สมเด็จพระ พุฒาจารย์ (นวม) พุทธสรมหาเถระ
Item
ชื่อเรื่อง
สมเด็จพระ พุฒาจารย์ (นวม) พุทธสรมหาเถระ
วันที่
2566-02-13
รายละเอียด
อดีตเจ้าอาวาสวัตอนงคาราม, อดีตพระอาจารย์ของสมเด็จย่า
สมเด็จพระพุฒาจารย์ (นวม) เป็นอตีตเจ้าอาวาสรูปที่ ๖ แห่งวัดอนงคาราม
เกิดเมื่อวันพฤหัสบดีที่ ๘ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๔๐๗ ตรงกับวันขึ้น ๔ ค่ำ เตือน ๘ ปีขาล จุลศักราช ๑๒๒๖ ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๔ ที่ตำบลวังแม่ลูกอ่อน (ปัจจุบันคือตำบลตลุก) อำเภอสรรพยา จังหวัดชัยนาท โยมบิดาชื่อว่อินทร์ (รับบรรดาศักดิ์เป็นหมื่นนรา) โยมมารดามีชื่อว่าใย สมเด็จพระพุฒาจารย์เป็นบุตรคนที่ ๖ และมีพี่น้องร่วมบิดามารดาเดียวกัน ๘ คน เมื่อท่านได้อายุ ๑๒ ปี ได้ติดตามพี่ชายซึ่งมาบวชเป็นพระฎีกาไปอยู่วัตอนงคาราม จนเมื่ออายุครบบวชจึงได้กลับไปอุปสมบทเป็นพระภิกษุที่วัดพระบรมธาตุจังหวัดชัยนาทบ้านเกิด เมื่ออุปสมบทแล้วจึงกลับมาจำพรรษาอยู่ที่วัดอนงคาราม สมเด็จท่านเป็นพระภิกษุที่มีวัตรปฏิบัติอย่างงดงามและปฏิบัติศาสนกิจอย่างเคร่งครัด มีผู้เคารพศรัทธาและศิษยานุศิษย์ที่เสื่อมใสในศีลาจารวัตรของท่านอย่างมากมาย นอกจากงานทางด้านพระศาสนาแล้ว ท่านยังมีคุณูปการทางด้านการศึกษาแก่เยาวชนไทยมาโดยตลอดสมเด็จพระพุมาจารย์ได้รับสมณศักดิ์โดยลำดับดังนี้ คือ
พ.ศ. ๒๔๔๐ เป็นพระอาจารย์สยามปริย์ติ ครูโรงเรียนอุตมวิทยา พ.ศ. ๒๔๔๑ เป็นพระครูอุดมพิทยา
กร พ.ศ. ๒๔๔๙ ได้รับพระราชทานสมณตักดิ์เป็นพระราชาคณะชั้นสามัญที่พระธรรมธราจารย์
พ.ศ. ๒๔๖๔ เป็นพระราชาคณะชั้นราชที่พระรัชชมงคลมุนี พศ. ๒๔๖๘ เป็นพระราชาคณะชั้นเทพ
ที่พระมงคลเทพมุนี พ.ศ. ๒๔๗๒ เป็นพระราชาคณะชั้นธรรมที่พระโพธิวงศาจารย์
พ.ศ. ๒๔๘๔ เป็นพระมหาโพธิวงศาจารย์ เสมอด้วยพระราชาคณะชั้นเจ้าคณะรองหิรัญบัตร ฝ่าย
อรัญญวาสี พ.ศ. ๒๔๘๘ ได้รับพระราชทานสมณศักดิ์เป็นสมเด็จพระราชาคณะที่สมเด็จพระพุฒาจารย์ด้านหน้าที่การบริหารกิจการของคณะสงฆ์ ที่สมเด็จพระพุมาจารย์ (นวม) ท่านกำกับดูแลอยู่พอสรุป
ได้ดังนี้คือ เป็นเจ้าอาวาสวัดอนงคาราม พ.ศ. ๒๔๔๘- ๒๔๙๙ เจ้าคณะแขวงบางลำพูล่างและแขวงราษฎบูรณะ, เจ้าคณะแขวงหลังและแขวงใต้จังหวัดนบุรี, เจ้าคณะมณฑลพิษณุโลก, ผู้กำกับการพระพุทธบาทจังหวัดสระบุรี, กรรมการมหาเถรสมาคม, รักษาการเจ้าอาวาสวัดประยุรวงศาวาส (ท.ศ. ๒๔๘๕), เจ้าคณะจังหวัดธนบุรี, สมาชิกสังฆสภาชุดแรก พ.ศ. ๒๔๘๕ และสังฆมนตรีว่าการองค์การสาธารณูปการ พ.ศ. ๒๔๘๕
