การพัฒนารูปแบบการใช้วิทยุออนไลน์ร่วมกับวิทยุชุมชนเพื่อสนับสนุนการพัฒนาชุมชน
Item
ชื่อเรือง
การพัฒนารูปแบบการใช้วิทยุออนไลน์ร่วมกับวิทยุชุมชนเพื่อสนับสนุนการพัฒนาชุมชน
ชื่อเรื่องรอง
The development model of the radio to support the process of community development
ผู้แต่ง
ไพฑูรย์ มากสุข
หัวเรื่อง
การสื่อสารกับการพัฒนา
วิทยุชุมชน
รายละเอียดอื่นๆ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ดังนี้ 1.เพื่้อ ศึกษาพฤติกรรม ความคิดเห็นและความต้องการรับฟังรายการวิทยุชุมชนของประชาชน 2.เพื่อศึกษารูปแบบของรายการวิทยุชุมชนที่สอดคล้องกับความต้องการของประชาชนในชุมชน 3.เพื่อฝึกการใช้คอมพิวเตอร์ในการผลิตรายการวิทยุออนไลน์ 4.เพื่อทดลองการมีส่วนร่วมในการใช้วิทยุออนไลน์ร่วมกับวิทยุชุมชน 5.เพื่อประเมินผลการใช้วิทยุออนไลน์ร่วมกับวิทยุชุมชน 6.เพื่อพัฒนารูปแบบการใช้วิทยุออนไลน์ร่วมกับวิทยุชุมชนที่สนับสนุนการพัฒนาของชุมชน การวิจัยครั้งนี้ผู้วิจัยกำหนดพื้นที่ทดลองโดยใช้พื้นที่ แขวงหิรัญรูจี เขตธนบุรีกรุงเทพมหานคร ซึ่งประกอบด้วยชุมชนต่างๆ 9 ชุมชนเครื่องมือและขั้นตอนที่ใช้ในการวิจัย ผู้วิจัยได้ดำเนินการดังต่อไปนี้ 1.ได้ตั้งสถานีวิทยุกระจายเสียงด้วยคลื่นความถี่ 95.7MHz 1 สถานี และจัดตั้งระบบกระจายเสียงในระบบ Internet Broadcasting (Radio online) อีก 1 ช่องทางเพื่อเพิ่มช่องทางการมีส่วนร่วมของชุมชนในการส่งกระจายเสียง 2.สำรวจความต้องการและความคิดเห็น โดยใช้แบบสอบถาม 3.ใช้วิธีการสนทนากลุ่ม Focus group 4.การฝึกอบรมการใช้วิทยุออนไลน์ 5.ทดลองส่งกระจายเสียงวิทยุชุมชนร่วมกับวิทยุออนไลน์ 6.การประเมินผลการทดลองการกระจายเสียง ผลการวิจัยพบว่า การสำรวจความคิดเห็นของประชาชน ปรากฏว่าพฤติกรรมการรับฟังวิทยุของประชาชน เคยฟังรายการของวิทยุชุมชน สถานที่รับฟัง ผู้ฟังรับฟังที่บ้าน ที่ทำงานและรับฟังขณะขับรถ การมีส่วนร่วมของประชาชนในรายการวิทยุชุมชน พบว่า ใช้วิธีการโทรศัพท์ การส่ง SMS และใช้วิธีการส่งจดหมายไปยังสถานี รายการที่ผู้ฟังต้องการ ผู้ฟังต้องการฟังรายการเพลง รายการข่าว และรายการสารคดี ประชาชนเสนอแนะให้จัดรายการเพื่อข่าวสารชุมชนมากๆ เปิดโอกาสให้ชุมชนเข้ามามีส่วนร่วม อยากเชิญให้ผู้เชี่ยวชาญ มาร่วมจัดรายการให้มาก มีกิจกรรมร่วมกับชุมชน และควรมีเนื้อในรายการที่ดีกว่านี้ ผลการสนทนากลุ่ม พบว่าผู้มีส่วนเกี่ยวข้อง และผู้มีส่วนได้ส่วนเสียกับการพัฒนาของชุมชน มีความเห็นสอดคล้องที่ต้องปรับปรุงให้ชุมชนมีส่วนร่วมในรายการวิทยุชุมชนเพื่อสนับสนุนการพัฒนาของชุมชน โดยใช้วิธีการจัดรายการวิทยุออนไลน์ ผลการใช้วิทยุออนไลน์ร่วมกับวิทยุชุมชนเป็นเวลา 2 เดือน พบว่า ประชาชนใช้วิธีการออนไลน์ร่วมกระจายเสียงในรูปแบบของข่าวสั้น สารคดี บทความ มีเนื้อหาที่สำคัญ 4 เรื่องคือ 1.