การพัฒนารูปแบบศูนย์การเรียนรู้ปราชญ์ชาวบ้านด้านเกษตรกรรม: กรณีศึกษาศูนย์ฝึกอบรมเกษตรผสมผสาน

Item

ชื่อเรือง

การพัฒนารูปแบบศูนย์การเรียนรู้ปราชญ์ชาวบ้านด้านเกษตรกรรม: กรณีศึกษาศูนย์ฝึกอบรมเกษตรผสมผสาน

ชื่อเรื่องรอง

The model development of the Agricultural local wisdom learnning Center: case study of the integrated agricultural training Center of Ban Nuanrang -Burapa

ผู้แต่ง

สุวินัย เกิดทับทิม

หัวเรื่อง

เกษตรกรรม
ศูนย์การเรียนรู้
ทฤษฎีใหม่

รายละเอียดอื่นๆ

การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษารูปแบบและกระบวนการดำเนินงานของศูนย์การเรียนรู้ปราชญ์ชาวบ้านด้านเกษตรกรรมตามความต้องการของเกษตรกร 2) ศึกษาปัญหาและแนวทางแก้ไขในการฝึกอบรมของศูนย์การเรียนรู้ปราชญ์ชาวบ้านด้านเกษตรกรรม 3) พัฒนารูปแบบของศูนย์การเรียนรู้ปราชญ์ชาวบ้านด้านเกษตรกรรมที่เหมาะสม ผู้วิจัยได้ใช้ศูนย์ฝึกอบรมเกษตรผสมผสานบ้านโนนรัง-บูรพา โดยมี นายจันทร์ที ประทุมภา ปราชญ์ชาวบ้านด้านเกษตรกรรมเป็นประธานศูนย์การเรียนรู้และพื้นที่เป้าหมาย 3 หมู่บ้านได้แก่ บ้านใหม่โนนรัง บ้านวังทองพัฒนา และบ้านสำโรง ตั้งอยู่ในเขตอำเภอชุมพวง จังหวัดนครราชสีมา เป็นพื้นที่ดำเนินการวิจัย ด้วยวิธีการวิจัยแบบผสมวิธี ทั้งการวิจัยเชิงปริมาณ และการวิจัยเชิงคุณภาพ โดยเก็บข้อมูลทั้ง 2 แบบจากแบบสำรวจ แบบสัมภาษณ์ แนวการสนทนากลุ่ม ซึ่งเป็นเครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย แล้วนำผลที่ได้จากการเก็บข้อมูลจากทั้งสองวิธีมาวิเคราะห์ หรือสังเคราะห์ และนำข้อมูลจากวิธีวิจัยทั้งสองประเภทมาเสริมกัน เพื่อให้ผลการวิจัยสมบูรณ์ยิ่งขึ้น วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย และวิเคราะห์ความแปรปรวน การเก็บข้อมูลภาคสนามที่ศูนย์การเรียนรู้ปราชญ์ชาวบ้านโนนรัง-บูรพา และจากเกษตรกรทั้ง 3 หมู่บ้าน ใช้วิธีการวิจัยแบบมีส่วนร่วม ให้ปราชญ์ชาวบ้านและเกษตรกรมีส่วนร่วมในการเสนอปัญหาความต้องการของศูนย์การเรียนรู้ และร่วมกันวิเคราะห์ปัญหาและหาแนวทางการจัดการฝึกอบรมที่เหมาะสมให้กับผู้มาเข้ารับการอบรม ผลการวิจัย พบว่า 1) รูปแบบและกระบวนการดำเนินงานของศูนย์เรียนรู้ปราชญ์ชาวบ้านด้านเกษตรกรรมตามความต้องการของเกษตรกร 3 หมู่บ้านเป้าหมาย เกี่ยวกับความต้องการทั่วไปของเกษตรกรมีระดับสูงสุด คือ ความต้องการให้พึ่งตนเองได้ในทางอาชีพได้แก่ บ้านใหม่โนนรัง บ้านสำโรง