เจ้าประคุณสมเด็จเป็นพระผู้มองการณ์ใกล เห็นถึงความสำคัญของการศึกษา นอกจากจะให้การ
สนับสนุนทางด้านการศึกษาฝ่ายปริยัติธรรมบาลีแล้ว ท่านยังเป็นผู้วิเริ่มก่อตั้งโรงเรียนสำหรับเด็กชายขึ้นในวัดอนงคารามชื่อว่าโรงเรียนอุดมวิทยายน เมื่อปี พุ.ศ. ๒๔๔๑ ตั้งแต่ครั้งยังเป็นพระอาจารย์สยามปริยัติ ซึ่งเหตุนี้ทำให้ท่านได้รับพระมหากรุณาธิคุณจากพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว นิมนต์เข้าไปในพระบรมมหาราชวังและพระราชทานสมณศักดิ์เลื่อนขึ้นเป็นพระครูอุดมวิทยากร ต่อมาเมื่อปี พ.ศ. ๒๔๔๔ท่านก็ได้ตั้งโรงเรียนสตรีอุดมวิทยายน ฌ อาคารของวัดอนงคารามด้านริมคลองสาน (ซึ่งสมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนนี ขณะทรงพระเยาว์ก็ได้ทรงศึกษาระดับชั้นประถมฯ ณ โรงเรียนแห่งนี้ด้วย)
ต่อมาเมื่อจำนวนเด็กนักเรียนหญิงเพิ่มมากขึ้น ท่านจึงได้ย้ายโรงเรียนแห่งนี้ไปตั้งอยู่ในที่ดินและ
ตึกของท่านผู้หญิงพัน ภริยาสมเด็จเจ้าพระยาบรมมหาศรีสุริยวงศ์ ที่ตำบลตลาตแขก เมื่อ พ.ศ. ๒๔๕๒ (โรงเรียนแห่งนี้ได้แลกเปลี่ยนที่ดินในอดีตกับมหาวิทยาลัยราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา มายังที่ตั้งในปัจจุบัน ซึ่งก็คือโรงเรียนศึกษานารีโนทุกวันนี้นั่นเอง)
เมื่อครั้งที่เจ้าประคุณสมเด็จยังดำรงสมณศักดิ์เป็นที่พระธรรมธราจารย์ ได้ตามเสด็จสมเด็จพระมหาสมณเจ้ากรมพระยาวชิรญาณวโรรส เสด็จตรวจงานคณะสงฆ์มณฑลฝ่ายเหนือเมื่อ พ.ศ. ๒๔๕๗ ในครั้งนั้นเป็นที่โปรดปรานของสมเด็จพระมหาสมณเจ้าทั้งที่เป็นพระฝ่ายมหานิกาย (สมเด็จพระมหาสมณเจ้า เป็นพระสงฆ์ธรรมยุติ) ต่อมาวัดอนงคารามซึ่งเป็นวัดฝ่ายมหานิกาย จึงเปลี่ยนการห่มจีวรมาเป็นแบบธรรมยุติจนถึงปัจจุบัน เรียกว่าแบบมหานิกายแปลง
สมเด็จพระพุฒาจารย์ (นวม) เริ่มอาพาธด้วยความซราภาพตั้งแต่ต้นปี พ.ศ. ๒๔๙๙ ในครั้งนั้นสมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนนีได้เสด็จมาทรงเยี่ยมสมเด็จพระพุฒาจารย์ (นวม) ด้วยพระองค์เองที่วัดอนงคาราม หลังจากโปรดให้นายแพทย์มาตรวจเยี่ยมอาการแล้ว จึงได้นิมนต์สมเด็จพระพุฒาจารย์ให้เข้ารับการรักษาที่โรงพยาบาลศิริราช เมื่อวันที่ ๑๖ กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๔๙๙ โตยอยู่ในพระอุปถัมภ์ชองพระองค์ หลังจากกลับจากโรงพยาบาลศิริราชมายังวัดอนงคาราม เมื่อวันที่ ๒๑ พฤษภาคม ไท.