แนวโน้มรูปแบบห้องสมุดโรงเรียนในการเป็นแหล่งการเรียนรู้ของชุมชน
Item
ชื่อเรือง
แนวโน้มรูปแบบห้องสมุดโรงเรียนในการเป็นแหล่งการเรียนรู้ของชุมชน
ชื่อเรื่องรอง
Trends of School library model in promoting community learning resources
ผู้แต่ง
จันทร์สถิตย์ พันธ์เพชร
หัวเรื่อง
ห้องสมุดโรงเรียน -- การบริหาร
ห้องสมุดกับชุมชน
แหล่งการเรียนรู้
การศึกษาตามอัธาศัย
ความสัมพันธ์ระหว่างโรงเรียนกับชุมชน
รายละเอียดอื่นๆ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาแนวโน้มรูปแบบห้องสมุดโรงเรียนในการเป็นแหล่ง การเรียนรู้ของชุมชน 8 ด้าน ได้แก่ 1.การบริหาร 2.งบประมาณ 3.บุคลากร 4.ทรัพยากร 5.อาคารสถานที่และครุภัณฑ์ 6.บริการและกิจกรรม 7.เครือข่ายและความร่วมมือระหว่างห้องสมุด 8.การประเมินคุณภาพห้องสมุด เครื่องมือที่ใช้เป็นแบบสัมภาษณ์และแบบสอบถามจากผู้เชี่ยวชาญทางด้านบรรณารักษศาสตร์ 3 กลุ่ม ได้แก่ นักวิชาการ ศึกษานิเทศก์ที่ทำหน้าที่นิเทศงานห้องสมุด บรรณารักษ์ห้องสมุดโรงเรียนและนำแบบสอบถามที่ได้ไปศึกษากับตัวแทนชุมชน 2 กลุ่ม ได้แก่ สมาชิกสภากรุงเทพมหานคร สมาชิกสภาเขต นำผลที่ได้มาวิเคราะห์ด้วยเทคนิคเดลฟาย ผลการวิจัยพบว่า 1. ด้านการบริหาร ผู้บริหารสถานศึกษาเป็นผู้บริหารจัดการให้ทุกภาคส่วน ได้แก่ สถานศึกษา องค์กรภาครัฐที่ทำหน้าที่บริหารการศึกษา องค์กรบริหารส่วนท้องถิ่น องค์กรอิสระ ในท้องถิ่นที่ให้การสนับสนุนห้องสมุดเข้ามามีส่วนร่วมในการเป็นคณะกรรมการอำนวยการบริหาร 2. ด้านงบประมาณ คณะกรรมการอำนวยการบริหารให้การสนับสนุนงบประมาณ 3. ด้านบุคลากร นำหลักการจัดการความรู้มาสนับสนุนและส่งเสริมการเรียนรู้ การวิจัยและการพัฒนาทักษะความรู้ในการปฏิบัติงาน การบริหารและคุณภาพการดำเนินงานของบุคลากร 4. ด้านทรัพยากร จัดหาทรัพยากรสารสนเทศให้ตรงกับหลักสูตรสถานศึกษาและความต้องการของผู้ใช้บริการ รวบรวมและจัดเก็บสารสนเทศที่มีอยู่ในชุมชนเพื่อสร้างอาชีพและพัฒนาคุณภาพชีวิตของคนในชุมชนในรูปแบบของฐานข้อมูล เชื่อมโยงสารสนเทศที่เป็นประโยชน์กับท้องถิ่นด้วยเครือข่ายอินเทอร์เน็ตเพื่อให้ชุมชนเข้าถึงอย่างสะดวกรวดเร็ว 5. ด้านอาคารสถานที่และครุภัณฑ์ อาคารห้องสมุดควรตั้งอยู่ในบริเวณที่เป็นศูนย์กลางของโรงเรียน การคมนาคมสะดวกไม่อยู่ในที่ลับ มีบรรยากาศที่เหมาะสมทุกด้าน เพื่อดึงดูดใจอยากให้เข้าใช้บริการ 6. ด้านบริการและกิจกรรม จัดบริการเชิงรุกทุกรูปแบบเข้าไปในชุมชน เป็นศูนย์กลางเชื่อมโยงระบบเครือข่ายข้อมูลท้องถิ่นกับเครือข่ายโลก จัดกิจกรรมเพื่อสร้างอาชีพ จัดเวทีเสวนาแลกเปลี่ยนเรียนรู้กันภายในชุมชนเพื่อสร้างองค์ความรู้ใหม่ จัดบริการและกิจกรรมให้กับชุมชนในวันเสาร์–อาทิตย์ 7. ด้านเครือข่ายและความร่วมมือระหว่างห้องสมุดมีวัตถุประสงค์เพื่อการจัดกิจกรรมและเผยแพร่แลกเปลี่ยนเรียนรู้สารสนเทศที่เป็นประโยชน์ต่อชุมชนร่วมกัน 8. ด้านการประเมินคุณภาพห้องสมุด มีการประเมินทั้งกระบวนการในแต่ละด้านโดยกำหนดตัวชี้วัดอย่างชัดเจนทั้งการประเมินผลการดำเนินงาน ประเมินผลเชิงคุณภาพ ประเมินผล เชิงปริมาณและประเมินผลการปฏิบัติงานของบุคลากร
ผู้จัดพิมพ์/สำนักพิมพ์
มหาวิทยาลัยราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา สำนักวิทยบริการและเทคโนโลยีสารสนเทศ
ผู้ร่วมสร้างรรค์ ผู้ร่วมงาน
มลิวัลย์ ประดิษฐ์ธีระ
ฉวีวรรณ คูหาภินันทน์
วันที่ ปีที่จัดพิมพ์
2553
วันที่ผลิต วันที่จัดทำ
2021-08-09 06:57:07
วันที่ปรับปรุงข้อมูล
2021-08-09 06:57:07
ประเภท
thesis
รูปแบบ
application/pdf
แหล่งที่มา
วน 021.2 จ278น 2553
ภาษา
tha
ลิขสิทธิ์
มหาวิทยาลัยราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา
Degree (name, level, descipline, grantor)
ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต
ปริญญาโท
บรรณารักษศาสตร์และสารสนเทศศาสตร์
มหาวิทยาลัยราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา
วันที่ใช้งาน
2553
คอลเลกชั่น
จันทร์สถิตย์ พันธ์เพชร . (2553). แนวโน้มรูปแบบห้องสมุดโรงเรียนในการเป็นแหล่งการเรียนรู้ของชุมชน. มหาวิทยาลัยราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา สำนักวิทยบริการและเทคโนโลยีสารสนเทศ, คลังข้อมูลดิจิทัล สำนักวิทยบริการและเทคโนโลยีสารสนเทศ, accessed December 29, 2024, http://dlib.bsru.ac.th/s/library/item/1302