การพัฒนาธุรกิจเครื่องดื่มจากดอกดาหลาในตลาดน้ำอัมพวาจังหวัดสมุทรสงคราม ตามมาตรฐาน อย

Item

ชื่อเรือง

การพัฒนาธุรกิจเครื่องดื่มจากดอกดาหลาในตลาดน้ำอัมพวาจังหวัดสมุทรสงคราม ตามมาตรฐาน อย

ชื่อเรื่องรอง

Dara Beverage Business Development in Accordance with Food and Drug Administration Standards in Amphawa Floating Market, Samutsongkhram Province.

ผู้แต่ง

กัญญา อินสอน

หัวเรื่อง

ธุรกิจชุมชน--ไทย
การจัดการธุรกิจชุมชน -- ไทย -- สมุทรสงคราม

รายละเอียดอื่นๆ

น้ำดอกดาหลาเป็นเครื่องดื่มที่ผลิตจากดอกดาหลา ดอกไม้ท้องถิ่นในอำภออัมพวา จังหวัดสมุทรสงคราม เป็นการนำวัตถุดิบที่มีในท้องถิ่นมาพัฒนาให้เป็นเครื่องดื่มเพื่อสุขภาพเพิ่มคุณค่า ให้กับผลิตภัณฑ์ท้องถิ่น แต่มักพบปัญหาการขยายตลาด เนื่องจากผู้บริโภคและผู้ที่สนใจเป็น ตัวแทนจำหน่ายให้ความสนใจในเรื่องของมาตรฐานคุณภาพสินค้าและความปลอดภัยในการ
บริโภค ซึ่งผู้ประกอบการรายเด็กไม่มีศักยภาพและทุนเพียงพอต่อการพัฒนาธุรกิจ ดังนั้น งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ยกระดับคุณภาพเครื่องดื่มน้ำดอกดาหลาตามมาตรฐาน อย. 2) เพื่อพัฒนาต้นแบบการพัฒนาธุรกิจเครื่องดื่มจากดอกดาหลา กรณีศึกษาที่คัดเลือกคือ ผู้ประกอบการเครื่องดื่มน้ำดอกดาหลาอัมพวา ตราสำเนียง คือ คุณสำเนียง ดีสวาสดิ์ ซึ่งเป็นการคัดเลือกแบบเจาะจงวิธีดำเนินการวิจัยแบ่งออกเป็น การศึกษาบริบทผู้ประกอบการ การปรับปรุงกระบวนการผลิตและพัฒนาคุณภาพเครื่องดื่มน้ำดอกดาหลา และการพัฒนาสถานที่ผลิตของผู้ประกอบการให้มีการ จัดการผลิตเป็นไปตามระบบสุขลักษณะที่ดีในการผลิตอาหาร (GHP) และ หลักเกณฑ์วิธีการที่ดีในการผลิตอาหาร (GMP) เพื่อรองรับการขอ อย. ในอนาคต ผลการวิจัยพบว่า ปัญหาจากกระบวนการผลิตแบบเดิมคือ รสชาติเครื่องดื่มไม่คงที่ มีโอกาสเกิดการปนเปื้อนของเชื้จุสินทรีย์ในระหว่างการผลิต ไม่มีการควบคุมอัตราส่วนผสมและ อุณหภูมิในการผลิต การจัดเก็บวัตถุดิบและอุปกรณ์ไม่ถูกต้อง จึงได้พัฒนากระบวนการผลิตน้ำดอกดาหลาขึ้นมาใหม่ โดยให้มีการชั่งดวงและตรวจสอบวัตถุดิบก่อนใช้ควบคุมอุณหภูมิ การผลิต และปรับการจัดวางอุปกรณ์ให้ถูกต้อง และให้ผู้ประกอบการทดลองใช้กระบวนการใหม่
ผลที่ได้คือ ผลการตรวจวิเคราะห์คุณภาพด้านจุสินทรีย์ของน้ำดอกดาหลา ไม่มีการปนเปื้อนของ จุลินทรีย์ E.col และ Coliforms ส่วนในด้านสถานที่ผลิตได้มีการใช้แบบบันทึกการประเมินสถานที่ผลิตเครื่องดื่ม บรรจุขวดปิดสนิท (ขนาดเล็ก) ซึ่งได้พัฒนาสำหรับผู้ประกอบการรายเล็กให้สามารถประเมิน สถานที่ผลิตได้ด้วยตนเองตามหลักเกณฑ์ GMP และสามารถพัฒนากระบวนการผลิตให้ได้คุณภาพ มากขึ้น พบว่า ผู้ประกอบการมีความสามารถในการประเมินสถานที่ผลิตเครื่องดื่มได้ด้วยตนเองและกำลังดำเนินการพัฒนาสถานที่ผลิตให้มีมาตรฐานความปลอดภัยด้านอาหาร ซึ่งผู้วิจัยจะได้
เผยแพร่การใช้แบบบันทึกการประเมินสถานที่ผลิต และรูปแบบการพัฒนากระบวนการผลิตเครื่องดื่มบรรจุขวดปิดสนิท (ขนาดเล็ก) เพื่อให้ผู้ประกอบการรายเล็กที่ทำธุรกิจเครื่องดื่มทั่วไปให้ สามารถนำนวัตกรรมและองค์ความรู้จากงานวิจัยไปประยุกต์ใช้ต่อไป

คำสำคัญ : น้ำดอกดา,การปรับปรุงการผลิต,GMP, ตลาดน้ำอัมพวา,สมุทรสงคราม

ผู้จัดพิมพ์/สำนักพิมพ์

มหาวิทยาลัยราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา สำนักวิทยบริการและเทคโนโลยีสารสนเทศ

ผู้ร่วมสร้างรรค์ ผู้ร่วมงาน

อัครวัฒน์ ดวงนิล
อาภา วรรณฉวี
นุกูล สาระวงศ์

วันที่ ปีที่จัดพิมพ์

2553

วันที่ผลิต วันที่จัดทำ

2021-08-09 06:57:07

วันที่ปรับปรุงข้อมูล

2021-08-09 06:57:07

ประเภท

thesis

รูปแบบ

application/pdf

แหล่งที่มา

วน 338.642 ก383ก 2553

ภาษา

tha

รหัส

ลิขสิทธิ์

มหาวิทยาลัยราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา

Degree (name, level, descipline, grantor)

วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต
ปริญญาโท
การจัดการอุตสาหกรรม
มหาวิทยาลัยราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา

วันที่ใช้งาน

2553

คอลเลกชั่น

กัญญา อินสอน . (2553). การพัฒนาธุรกิจเครื่องดื่มจากดอกดาหลาในตลาดน้ำอัมพวาจังหวัดสมุทรสงคราม ตามมาตรฐาน อย. มหาวิทยาลัยราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา สำนักวิทยบริการและเทคโนโลยีสารสนเทศ, คลังข้อมูลดิจิทัล สำนักวิทยบริการและเทคโนโลยีสารสนเทศ, accessed December 29, 2024, http://dlib.bsru.ac.th/s/library/item/1307

นำออกข้อมูล :