ส่วนความต้องการมีแหล่งน้ำเพื่อการเพาะปลูกตลอดปีได้แก่ บ้านวังทองพัฒนา ความต้องการก่อนการฝึกอบรม มีระดับสูงสุด พบว่า ต้องการให้ศูนย์ร่วมมือกับหน่วยราชการของกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ในการสนับสนุนงบประมาณการฝึกอบรมแก่เกษตรกร ได้แก่ บ้านใหม่โนนรัง บ้านวังทองพัฒนา และบ้านสำโรง ความต้องการระหว่างการอบรมพบว่า มีระดับสูงสุด คือ ความต้องการให้มีการอบรมหลักสูตรเกษตรผสมผสาน ปลูกข้าวพืชไร่ ไม้ผล เลี้ยงสัตว์ ไม้ใช้สอย ได้แก่ บ้านใหม่โนนรัง บ้านสำโรง ส่วนบ้านวังทองพัฒนาต้องการปรับปรุงบำรุงดินมีระดับสูงสุด ความต้องการของเกษตรกรหลังการฝึกอบรมระดับสูงสุดพบว่า ต้องการให้ติดตามผล แนะนำ การปฏิบัติตามแนวมีระดับสูงสุด ได้แก่ บ้านวังทองพัฒนา บ้านสำโรง ส่วนบ้านใหม่โนนรังต้องการให้หน่วยราชการ เอกชน และมูลนิธิให้การสนับสนุนงบประมาณ 2) ปัญหาและแนวทางแก้ไขในการฝึกอบรมของศูนย์ฯ พบว่า มีสภาพพื้นที่แตกต่างกัน ควรมีการสำรวจความต้องการก่อนการฝึกอบรม และจัดหลักสูตรให้ผู้เข้าอบรม ได้รับความรู้ที่สอดคล้องกับสภาพปัญหาและสภาพภูมิสังคมของหมู่บ้าน และจัดหาวิทยากรที่มีความรู้ตรงกับความต้องการของผู้เข้าอบรม เช่น บ้านสำโรง ที่ประสบปัญหาน้ำท่วมในพื้นที่การเกษตรทำให้ผลผลิตเสียหาย การติดตามผลเพื่อช่วยเหลือเกษตรกรไม่ทั่วถึง พบว่า สามารถติดตามผลได้เพียง ร้อยละ 30 ของผู้เข้าอบรม แนวทางการแก้ไขปัญหาของศูนย์ฝึกอบรมฯ มีการสอบถามความต้องการของเกษตรกร ขณะเดียวกันควรประชาสัมพันธ์ให้ทราบถึงหลักสูตรมาตรฐานที่ศูนย์ฯ ดำเนินการเป็นหลักสูตร 5 วัน 4 คืน เพื่อจะได้เกษตรกรที่สนใจและสอดคล้องกับคามต้องการของผู้เข้าอบรม 3) รูปแบบในการฝึกอบรมของศูนย์ฯ ที่เหมาะสมพบว่า บ้านใหม่โนนรัง ผู้เข้าอบรมมีความสนใจปฏิบัติเรื่องการปลูกป่า 3 อย่าง ประโยชน์ 4 อย่าง บ้านวังทองพัฒนา ผู้เข้าอบรมมีความสนใจปฏิบัติเรื่องการทำปุ๋ยชีวภาพ เพื่อลดการใช้สารเคมี มุ่งเน้นการประหยัดลดรายจ่ายการเพาะปลูกพืชให้ผลงาม ปลอดภัยในการบริโภค และเกษตรกรสามารถมีแหล่งอาหารไว้ในครัวเรือนได้ตลอดปี บ้านสำโรง ผู้เข้าอบรมมีความสนใจปฏิบัติเรื่องทำนาข้าวอินทรีย์ ทำปุ๋ยหมักชีวภาพเพื่อเพิ่มผลผลิตต่อไร่ได้มากขึ้น สรุปผลการวิจัย การพัฒนารูปแบบฯที่เหมาะสมสำหรับ 3 หมู่บ้าน คือ บ้านใหม่โนนรัง เป็นรูปแบบการพัฒนาเพื่อความยั่งยืน บ้านวังทองพัฒนา เป็นรูปแบบการพัฒนาเพื่อความพอเพียง บ้านสำโรง เป็นรูปแบบการพัฒนาเพื่อความอยู่รอด