ศ. ๒๔๙๙ ได้มีพระบรมวงศานุวงศ์ ข้าราชการชั้นผู้ใหญ่ และบรรดาลูกศิษย์ในเจ้าประคุณสมเด็จ ผลัดเปลี่ยนกันมาถวายการรักษาและปรนนิบัติรับใช้ แต่อาการที่อาพาธมีแต่ทรงกับทรุด จนกระทั่งถึงวันที่ ๒๘ กันยายน พ.ศ. ๒๔๙๙ สมเด็จพระพุฒาจารย์ (นวม) ก็ถึงกาลมรณภาพ ด้วยอาการอันสงบ เมื่อเวลา ๒๒.๐๐ น. ณ กูฏิวัดอนงคาราม
สิริอายุได้ ๙๒ ปี ๒ เดือน ๒๑ วัน พรรษา ๗๒ พรรษา หลังจากสมเด็จพระพุฒาจารย์ (นวม) ได้มรณภาพไปแล้ว บรรดาศิษยานุศิษย์ของท่านได้ร่วมกัน ก่อตั้งสมาคมศิษย์อนงคาราม และจัดงานรำลึกถึงสมเด็จพระพุฒาจารย์ (นวม) เพื่อเป็นการทำบุญอุทิศ ถวายในวันที่ ๒๘ กันยายนเป็นประจำทุกปี มาจนถึงปัจจุบัน
ที่มา : สำนักงานเขตคลองสาน. (๒๕๕๔).สมเด็จพระสังมราช(แพ ดิสูสโทโว). ใน สมโภช ๑๐๐ ปี เขตคลองสาน. (น. ๑๑๒- ๑๑๓). ม.ป.พ.
สมเด็จพระพุฒาจารย์ (นวม) เป็นอตีตเจ้าอาวาสรูปที่ ๖ แห่งวัดอนงคาราม
เกิดเมื่อวันพฤหัสบดีที่ ๘ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๔๐๗ ตรงกับวันขึ้น ๔ ค่ำ เตือน ๘ ปีขาล จุลศักราช ๑๒๒๖ ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๔ ที่ตำบลวังแม่ลูกอ่อน (ปัจจุบันคือตำบลตลุก) อำเภอสรรพยา จังหวัดชัยนาท โยมบิดาชื่อว่อินทร์ (รับบรรดาศักดิ์เป็นหมื่นนรา) โยมมารดามีชื่อว่าใย สมเด็จพระพุฒาจารย์เป็นบุตรคนที่ ๖ และมีพี่น้องร่วมบิดามารดาเดียวกัน ๘ คน เมื่อท่านได้อายุ ๑๒ ปี ได้ติดตามพี่ชายซึ่งมาบวชเป็นพระฎีกาไปอยู่วัตอนงคาราม จนเมื่ออายุครบบวชจึงได้กลับไปอุปสมบทเป็นพระภิกษุที่วัดพระบรมธาตุจังหวัดชัยนาทบ้านเกิด เมื่ออุปสมบทแล้วจึงกลับมาจำพรรษาอยู่ที่วัดอนงคาราม สมเด็จท่านเป็นพระภิกษุที่มีวัตรปฏิบัติอย่างงดงามและปฏิบัติศาสนกิจอย่างเคร่งครัด มีผู้เคารพศรัทธาและศิษยานุศิษย์ที่เสื่อมใสในศีลาจารวัตรของท่านอย่างมากมาย นอกจากงานทางด้านพระศาสนาแล้ว ท่านยังมีคุณูปการทางด้านการศึกษาแก่เยาวชนไทยมาโดยตลอดสมเด็จพระพุมาจารย์ได้รับสมณศักดิ์โดยลำดับดังนี้ คือ
พ.ศ. ๒๔๔๐ เป็นพระอาจารย์สยามปริย์ติ ครูโรงเรียนอุตมวิทยา พ.ศ. ๒๔๔๑ เป็นพระครูอุดมพิทยา
กร พ.ศ. ๒๔๔๙ ได้รับพระราชทานสมณตักดิ์เป็นพระราชาคณะชั้นสามัญที่พระธรรมธราจารย์
