พลวัตของเรื่องเล่าและพิธีกรรมบูชาสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราชในพื้นที่ฝั่งธนบุรี จังหวัดกรุงเทพมหานคร

Item

ชื่อเรือง

พลวัตของเรื่องเล่าและพิธีกรรมบูชาสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราชในพื้นที่ฝั่งธนบุรี จังหวัดกรุงเทพมหานคร

ชื่อเรื่องรอง

Dynamism of King Taksin the Great's Narratives and Rituals in Thonburi Regional Area of Bangkok

ผู้แต่ง

ธวรรณเทพ มงคลศิริ

หัวเรื่อง

ตากสินมหาราช, สมเด็จพระเจ้า, 2277-2325
ไทย -- ประวัติศาสตร์ -- กรุงธนบุรี -- สมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช, 2310-2325

รายละเอียดอื่นๆ

วิทยานิพนธ์เล่มนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาพลวัตของเรื่องเล่าเกี่ยวกับสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราชในบริบทสังคมไทย 2) วิเคราะห์วิธีคิดในการสร้างสรรค์พิธีกรรมบูชาสมเด็จพระเจ้า ตากสินมหาราชในพื้นที่ฝั่งธนบุรี โดยเก็บข้อมูลเรื่องเล่าจากพงศาวดาร หนังสือ สื่อออนไลน์ และเก็บข้อมูลภาคสนามในช่วง พ.ศ.2563-2565 จากสถานที่ที่จัดพิธีกรรมบูชาสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช 3 แห่ง ได้แก่ อนุสาวรีย์วงเวียนใหญ่ วัดอินทารามวรวิหาร และวัดหงส์รัตนารามราชวรวิหาร ผลการศึกษาพบว่า เรื่องเล่าเกี่ยวกับสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช จำแนกได้ 5 แบบเรื่อง ได้แก่ 1. กำเนิดสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช 2. สมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราชกู้ชาติ 3. สมเด็จ พระเจ้าตากสินมหาราชกษัตริย์แห่งอาณาจักรธนบุรี 4. สมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราชไม่ได้ถูก ประหร 5. ปาฏิหาริย์สมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช เรื่องเล่าดังกล่าวมีพลวัตที่น่าสนใจ 4 ด้าน คือ 1. พลวัตด้านรูปแบบการนำเสนอของเรื่องล่า 2. พลวัตด้านเนื้อหาของเรื่องเล่า 3. พลวัตด้านความ เชื่อจากเรื่องเล่า และ 4. พลวัตด้านความสัมพันธ์ระหว่างเรื่องเล่ากับพื้นที่และพิธีกรรม พลวัตที่เกิดขึ้นสะท้อนให้เห็นถึงการเลือกและประยุกต์เรื่องเล่าให้สอดคล้องกับบริบททางสังคมและความต้องการของคนในสังคมปัจจุบัน วิธีคิดในการสร้างสรรค์พิธีกรรมบูชาสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราชประกอบด้วย 1) การประยุกต์และเลือกสรรเรื่องเล่าที่เชื่อมโยงสถานที่กับสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช 2) การประดิษฐ์สร้างวัตถุสัญลักษณ์ตามเรื่องเล่าให้ปรากฎเป็นรูปธรรม 3) การสร้างสรรค์พิธีกรรมที่มีสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราชเป็นศูนย์กลางความเชื่อ 4).การผนวกพิธีกรรมบูชากับความเชื่อที่มีอยู่เดิมในสังคม 5) การสร้างสรรค์พิธีกรรมที่ตอบสนองต่อความต้องการของปุถุชนในบริบทร่วมสมัย ปรากฏการณ์ที่เกิดขึ้นดังกล่าวสะท้อนให้เห็นว่า เรื่องเล่าและพิธีกรรมบูชาสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราชเป็นคติชน สร้างสรรค์ โดยมีปัจจัยสำคัญคือ บริบทสังคมโลกภิวัตน์และการท่องเที่ยว บริบททุนนิยม และบริบท แห่งความเป็นสังคมในยุคข้อมูลข่าวสารและเทคโนโลยี มีลักษณะวิธีคิดที่สำคัญคือการนำเรื่องเล่าทาง ประวัติศาสตร์มาปรับใช้และการสร้างสรรค์ประเพณีจากฐานความเชื่อเดิม การสร้างสรรค์ด้วย กระบวนการดังกล่าวทำให้พิธีกรรมที่จัดขึ้นได้รับการยอมรับ และเป็นพื้นที่ของการสร้างสำนึกทาง ประวัติศาสตร์ ส่งผลให้สมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราชในบริบทร่วมสมัยมีสถานะทั้งเป็นวีรกษัตริย์ กู้ชาติ วีรบุรุษทางวัฒนธรรม และเป็นเทพหรือเป็นสิ่งศักดิ์สิทธิ์ที่เป็นอัตลักษณ์ของท้องถิ่นธนบุรี

คำสำคัญ : พลวัต เรื่องเล่า พิธีกรรม สมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช

ผู้จัดพิมพ์/สำนักพิมพ์

มหาวิทยาลัยราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา. สำนักวิทยบริการและเทคโนโลยีสารสนเทศ

ผู้ร่วมสร้างรรค์ ผู้ร่วมงาน

รองศาสตราจารย์ ดร.อภิวัฒน์ สุธรรมดี
ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.อัควิทย์ เรืองรอง

วันที่ ปีที่จัดพิมพ์

2565

วันที่ผลิต วันที่จัดทำ

2567-03-08

วันที่ปรับปรุงข้อมูล

2567-03-08

วันที่เผยแพร่

2567-03-08

ประเภท

thesis

รูปแบบ

application/pdf
แหล่งที่มา

แหล่งที่มา

วน 959.3 ธ389พ 2565

ภาษา

tha

รหัส

ลิขสิทธิ์

มหาวิทยาลัยราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา

Degree (name, level, descipline, grantor)

ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต
ปริญญาโท
ภาษาไทย
มหาวิทยาลัยราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา

คอลเลกชั่น

TAWANTHEP MONGKOLSIRI.pdf

ธวรรณเทพ มงคลศิริ, “พลวัตของเรื่องเล่าและพิธีกรรมบูชาสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราชในพื้นที่ฝั่งธนบุรี จังหวัดกรุงเทพมหานคร”, มหาวิทยาลัยราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา. สำนักวิทยบริการและเทคโนโลยีสารสนเทศ, 2565, คลังข้อมูลประชาสัมพันธ์ มหาวิทยาลัยราชภัฎบ้านสมเด็จเจ้าพระยา, accessed December 24, 2024, http://dlib.bsru.ac.th/s/information/item/2892