แขก : มุสลิมฝั่งธนบุรีชุมชนรอบบ้านสมเด็จเจ้าพระยา
Item
ชื่อเรื่อง
แขก : มุสลิมฝั่งธนบุรีชุมชนรอบบ้านสมเด็จเจ้าพระยา
ลิขสิทธิ์
มหาวิทยาลัยราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา
ประเภท
บทความ
ผู้แต่ง
ธีรนันท์ ช่วงพิชิต
วันที่
2566-03-28
รายละเอียด
“แขก”กับการรับรู้ของคนไทย
การเข้าใจของผู้คนในสังคมไทยในอดีตกับคำว่า “แขก” มีความคลาดเคลื่อนต่อข้อเท็จจริงอยู่ไม่น้อยระหว่างความหมายของคำนี้ที่ถูกใช้ในความเข้าใจ ต่างจากความหมายที่ได้ถูกบัญญัติตามพจนานุกรม อย่างไรก็ดีผู้คนส่วนหนึ่งเรียก “แขก” จากความเข้าใจที่หมายถึง ผู้มาเยือนบ้าง ผู้มาจากต่างแดนบ้าง หรือหมายถึงผู้ที่ไม่ใช่คนพื้นถิ่นนี้มาก่อน นอกจากนี้บางครั้งยังนิยามความหมายเจาะจงถึงผู้ที่มีวัฒนธรรมที่แตกต่าง และยังมีที่หมายถึงการจำแนกกลุ่มชาติพันธุ์ออกเป็นแขกกลุ่มต่างๆ อีกหลายกลุ่ม
พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. ๒๕๔๒ ให้ความหมาย “แขก” ไว้หลายความหมาย เช่น ผู้มาหา, ผู้มาแต่อื่น หรือ คำเรียกชาวอินเดีย ศรีลังกา ปากีสถาน บังคลาเทศ อัฟกานิสถาน เนปาล ชวา มลายู ชาวเอเชียตะวันออกกลางและตะวันออกใกล้ ยกเว้นชาวยิว แอฟริกาเหนือ และนิโกร. ความหมายตามที่กล่าวมาแสดงออกถึงความต่างทางชาติพันธุ์ภายใต้ความเป็น “แขก” แม้โดยส่วนใหญ่จะหมายถึงกลุ่มชนที่มาจากดินแดนซีกตะวันตกของประเทศไทยเป็นสำคัญ ส่วนอีกด้านหนึ่งคำว่า “แขก” บ่งบอกถึงความต่างทางด้านวัฒนธรรมทั้งอาจจะแตกต่างทางด้านการแต่งกาย ภาษา หรือศาสนาก็เป็นได้ โดยเฉพาะวัฒนธรรมศาสนาจะเห็นได้ว่าคำนี้มักถูกนำมาคู่กับผู้ที่นับถือศาสนาอิสลามอยู่เสมอ เรียกเพื่อแยกกลุ่มชาติพันธุ์ของผู้ที่นับถือศาสนาอิสลาม เช่น แขกมลายู แขกจาม หรือแขกตานี ฯลฯ แม้ว่าตามข้อเท็จจริงแล้วคำนี้อาจรวมถึงผู้ที่นับถือศาสนาอื่นก็เป็นได้ เช่น แขกพราหมณ์ แขกฮินดู หรือแขกซิกข์ ฯลฯ โดยระบุศาสนานั้นๆ ต่อท้ายคำเรียก ...
การเข้าใจของผู้คนในสังคมไทยในอดีตกับคำว่า “แขก” มีความคลาดเคลื่อนต่อข้อเท็จจริงอยู่ไม่น้อยระหว่างความหมายของคำนี้ที่ถูกใช้ในความเข้าใจ ต่างจากความหมายที่ได้ถูกบัญญัติตามพจนานุกรม อย่างไรก็ดีผู้คนส่วนหนึ่งเรียก “แขก” จากความเข้าใจที่หมายถึง ผู้มาเยือนบ้าง ผู้มาจากต่างแดนบ้าง หรือหมายถึงผู้ที่ไม่ใช่คนพื้นถิ่นนี้มาก่อน นอกจากนี้บางครั้งยังนิยามความหมายเจาะจงถึงผู้ที่มีวัฒนธรรมที่แตกต่าง และยังมีที่หมายถึงการจำแนกกลุ่มชาติพันธุ์ออกเป็นแขกกลุ่มต่างๆ อีกหลายกลุ่ม
พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. ๒๕๔๒ ให้ความหมาย “แขก” ไว้หลายความหมาย เช่น ผู้มาหา, ผู้มาแต่อื่น หรือ คำเรียกชาวอินเดีย ศรีลังกา ปากีสถาน บังคลาเทศ อัฟกานิสถาน เนปาล ชวา มลายู ชาวเอเชียตะวันออกกลางและตะวันออกใกล้ ยกเว้นชาวยิว แอฟริกาเหนือ และนิโกร. ความหมายตามที่กล่าวมาแสดงออกถึงความต่างทางชาติพันธุ์ภายใต้ความเป็น “แขก” แม้โดยส่วนใหญ่จะหมายถึงกลุ่มชนที่มาจากดินแดนซีกตะวันตกของประเทศไทยเป็นสำคัญ ส่วนอีกด้านหนึ่งคำว่า “แขก” บ่งบอกถึงความต่างทางด้านวัฒนธรรมทั้งอาจจะแตกต่างทางด้านการแต่งกาย ภาษา หรือศาสนาก็เป็นได้ โดยเฉพาะวัฒนธรรมศาสนาจะเห็นได้ว่าคำนี้มักถูกนำมาคู่กับผู้ที่นับถือศาสนาอิสลามอยู่เสมอ เรียกเพื่อแยกกลุ่มชาติพันธุ์ของผู้ที่นับถือศาสนาอิสลาม เช่น แขกมลายู แขกจาม หรือแขกตานี ฯลฯ แม้ว่าตามข้อเท็จจริงแล้วคำนี้อาจรวมถึงผู้ที่นับถือศาสนาอื่นก็เป็นได้ เช่น แขกพราหมณ์ แขกฮินดู หรือแขกซิกข์ ฯลฯ โดยระบุศาสนานั้นๆ ต่อท้ายคำเรียก ...
รูปแบบ
application/pdf
ภาษา
tha
สำนักพิมพ์
มหาวิทยาลัยราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา. สำนักวิทยบริการและเทคโนโลยีสารสนเทศ
หัวเรื่อง
มุสลิม -- ไทย -- ประวัติ
ชุมชนมุสลิม
คอลเลกชั่น
ธีรนันท์ ช่วงพิชิต, “แขก : มุสลิมฝั่งธนบุรีชุมชนรอบบ้านสมเด็จเจ้าพระยา”, มหาวิทยาลัยราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา. สำนักวิทยบริการและเทคโนโลยีสารสนเทศ, 2566-03-28, คลังข้อมูลประชาสัมพันธ์ มหาวิทยาลัยราชภัฎบ้านสมเด็จเจ้าพระยา, accessed December 24, 2024, http://dlib.bsru.ac.th/s/information/item/2648