พ.ศ. ๒๔๖๔ เป็นพระราชาคณะชั้นราชที่พระรัชชมงคลมุนี พศ. ๒๔๖๘ เป็นพระราชาคณะชั้นเทพ
ที่พระมงคลเทพมุนี พ.ศ. ๒๔๗๒ เป็นพระราชาคณะชั้นธรรมที่พระโพธิวงศาจารย์
พ.ศ. ๒๔๘๔ เป็นพระมหาโพธิวงศาจารย์ เสมอด้วยพระราชาคณะชั้นเจ้าคณะรองหิรัญบัตร ฝ่าย
อรัญญวาสี พ.ศ. ๒๔๘๘ ได้รับพระราชทานสมณศักดิ์เป็นสมเด็จพระราชาคณะที่สมเด็จพระพุฒาจารย์ด้านหน้าที่การบริหารกิจการของคณะสงฆ์ ที่สมเด็จพระพุมาจารย์ (นวม) ท่านกำกับดูแลอยู่พอสรุป
ได้ดังนี้คือ เป็นเจ้าอาวาสวัดอนงคาราม พ.ศ. ๒๔๔๘- ๒๔๙๙ เจ้าคณะแขวงบางลำพูล่างและแขวงราษฎบูรณะ, เจ้าคณะแขวงหลังและแขวงใต้จังหวัดนบุรี, เจ้าคณะมณฑลพิษณุโลก, ผู้กำกับการพระพุทธบาทจังหวัดสระบุรี, กรรมการมหาเถรสมาคม, รักษาการเจ้าอาวาสวัดประยุรวงศาวาส (ท.ศ. ๒๔๘๕), เจ้าคณะจังหวัดธนบุรี, สมาชิกสังฆสภาชุดแรก พ.ศ. ๒๔๘๕ และสังฆมนตรีว่าการองค์การสาธารณูปการ พ.ศ. ๒๔๘๕
เจ้าประคุณสมเด็จเป็นพระผู้มองการณ์ใกล เห็นถึงความสำคัญของการศึกษา นอกจากจะให้การ
สนับสนุนทางด้านการศึกษาฝ่ายปริยัติธรรมบาลีแล้ว ท่านยังเป็นผู้วิเริ่มก่อตั้งโรงเรียนสำหรับเด็กชายขึ้นในวัดอนงคารามชื่อว่าโรงเรียนอุดมวิทยายน เมื่อปี พุ.ศ. ๒๔๔๑ ตั้งแต่ครั้งยังเป็นพระอาจารย์สยามปริยัติ ซึ่งเหตุนี้ทำให้ท่านได้รับพระมหากรุณาธิคุณจากพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว นิมนต์เข้าไปในพระบรมมหาราชวังและพระราชทานสมณศักดิ์เลื่อนขึ้นเป็นพระครูอุดมวิทยากร ต่อมาเมื่อปี พ.ศ. ๒๔๔๔ท่านก็ได้ตั้งโรงเรียนสตรีอุดมวิทยายน ฌ อาคารของวัดอนงคารามด้านริมคลองสาน (ซึ่งสมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนนี ขณะทรงพระเยาว์ก็ได้ทรงศึกษาระดับชั้นประถมฯ ณ โรงเรียนแห่งนี้ด้วย)
ต่อมาเมื่อจำนวนเด็กนักเรียนหญิงเพิ่มมากขึ้น ท่านจึงได้ย้ายโรงเรียนแห่งนี้ไปตั้งอยู่ในที่ดินและ
ตึกของท่านผู้หญิงพัน ภริยาสมเด็จเจ้าพระยาบรมมหาศรีสุริยวงศ์ ที่ตำบลตลาตแขก เมื่อ พ.ศ. ๒๔๕๒ (โรงเรียนแห่งนี้ได้แลกเปลี่ยนที่ดินในอดีตกับมหาวิทยาลัยราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา มายังที่ตั้งในปัจจุบัน ซึ่งก็คือโรงเรียนศึกษานารีโนทุกวันนี้นั่นเอง)