ความสามารถในการพึ่งตนเองของชุมชน 2.ความปลอดภัยในชุมชน 3.การมีวิสัยทัศน์ของชุมชน 4.การมีความรักและหวงแหนของชุมชน ปัจจัยสำคัญที่มีผลต่อการเข้ามีส่วนร่วมของประชาชนคือ 1.สถานีวิทยุชุมชนต้องมีและปฏิบัติตามนโยบายเพื่อประโยชน์ต่อชุมชนอย่างแท้จริง 2.สถานีต้องสร้างเครือข่ายในการผลิตข่าวสารของชุมชน 3.คำนึงถึงความแตกต่างหลากหลายของผู้ฟังในชุมชน 4.สร้างรูปแบบการติดต่อสื่อสารที่ง่ายและสะดวก 5.สนับสนุนให้ผู้สนใจและอาสาสมัครเพื่อชุมชนเข้ามาร่วมในการผลิตข่าวสารของชุมชน 6.ให้ผู้นำชุมชนเข้ามามีส่วนร่วมแลกเปลี่ยนความคิดเห็นในทุกๆเรื่องสำหรับรูปแบบการใช้วิทยุออนไลน์ร่วมกับวิทยุชุมชน มีดังนี้ รูปแบบที่ 1.การมีส่วนร่วมของประชาชนกับการผลิตรายการวิทยุชุมชนใน 3 ลักษณะ 1.1 การมีส่วนร่วมในฐานะเป็นผู้ดำเนินรายการด้วยตนเอง 1.2 มีส่วนร่วมในการคัดเลือกเนื้อของรายการวิทยุชุมชน 1.3 มีส่วนร่วมในการคัดเลือกรูปแบบในการผลิตรายการวิทยุชุมชน รูปแบบที่ 2 การผลิตรายการวิทยุออนไลน์ที่บ้านร่วมกับสถานีวิทยุชุมชน รูปแบบที่ 3 การผลิตรายการวิทยุออนไลน์ร่วมกับวิทยุชุมชนที่มีการออนไลน์ร่วมด้วย รูปแบบที่ 4 การจัดตั้งเครือข่ายวิทยุชุมชน
ผู้จัดพิมพ์/สำนักพิมพ์
มหาวิทยาลัยราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา สำนักวิทยบริการและเทคโนโลยีสารสนเทศ
ผู้ร่วมสร้างรรค์ ผู้ร่วมงาน
สุชาติ ตันธนะเดชา
ทวิช บุญธิรัศมี
พนอเนื่อง สุทัศน์ ณ อยุธา
วันที่ ปีที่จัดพิมพ์
2553
วันที่ผลิต วันที่จัดทำ
2021-08-09 06:57:07
วันที่ปรับปรุงข้อมูล
2021-08-09 06:57:07
ประเภท
thesis
รูปแบบ
application/pdf
แหล่งที่มา
วน 384.54 พ976ก 2553
ภาษา
tha
ลิขสิทธิ์
มหาวิทยาลัยราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา
Degree (name, level, descipline, grantor)
ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต
ปริญญาเอก
การศึกษาเพื่อการพัฒนาท้องถิ่น
มหาวิทยาลัยราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา
วันที่ใช้งาน
2553
คอลเลกชั่น
ไพฑูรย์ มากสุข . (2553). การพัฒนารูปแบบการใช้วิทยุออนไลน์ร่วมกับวิทยุชุมชนเพื่อสนับสนุนการพัฒนาชุมชน. มหาวิทยาลัยราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา สำนักวิทยบริการและเทคโนโลยีสารสนเทศ, คลังข้อมูลดิจิทัล สำนักวิทยบริการและเทคโนโลยีสารสนเทศ, accessed December 28, 2024, http://dlib.bsru.ac.th/s/library/item/1330