัดชัยภูมิโดยจำแนกตามสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาและผลการประเมินภายนอกรอบที่สอง (พ.ศ.2549 – 2553)โดยใช้แบบสอบถามแบบมาตราส่วนประมาณค่า 5 ระดับ สอบถามผู้บริหารและครูผู้สอนโรงเรียนประถมศึกษาขนาดเล็กในจังหวัดชัยภูมิ จำนวน 331 คนจากกลุ่มตัวอย่าง 109 โรงเรียนโดยใช้วิธีการสุ่มแบบแบ่งชั้น วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติบรรยาย ได้แก่ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ผลการวิจัยพบว่า 1) รูปแบบองค์การแห่งการเรียนรู้ในโรงเรียนประถมศึกษาขนาดเล็กในจังหวัดชัยภูมิ มีองค์ประกอบ 7 ประการ ได้แก่ 1) การมีวิสัยทัศน์ร่วม มีประเด็นย่อย 9 ประเด็น 2) การมีวัฒนธรรมแห่งการเรียนรู้ในโรงเรียน มีประเด็นย่อย 10 ประเด็น 3) การสร้างเครือข่ายการเรียนรู้มีประเด็นย่อย 8 ประเด็น 4) การเป็นบุคคลรอบรู้ มีประเด็นย่อย 10 ประเด็น 5) การเรียนรู้ร่วมกันเป็นทีมมีประเด็นย่อย 8 ประเด็น 6) การคิดอย่างเป็นระบบ มีประเด็นย่อย 10 ประเด็น และ 7) การใช้เทคโนโลยีเพื่อการเรียนรู้มีประเด็นย่อย 10 ประเด็น 2) ผู้บริหารและครูผู้สอนในโรงเรียนประถมศึกษาขนาดเล็กในจังหวัดชัยภูมิ มีความเห็นว่ารูปแบบองค์การแห่งการเรียนรู้ในโรงเรียนประถมศึกษาขนาดเล็กในจังหวัดชัยภูมิ ทั้งโดยรวม รายด้านและรายข้อมีความเหมาะสมและมีความเป็นไปได้อยู่ในระดับมาก 3) ความเป็นองค์การแห่งการเรียนรู้ในโรงเรียนประถมศึกษาขนาดเล็กในจังหวัดชัยภูมิจำแนกตามสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาในจังหวัดชัยภูมิ ทั้ง 3 แห่ง พบว่า ความเป็นองค์การแห่งการเรียนรู้โดยรวมรายด้านและรายข้ออยู่ในระดับมาก 4) ความเป็นองค์การแห่งการเรียนรู้ของโรงเรียนประถมศึกษาขนาดเล็กในจังหวัดชัยภูมิที่ผ่านการประเมินภายนอกรอบที่สองจะมีความเป็นองค์การแห่งการเรียนรู้มากกว่าโรงเรียนที่ไม่ผ่านการประเมินภายนอกรอบที่สอง
คำสำคัญ : องค์การแห่งการเรียนรู้
คำสำคัญ : องค์การแห่งการเรียนรู้
บทคัดย่อ
The purposes of this research were 1) to develop learning organization model for small primary schools in Chaiyaphum Province, 2) to investigate the suitability and feasibility of learning organization model for small primary schools in Chaiyaphum Province. and 3) to study the characteristics of the learning organization of small primary schools in Chaiyaphum province. Four steps of the research process were used for the study. Step 1 was a review of related literature on the principles, ideas, theories, and syntheses of conceptual framework for the research. A group discussion comprising of 15 experts where opinions sought to create a replica learning organization model for small primary schools in Chaiyaphum Province were organized. Step 2 was the development of a learning organization model for small primary schools in Chaiyaphum Province. For such purposes, 8 experts were interviewed to obtain their opinions on suitability and feasibility of the model after which questionnaires were developed. Step 3 was the examination of the suitability and feasibility of the model of learning organization for small primary schools in Chaiyaphum Province. A 5-rating-scale questionnaire was used for a sample of 331 administrators and classroom teachers in 109 schools obtained by a stratified random sampling technique. A descriptive statistic namely means and standard deviations were used for the analysis.
The research results revealed that
1) The model of learning organization for small primary schools in Chaiyaphum Province was comprised of 7 components They were 1) Shared Vision with 9 subcomponents, 2) Corporate Learning Culture with 10 subcomponents, 3) Networking with 8 subcomponents, 4) Personal Mastery with 10 subcomponents, 5) Team Learning with 8 subcomponents, 6) System Thinking with 10 subcomponents and 7) Technology Application with 10 subcomponents.
2) The school administrators and classroom teachers of the small schools expressed their opinions toward the suitability and feasibility of the learning organization model for the small schools in Chaiyaphum Province as a whole, by areas and by items at high level.
3) The characteristics of the learning organization in the small schools in Chaiyaphum Province were found, both by areas and items, at high level.
4) The characteristics of the learning organization in the small schools in Chaiyaphum Province that passed the second round assessment enjoyed higher characteristics of learning organization than those failed at the same round of assessment.
Keyword: Learning Organization
The research results revealed that
1) The model of learning organization for small primary schools in Chaiyaphum Province was comprised of 7 components They were 1) Shared Vision with 9 subcomponents, 2) Corporate Learning Culture with 10 subcomponents, 3) Networking with 8 subcomponents, 4) Personal Mastery with 10 subcomponents, 5) Team Learning with 8 subcomponents, 6) System Thinking with 10 subcomponents and 7) Technology Application with 10 subcomponents.
2) The school administrators and classroom teachers of the small schools expressed their opinions toward the suitability and feasibility of the learning organization model for the small schools in Chaiyaphum Province as a whole, by areas and by items at high level.
3) The characteristics of the learning organization in the small schools in Chaiyaphum Province were found, both by areas and items, at high level.
4) The characteristics of the learning organization in the small schools in Chaiyaphum Province that passed the second round assessment enjoyed higher characteristics of learning organization than those failed at the same round of assessment.
Keyword: Learning Organization
ผู้จัดพิมพ์/สำนักพิมพ์
มหาวิทยาลัยราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา สำนักวิทยบริการและเทคโนโลยีสารสนเทศ
ผู้ร่วมสร้างรรค์ ผู้ร่วมงาน
สุรัฐ ศิลปอนันต์
ผจญ โกจารย์ศรี
สรายุทธ์ เศรษฐขจร
วันที่ ปีที่จัดพิมพ์
2555
วันที่ผลิต วันที่จัดทำ
2021-08-09 06:57:07
วันที่ปรับปรุงข้อมูล
2021-08-09 06:57:07
ประเภท
thesis
รูปแบบ
application/pdf
แหล่งที่มา
วน 372.12 ว358ก 2555
ภาษา
tha
ลิขสิทธิ์
มหาวิทยาลัยราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา
Degree (name, level, descipline, grantor)
ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต
ปริญญาเอก
การบริหารการศึกษา
มหาวิทยาลัยราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา
วันที่ใช้งาน
2555
คอลเลกชั่น
วสันต์ แสงหลา . (2555). การพัฒนารูปแบบองค์การแห่งการเรียนรู้ในโรงเรียนประถมศึกษาขนาดเล็กในจังหวัดชัยภูมิ. มหาวิทยาลัยราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา สำนักวิทยบริการและเทคโนโลยีสารสนเทศ, คลังข้อมูลดิจิทัล สำนักวิทยบริการและเทคโนโลยีสารสนเทศ, accessed December 27, 2024, http://dlib.bsru.ac.th/s/library/item/1357