จิตรกรรมค่าต่างแสงกับความรู้สึกสงบแบบเหนือจริงเนื้อหาวัตถุในพิธีกรรมพุทธศาสนา

Item

ชื่อเรือง

จิตรกรรมค่าต่างแสงกับความรู้สึกสงบแบบเหนือจริงเนื้อหาวัตถุในพิธีกรรมพุทธศาสนา

ชื่อเรื่องรอง

Chiaroscuro and Serenity within Surrealistic Painting in the Subject Matter of Buddhism Ritual Object

ผู้แต่ง

ณัฐ ล้ำเลิศ

หัวเรื่อง

แสงในศิลปะ--จิตรกรรมเหนือจริง
ศิลปะ--ความรู้สึกสงบ

รายละเอียดอื่นๆ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาค่าต่างแสงในงานจิตรกรรมกับความรู้สึกสงบ 2) ศึกษาดวามเหนือจริงในงานจิตรกรรม และ
3) สร้างสรรค์ผลงานจิตรกรรมค่าต่างแสงกับความรู้สึกสงบแบบเหนือจริงเนื้อหาวัตถุในพิธีกรรมพุทธศาสนาด้วยกลวิธีการระบายสีน้ำมันบนผ้าใบ กลุ่ม
ตัวอย่าง ได้แก่ ผู้ชี่ยวชาญทางด้านศิลปะ จำนวน 3 ท่าน คัดเลือกโดยวิธีการสุ่มแบบเจาะจง (purposive random sampling) เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ ภาพจิตรกรรมที่ผู้วิจัยสร้าง จำนวน 4 ชิ้น เก็บข้อมูลจากผู้ชี่ยวชาญทางด้านศิลปะ โดยใช้เทคนิดเดลฟายประยุกต์ (Delphi Applied Technique)
ผลการวิจัยพบว่า
1. ค่าต่างแสงในงานจิตรกรรมที่ให้ความรู้สึกสงบ แสงต้องเป็นแสงที่นุ่มนวลไม่จัดเกินไป ให้เป็นแสงที่มาจากแสงเทียน เพื่อช่วยสร้างบรรยากาศให้เกิดความรู้สึกสงบ และมีศรัทธาในพุทธศาสนา อันเป็นสัญลักษณ์ในรื่องของความดีงาม ปัญญา หรือทางออกแห่งปัญหาและอุปสรรคต่าง ๆ ปริมาณของแสงให้มีพื้นที่น้อยกว่าพื้นที่ที่เป็นความมืด และขัดแสงให้อยู่ในจุดเดียวกันเพื่อลดความรู้สึกเคลื่อนไหว โดยการไถ่น้ำหนักของแสงจากอ่อนไปสู่แก่ เพื่อลดความขัดแย้งและสร้างความกลมกลืนของน้ำหนัก
2. ความเหนือจริงในงานจิตรกรรม สามารถสร้างขึ้นได้โดยการจัดวางวัตถุในพิธีกรรมพุทธศาสนาให้อยู่ท่ามกลางบรรยากาศและเรื่องราวที่จินตนาการขึ้นมา คือ ให้ลอยอยู่บนน้ำ หรือสร้างเป็นภาพลวงตา เปลี่ยนขนาดของรูปทรง วัตถุที่มีขนาดเล็กทำให้ใหญ่ขึ้น และวัตถุใหญ่ดูเล็กลง อีกทั้งใช้วิธีสร้างภาพสะท้อนบนผิวของวัตถุที่มันวาว เช่น เรื่องราวเกี่ยวกับพุทธศาสนา
3. การสร้างสรรค์ผลงานจิตรกรรมค่าต่างแสงกับความรู้สึกสงบแบบเหนือจริงเนื้อหา วัตถุในพิธีกรรมพุทธศาสนา ด้วยกลวิธีสีน้ำมันบนผ้าใบ ใช้วิธีการรองพื้นด้วยสีน้ำมันและระบายสีจากแก่ไปอ่อน และใช้กลวิธีระบายเรียบโดยไม่ให้เกิดรอยฝีแปรง เพื่อให้เกิดความรู้สึกนุ่มนวล การใช้เส้นให้ใช้เส้นตรงและเส้นโค้งเป็นโครงสร้างหลักเพื่อให้เกิดความรู้สึกสงบ นิ่ง และไม่ให้ตัดเส้นรอบนอกรูปทรง ใช้วิธีการสร้างรูปทรงเปิดเข้าสู่พื้นหลัง เพื่อให้เกิดการประสานกลมกลืนระหว่างรูปกับพื้น การจัดภพวัตถุในพิธีกรรมพุทธศาสนาให้ใช้มุมมองหลายระดับ คือ ระดับสายตา ระดับต่ำกว่าสายตา และระดับสูงกว่าสายตา

คำสำคัญ : ค่าต่างแสง ,จิตรกรรมเหนือจริง ,วัตถุในพิธีกรรมพุทธศาสนา, ความรู้สึกสงบ

ผู้จัดพิมพ์/สำนักพิมพ์

มหาวิทยาลัยราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา สำนักวิทยบริการและเทคโนโลยีสารสนเทศ

ผู้ร่วมสร้างรรค์ ผู้ร่วมงาน

พีระพงษ์ กุลพิศาล
โกสุม สายใจ
สมชาย พรหมสุวรรณ

วันที่ ปีที่จัดพิมพ์

2554

วันที่ผลิต วันที่จัดทำ

2021-08-09 06:57:07

วันที่ปรับปรุงข้อมูล

2021-08-09 06:57:07

ประเภท

thesis

รูปแบบ

application/pdf

แหล่งที่มา

วน 701.8 ณ311จ 2554

ภาษา

tha

รหัส

ลิขสิทธิ์

มหาวิทยาลัยราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา

Degree (name, level, descipline, grantor)

ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต
ปริญญาโท
ศิลปกรรม
มหาวิทยาลัยราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา

วันที่ใช้งาน

2554

คอลเลกชั่น

ณัฐ ล้ำเลิศ . (2554). จิตรกรรมค่าต่างแสงกับความรู้สึกสงบแบบเหนือจริงเนื้อหาวัตถุในพิธีกรรมพุทธศาสนา. มหาวิทยาลัยราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา สำนักวิทยบริการและเทคโนโลยีสารสนเทศ, คลังข้อมูลดิจิทัล สำนักวิทยบริการและเทคโนโลยีสารสนเทศ, accessed December 28, 2024, http://dlib.bsru.ac.th/s/library/item/1334

นำออกข้อมูล :