เมื่อครั้งที่เจ้าประคุณสมเด็จยังดำรงสมณศักดิ์เป็นที่พระธรรมธราจารย์ ได้ตามเสด็จสมเด็จพระมหาสมณเจ้ากรมพระยาวชิรญาณวโรรส เสด็จตรวจงานคณะสงฆ์มณฑลฝ่ายเหนือเมื่อ พ.ศ. ๒๔๕๗ ในครั้งนั้นเป็นที่โปรดปรานของสมเด็จพระมหาสมณเจ้าทั้งที่เป็นพระฝ่ายมหานิกาย (สมเด็จพระมหาสมณเจ้า เป็นพระสงฆ์ธรรมยุติ) ต่อมาวัดอนงคารามซึ่งเป็นวัดฝ่ายมหานิกาย จึงเปลี่ยนการห่มจีวรมาเป็นแบบธรรมยุติจนถึงปัจจุบัน เรียกว่าแบบมหานิกายแปลง
สมเด็จพระพุฒาจารย์ (นวม) เริ่มอาพาธด้วยความซราภาพตั้งแต่ต้นปี พ.ศ. ๒๔๙๙ ในครั้งนั้นสมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนนีได้เสด็จมาทรงเยี่ยมสมเด็จพระพุฒาจารย์ (นวม) ด้วยพระองค์เองที่วัดอนงคาราม หลังจากโปรดให้นายแพทย์มาตรวจเยี่ยมอาการแล้ว จึงได้นิมนต์สมเด็จพระพุฒาจารย์ให้เข้ารับการรักษาที่โรงพยาบาลศิริราช เมื่อวันที่ ๑๖ กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๔๙๙ โตยอยู่ในพระอุปถัมภ์ชองพระองค์ หลังจากกลับจากโรงพยาบาลศิริราชมายังวัดอนงคาราม เมื่อวันที่ ๒๑ พฤษภาคม ไท.ศ. ๒๔๙๙ ได้มีพระบรมวงศานุวงศ์ ข้าราชการชั้นผู้ใหญ่ และบรรดาลูกศิษย์ในเจ้าประคุณสมเด็จ ผลัดเปลี่ยนกันมาถวายการรักษาและปรนนิบัติรับใช้ แต่อาการที่อาพาธมีแต่ทรงกับทรุด จนกระทั่งถึงวันที่ ๒๘ กันยายน พ.ศ. ๒๔๙๙ สมเด็จพระพุฒาจารย์ (นวม) ก็ถึงกาลมรณภาพ ด้วยอาการอันสงบ เมื่อเวลา ๒๒.๐๐ น. ณ กูฏิวัดอนงคาราม
สิริอายุได้ ๙๒ ปี ๒ เดือน ๒๑ วัน พรรษา ๗๒ พรรษา หลังจากสมเด็จพระพุฒาจารย์ (นวม) ได้มรณภาพไปแล้ว บรรดาศิษยานุศิษย์ของท่านได้ร่วมกัน ก่อตั้งสมาคมศิษย์อนงคาราม และจัดงานรำลึกถึงสมเด็จพระพุฒาจารย์ (นวม) เพื่อเป็นการทำบุญอุทิศ ถวายในวันที่ ๒๘ กันยายนเป็นประจำทุกปี มาจนถึงปัจจุบัน
ที่มา : สำนักงานเขตคลองสาน. (๒๕๕๔).สมเด็จพระสังมราช(แพ ดิสูสโทโว). ใน สมโภช ๑๐๐ ปี เขตคลองสาน. (น. ๑๑๒- ๑๑๓). ม.ป.พ.
รูปแบบ
application/pdf
ภาษา
tha
สำนักพิมพ์
มหาวิทยาลัยราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา สำนักวิทยบริการและเทคโนโลยีสารสนเทศ
หัวเรื่อง
สมเด็จพระ พุฒาจารย์ (นวม) พุทธสรมหาเถระ
บุคคลสำคัญ
คอลเลกชั่น
“สมเด็จพระ พุฒาจารย์ (นวม) พุทธสรมหาเถระ”, มหาวิทยาลัยราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา สำนักวิทยบริการและเทคโนโลยีสารสนเทศ, 2566-02-13, คลังข้อมูลประชาสัมพันธ์ มหาวิทยาลัยราชภัฎบ้านสมเด็จเจ้าพระยา, accessed December 24, 2024, http://dlib.bsru.ac.th/s/information/item/2630