คำสำคัญ : รูปแบบศูนย์, ปราชญ์ชาวบ้านด้านเกษตรกรรม, ทฤษฎีใหม่

บทคัดย่อ

The purposes of this research were 1) to study model and implication process of Local
Wisdom Leaning Center based on agriculturists’ needs 2) ) to study the problems and guidelines for problem solutions in training program of Local Wisdom Leaning Center 3) to develop the model of Local Wisdom Learning Center. Training Center of Mixed Agriculture at Ban Nonrang-Burapa was used to be the research area. The local wisdom on agriculture, Mr. Chantee Pratoompa, was the head of the center. The target areas were 3 villages in Chumpuang, Nakornrachasrima Province, namely Mainonrang Village, Wangtongpattana Village and Samrong Village. The mixed-method research-quantitative and qualitative was conducted. The data were collected by interviewing and group discussion. Then the data collected were analyzed and synthesized to make the data completed. Percentage, mean and ANOVA were used to analyze the data. The participation research method was also conducted.
The findings revealed that :
1) The model and implication process of Local Wisdom Learning Center based on
agriculturists’ needs in 3 targeted villages on general needs was at the highest level that was the self-reliance on careers -Ban Mainonrang and Ban Samrong . While the needs of water sources for all year agriculture was Ban Wangtongpattana. The needs for pre-training was also at the highest level. They needed the cooperation between the Center and Ministry of Agriculture and Cooperatives for supporting on training budget – Ban Mainonrang, Ban Wangtongpattana and Ban Samrong. The needs for during training was the highest level. They needed training on mixed agriculture such as planting rice, crops, fruits and so on –Ban Mainonrang, Ban Samrong. While Ban Wangtong , the needs of improving land was at the highest level. The needs for post traing-follow up and follow the guidlines was at the highest level- Ban Wangtongpattaya, Ban Samrong. While Ban Mainonrang needed the government section ,the the private section and the foundation to support on budget.
2) The problems and guidlines for problem solutions in training program of Local Wisdom Leaning Center was found that on different area should have different training course. The knowledge they got should be appropriate for their area. The guest speakers should have the knowledge about their area and serve their needs. The example of the problem in the area was flooding area at Ban Samrongpattaya that caused the damage to their crops and the assistance did not cover all of them- only 30% could get the assistance. To survey the needs and to publicize the training courses should be done in order to get the interested agriculturists and serve their needs.
3) The develop model of Local Wisdom Leaning Center, it was found that the trainees
at Ban Mainonrang were interested in 3 forests 4 benefits. The trainees at Ban Wangtongpattana were interested in doing bio-fertilizer to reduce the using of chemical and their expenses. They also had food source all year round. While the trainees at Ban Samrong were interested in organic rice, bio-fertilizer in order to increase their products in the area. To conclude the results of the research were as follow:- the appropriate model for Ban Mainonrang was a sustainable development model, Ban Wangtongpattana was a sufficiency development model and Ban Samrong was a survival development model.

Keywords : Learning center model , Agricultural local wisdom , New theory agriculture

ผู้จัดพิมพ์/สำนักพิมพ์

มหาวิทยาลัยราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา สำนักวิทยบริการและเทคโนโลยีสารสนเทศ

ผู้ร่วมสร้างรรค์ ผู้ร่วมงาน

ขนิฏฐา กาญจนรังษีนนท์
ทัชชญา วรรณบวรเดช
ชินรัตน์ สมสืบ

วันที่ ปีที่จัดพิมพ์

2555

วันที่ผลิต วันที่จัดทำ

2021-08-09 06:57:07

วันที่ปรับปรุงข้อมูล

2021-08-09 06:57:07

ประเภท

thesis

รูปแบบ

application/pdf

แหล่งที่มา

วน 630 ส882ก 2555

ภาษา

tha

รหัส

ลิขสิทธิ์

มหาวิทยาลัยราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา

Degree (name, level, descipline, grantor)

ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต
ปริญญาเอก
การศึกษาเพื่อการพัฒนาท้องถิ่น
มหาวิทยาลัยราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา

วันที่ใช้งาน

2555

คอลเลกชั่น

สุวินัย เกิดทับทิม . (2555). การพัฒนารูปแบบศูนย์การเรียนรู้ปราชญ์ชาวบ้านด้านเกษตรกรรม: กรณีศึกษาศูนย์ฝึกอบรมเกษตรผสมผสาน. มหาวิทยาลัยราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา สำนักวิทยบริการและเทคโนโลยีสารสนเทศ, คลังข้อมูลดิจิทัล สำนักวิทยบริการและเทคโนโลยีสารสนเทศ, accessed December 27, 2024, http://dlib.bsru.ac.th/s/library/item/1356

นำออกข้อมูล :